รวมวิธีมีเงินใช้ด้วย “รถจักรยาน 1 คัน”
การใช้จักรยานในการสร้างรายได้ หลายคนมองว่าแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้ แต่เราเชื่อว่ามันเป็นไปได้ แต่ด้วยศักยภาพของจักรยานเองก็ต้องยอมรับว่าอาจไม่สร้างรายได้มากพอเหมือนกับยานพาหนะอื่นๆ อีกทั้งอาจต้องอาศัยความอดทน มุ่งมั่น ที่มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่าเพื่อให้จักรยานสามารถสร้างรายได้อย่างที่ตั้งใจ
ในปัจจุบันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าจักรยานส่วนใหญ่ราคาไม่แพง มีให้เลือกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้งานในรูปแบบไหน และเพื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่อยากมีรายได้เสริม อาจจะลองลงทุนซื้อจักรยานมาและนำมาหารายได้จากอาชีพเหล่านี้
1.ปั่นจักรยานขายล็อตเตอรี่
ภาพจาก https://bit.ly/3O5qBIi
น่าจะเป็นอาชีพที่เห็นกันมากที่สุด คำถามน่าสนใจคือปั่นจักรยานขายล็อตเตอรี่รายได้ดีไหม ต้องทำอย่างไร ซึ่งคนที่มาปั่นจักรยานขายเหล่านี้ส่วนใหญ่ไปรับล็อตเตอรี่มาจากยี่ปั๋วอีกที เช่นยี่ปั๊วรายใหญ่ รับมาที่ 7,000 ต่อ 1 เล่ม คือ 100 ใบ
มาขายให้คนขายย่อยอีกที ซึ่งราคาที่มาส่งต่อนี้ต้องบวกกำไรของยี่ปั๋วเข้าไปแล้ว ก็ทำให้คนที่รับมาขายต่อก็ต้องมาขายในราคาที่สูงขึ้นไปอีก เพื่อไม่ให้ตัวเองขาดทุน คนปั่นจักรยานขายล็อตเตอรี่บางคนบอกว่ารับมาก็ใบละ 85-90 บาท เวลาขายก็ต้องขายใบละ 100 เป็นต้น
แถมบางทีงวดไหนขายไม่ออกส่วนที่เหลือบางทีก็คืนไม่ได้ (ขึ้นอยู่กับการตกลง) ถ้าโชคดีล็อตเตอรี่ที่เหลือเกิดถูกรางวัลก็แจ๊คพ็อค แต่ถ้าไม่ถูกกำไรที่ควรจะได้ก็อาจจะน้อยลง ส่วนใหญ่รายได้จากการขายล็อตเตอรี่วิธีนี้จะใช้เป็นเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในครอบครัวมากกว่า แต่ถ้าใครที่มีอาชีพหลักอยู่แล้วแต่อยากลองมาสร้างรายได้เสริมด้วยวิธีนี้บ้าง ก็ถือว่าสนใจเหมือนกัน
2.ให้เช่าจักรยาน
ปัจจุบันมีจุดท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์หลายแห่ง หรือบางทีเรามีทำเลอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น ทะเล ภูเขา เป็นต้น การให้เช่าจักรยานสำหรับนักท่องเที่ยวก็เหมาะสมกับการสร้างรายได้ที่ดี โดยในพื้นที่ท่องเที่ยวหลายแห่งเราเห็นมีบริการนี้กันจำนวนมาก ราคาค่าเช่าจักรยานก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ เริ่มต้นประมาณ 30-50 บาท/คัน บางแห่งก็จำกัดเวลา บางแห่งก็ไม่จำกัดเวลา
แต่สิ่งสำคัญของการหารายได้จากธุรกิจนี้คือเราต้องลงทุนในการหาจักรยานอาจจะต้องมีไม่ต่ำกว่า 5-10 คันเป็นอย่างน้อยรวมถึงต้องดูแลบำรุงรักษาจักรยานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วย รายได้ของธุรกิจนี้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ด้านการตลาด และทำเลในการทำธุรกิจเป็นสำคัญ
3.รับซ่อมจักรยาน
ภาพจาก https://bit.ly/3mP0QAJ
บางคนมีความรู้ด้านช่างอาจนำความรู้ที่มีมาใช้ในการสร้างรายได้กับการรับซ่อมจักรยาน ที่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีนักปั่นจักรยานกันเป็นจำนวนมาก แต่ข้อควรระวังคือจักรยานส่วนใหญ่ของนักปั่นเหล่านี้ราคาค่อนข้างแพง ถ้าเราไม่มีความรู้ในการซ่อมที่ดีอาจทำให้จักรยานเสียหาย แทนที่จะมีรายได้กลับกลายเป็นต้องจ่ายเงินให้ลูกค้าแทน
ดังนั้น ทางเลือกที่ดีเราอาจรับซ่อมเฉพาะจักรยานแบบทั่วไปที่การซ่อมไม่ยุ่งยาก โดยอาจรับปะยาง เปลี่ยนเกียร์ เติมลม ปรับเบาะ ทำเบรก จัดแต่งโซ่จักรยาน เป็นต้น การเปิดร้านรับซ่อมจักรยาน เราอาจเปิดคู่กับการรับซ่อมอย่างอื่นไปด้วยก็ได้
4.ปั่นจักรยานเก็บของเก่า
ใครที่มีจักรยาน 1 คัน และอยากมีรายได้ อาจเลือกการเก็บของเก่าในการสร้างรายได้ แต่อาชีพนี้ต้องใช้ความอดทน ขยัน และตั้งใจทำจริง เป็นอาชีพที่ต้องทนแดด ทนร้อน แต่ก็ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ส่วนใหญ่ที่จะเก็บขายคือพวกขวดพลาสติกที่ร้านของเก่ามักรับซื้อในราคา 3-5 บาท/กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับประเภทของขวดพลาสติก)
ในจักรยาน 1 คันเราอาจทำเป็นถุงขนาดใหญ่ห้อยด้านข้างทั้งซ้ายขวาในการตระเวณเก็บขวดเก่าขาย อาจเลือกทำเลในหมู่บ้าน หรือย่านที่เราอยู่อาศัย ถ้าใครไม่อายทำกิน ไม่หมิ่นเงินน้อย อาชีพนี้สร้างรายได้ที่ดีเช่นกัน
5.ขายอุปกรณ์ตกแต่งจักรยาน
ภาพจาก https://bit.ly/3xznzGR
เมื่อการปั่นจักรยานกลายเป็นเทรนด์ฮิตที่ปัจจุบันเราเห็นนักปั่นจำนวนมาก เมื่อจักรยานมีจำนวนมาก ความต้องการอุปกรณ์ตกแต่งหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสินค้าที่ขายดีตามไปด้วย เช่นหมวกกันน็อคสำหรับจักรยาน , กระดิ่ง , ไฟติดหน้ารถ ท้ายรถ , ตะแกรง , ที่ใส่ขวดน้ำหน้ารถ เป็นต้น โดยสินค้าเหล่านี้เราสามารถเปิดขายหน้าร้านโดยเฉพาะในย่านที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือมีนักปั่นจักรยานจำนวนมาก อีกทั้งยังขายในช่องทางออนไลน์ได้ทั่วประเทศอีกด้วย
6.คลิปรีวิวปั่นจักรยานท่องเที่ยว
การสร้างรายได้จากจักรยานอีกรูปแบบที่น่าสนใจ แต่อาจต้องใช้เวลาพอสมควร คือการทำคลิปรีวิวการปั่นจักรยาน ซึ่งกระแสของยูทูปเบอร์ในตอนนี้มีหลายช่องที่ทำเนื้อหาในลักษณะนี้ แต่สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอในการลงคลิป การตัดต่อที่มีคุณภาพ เนื้อหาในการนำเสนอที่อาจแตกต่าง ถ้าช่องเราได้รับความนิยมก็จะมีสปอนเซอร์เข้ามาใช้พื้นที่โฆษณาสินค้าต่างๆ เรื่องของรายได้ก็จะเริ่มตามมามากขึ้น
7.ปั่นจักรยานขายอาหาร
ภาพจาก https://bit.ly/3mBUW5u
จักรยานธรรมดาก็สามารถปั่นขายอาหารได้ แต่อาจต้องดัดแปลงเล็กน้อย แต่ก็ใช้เงินทุนไม่สูง เช่นการใช้เศษไม้ ในการทำเป็นตะแกรงด้านหลัง หรือการใช้เศษไม้ เศษเหล็กในการทำเป็นที่แขวนอุปกรณ์สำหรับการขายต่างๆ มีหลายคนที่ใช้จักรยานในการขายอาหาร เช่น ขายไส้กรอก ขายไข่ปิ้ง ขายข้าวโพดต้ม ส่วนใหญ่เป็นอาหารง่ายๆ ที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์มาก ข้อดีของจักรยานคือไม่มีต้นทุนค่าน้ำมัน แต่ก็มีข้อจำกัดว่าอาจไปไม่ได้ไกลมากนัก แต่ใครที่อยากมีรายได้เสริมจะเลือกลงทุนในรูปแบบนี้ก็ถือว่าน่าสนใจเช่นกัน
จักรยาน 1 คัน สมรรถนะอาจไม่เหมือนมอเตอร์ไซด์ หรือรถกระบะ การจะสร้างรายได้จากจักรยาน จึงต้องอาศัยความอดทนและตั้งใจจริงของเราเป็นสำคัญด้วย รายได้จากจักรยาน 1 คันอาจไม่ถึงกับทำให้เรารวยได้ทันที แต่ถ้าเอาเงินที่ได้จากส่วนนี้มาต่อยอดขยับขยายให้กลายเป็นธุรกิจที่เติบโตมากขึ้นก็จะถือว่าเป็นความสุดยอดของผู้ลงทุนอย่างแท้จริง
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3Lw3h58 , https://bit.ly/3uJlWDQ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3MxKRkV
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)