รวมร้านไอติมเม็ดจิ๋ว แห่แชร์โซเชียล ขายดีสุดๆ
พูดถึงไอศกรีมในเมืองไทยคาดว่าจะเริ่มมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แรกเริ่มเดิมทีเราต้องสั่งเครื่องทำน้ำแข็งมาจากสิงคโปร์จึงจะสามารถทำไอศกรีมได้ในยุคนั้นจึงเป็นเมนูที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง แตกต่างจากสมัยนี้ที่ไอศกรีมมีหลากหลายชนิดหลายรูปแบบให้เลือกรับประทานกันได้ทั่วทุกพื้นที่
www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าไอศกรีมจะเป็นธุรกิจสุดฮิตที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ผู้ประกอบการตั้งคิดค้นเมนูใหม่ๆ ไอเดียแปลกๆ ทำการตลาดดีๆ ยังไงก็ต้องขายได้ ขายดี มีลูกค้าตลอดทั้งปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นอีกหนึ่งกระแสฮิตซึ่งเป็นไอศกรีมเม็ดจิ๋วหลากสี ที่แม้จะไม่ใช่เทรนด์ใหม่เพราะเคยเห็นกันมาบ้าง แต่ไอศกรีมเม็ดจิ๋วที่ว่านี้ไม่ได้มีขายทั่วไป บางทีก็หากินยากอยู่เหมือนกัน เราลองไปดูกันว่าถ้าสนใจจริงๆ จะหาเมนูนี้จากที่ไหนได้บ้าง
ทำไมไอศกรีมเม็ดจิ๋ว ถึงไม่ค่อยมีขายในเมืองไทย?
ภาพจาก https://bit.ly/3Ha9t04
บางคนบอกว่าเคยกินไอศกรีมเม็ดจิ๋วแบบนี้เมื่อหลายปีก่อนสมัยที่เซ็นทรัลเวิร์ลยังเป็นเวิร์ลเทรด แต่พอมาระยะหลังไอศกรีมแบบนี้หากินยาก เรียกว่าแทบจะหายไปทีเดียว ซึ่งไอศกรีมเม็ดจิ๋วที่ว่านี้แหล่งกำเนิดน่าจะมาจากประเทศเกาหลี ที่หลายคนเคยไปตามแหล่งท่องเที่ยวในย่านต่าง ๆ มักจะเอามารีวิว เพราะถือว่าแปลกและน่าสนใจ ซึ่งในเมืองไทยไม่ค่อยจะมี โดยมีแบรนด์หลักๆที่รู้จักกันคือ Dippin’dots และ Minimelts
มาถึงคำถามว่าในเมื่อแปลกและน่าสนใจแต่ทำไมไม่ค่อยมีขายในเมืองไทย เหตุผลหนึ่งน่าจะเป็นเพราะกรรมวิธีในการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อนต้องใช้วัตถุดิบอย่างไนไตรเจนเหลว รวมถึงการผลิตต้องทำในอุณหภูมิที่ติดลบ ยังไม่นับรวมเรื่องวิธีการเก็บรักษาที่ต้องอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่าติดลบ ทำให้ร้านค้าร้านชำทั่วไปที่ตู้แช่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสม
การนำสินค้าเหล่านี้มาลงจึงไม่ต่างจากการแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น และยิ่งเมืองไทยเป็นประเทศร้อน ด้วยลักษณะของไอศกรีมเม็ดจิ๋วที่ค่อนข้างเล็ก จึงอาจทำให้ละลายง่าย เรียกได้ว่าค่าบริหารจัดการค่อนข้างสูง การลงทุนจึงมีให้เห็นไม่มากนัก ทั้งที่คาดว่าหากมีการนำสินค้านี้มาขายอาจจะเป็นความแปลกใหม่ที่หลายคนสนใจมาก โดยเฉพาะในยุคโซเชี่ยลแบบนี้
Minimelts แบรนด์ไอศกรีมจิ๋วที่มีหลายสาขาในเมืองไทย
ภาพจาก https://bit.ly/34Z2JoX
ทั้งนี้ก็มีคนที่มองเห็นโอกาสและทิศทางน่าสนใจและได้ตัดสินใจทำตลาดไอศกรีมจิ๋ว ภายใต้แบรนด์ Minimelts ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำธุรกิจไอศกรีมมาก่อนชื่อว่า Tiny Balls Icecream แต่เมื่อเล็งเห็นว่าไอศกรีมจิ๋วของ Minimelts จากเกาหลีนั้นน่าสนใจจึงได้ติดต่อเซ็นสัญญานำ Minimelts เข้ามาทำในประเทศไทยพร้อมสิทธิ์ในการพัฒนาสูตรสำหรับผู้บริโภคไทย และสร้างโรงงานและสร้างแบรนด์แทนที่ Tiny Balls Icecream ดังกล่าว
ภาพจาก https://bit.ly/34Z2JoX
ความโดดเด่นของ Minimelts จึงอยู่ที่การเอาใจใส่ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงกระบวนการผลิต เปรียบเสมือนการทำให้คนในครอบครัวทาน และด้วยความแตกต่างของรูปแบบไอศกรีมที่เป็นเม็ดจะช่วยสร้างประสบ การณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคคนไทย
มี 8 รสชาติ คือ ช็อกโกแลต คุ้กกี้แอนด์ครีม มิลค์ที เลมอน สตรอเบอรี่ คอตตอนแคนดี้ ชาเขียว และรสซิกเนเจอร์ซึ่งเป็นรสชาติเฉพาะของ Minimelts ในไทย
ภาพจาก https://bit.ly/34Z2JoX
ส่วนของช่องทางในการขายของ Minimelts จะมีทั้งแฟลกชิพสโตร์ ตามห้างสรรพสินค้าที่ชั้นนำ ช่องทางเดลิเวอรี่ แฟรนไชส์ในหลากหลายรูปแบบ โมเดิร์นเทรดและแคทเทอริ่ง โดยปัจจุบันมีสาขาได้แก่
- Emquartier โซนไอศกรีมหน้า Gourmet market
- Central ศรีราชา ชั้น 1 ติดกับเซ็นทรัล ฟู้ดส์คอร์ท
- Central Festival Eastville. ชั้น 1 หน้า เซ็นทรัล ฟู้ดส์ฮอล์ ฝั่งแคชเชียร์
- The Mall ท่าพระ
- Siam Center
- Central Plaza พระราม2
- Central ชลบุรี ชั้น G หน้าฟู้ดคอร์ท
- THE BRIGHT พระราม2
แพดเดิล ป๊อบไอศกรีมจิ๋ว ในร้านสะดวกซื้อ
ภาพจาก https://bit.ly/3h7Hi7w
และถ้าใครเคยไปร้านสะดวกซื้ออาจจะเคยเห็นไอศกรีมจิ๋วแบบนี้ ซึ่งเป็นยี่ห้อแพดเดิล ป๊อบ ของไอติมวอลล์ที่เจาะตลาดตามร้านสะดวกซื้อเป็นหลัก ชื่อเป็นทางการคือ แพดเดิลป๊อป ช็อทส์ ฟรุ้ตตี้ พาวเวอร์ เป็นไอศกรีมหวานเย็น หลากหลายรสชาติ เช่น สตรอเบอร์รี่ ส้ม และเลมอนไลม์ ในรูปแบบไอซ์บอล มีเป้าหมายคือกลุ่มเด็กๆ นักเรียน และคนทั่วไปที่นิยมในการรับประทานไอศกรีม แต่ทั้งนี้นอกจากแพดเดิล ป๊อบที่เป็นไอศกรีมเม็ดจิ๋ว ก็ยังมีสินค้าของไอติมวอลล์ในอีกหลายแบบ ซึ่งไอศกรีมจิ๋วก็เป็นเพียงหนึ่งในสินค้าทางเลือกของคนที่สนใจเท่านั้น
แตกต่างจาก Minimelts ที่จะเห็นไอศกรีมจิ๋วเป็นหลัก เริ่มตั้งแต่การจัดร้าน แต่งร้าน เมนูที่เป็นไอศกรีมจิ๋วหลากหลายรสชาติโดยเฉพาะมีการจัดเสิร์ฟที่เน้นสีสันความสวยงามให้ลูกค้าเลือกได้หลายรูปแบบเช่น
ถ้วยเล็ก เลือกได้ 1 รสชาติ ราคา 69 บาท หรือถ้วยใหญ่ ราคา 89 บาท เลือกได้ 2-3 รสชาติ หรือหากต้องการเพิ่มท็อปปิ้ง 3 อย่างเพิ่มราคาอีกแค่ 10 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรสชาติให้เลือกผสมผสานเช่น รสคุ้กกี้ แอนด์ ครีม หรือจะเลือกทานแบบราดซอสหวานๆ ก็ยิ่งอร่อยมากขึ้น
ภาพจาก https://bit.ly/34Z2JoX
ทั้งนี้เชื่อว่าการลงทุนในธุรกิจไอศกรีมจะยังน่าสนใจและมีโอกาสเติบโตต่อไปได้ ขึ้นอยู่กับการทำตลาด การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆที่น่าสนใจ และยิ่งหากทำให้สินค้าฮิตติดกระแส ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น ถือเป็นเคล็ดลับสำคัญของการทำตลาดในยุคนี้
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/36m7fOx , https://bit.ly/3sVIW1v , https://bit.ly/3Bywclz , https://bit.ly/3s2AxdE
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pxd0zG
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)