รวมปัจจัยสร้างความล้มเหลวให้ระบบแฟรนไชส์

แม้ว่า ระบบแฟรนไชส์ จะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจขยายธุรกิจได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยให้คนอยากเริ่มต้นธุรกิจใหม่ประสบความสำเร็จได้ง่าย

เจ้าของแฟรนไชส์ไม่ต้องเสียเงินลงทุนขยายสาขาด้วยตัวเอง ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้แบรนด์ธุรกิจที่ได้รับการยอมรับ ไม่ต้องทำการตลาด ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วสามารถทำธุรกิจได้ทันที

แต่ระบบแฟรนไชส์ ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ก็ล้มเหลวมามากเช่นเดียวกัน ทั้งปัญหามาจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ จึงทำให้ระบบแฟรนไชส์ของธุรกิจนั้นล้มเหลวไปไม่ถึงฝั่งฝัน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอปัจจัยสำคัญในการสร้างความล้มเหลวให้กับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ โดยเจ้าของธุรกิจขายแฟรนไชส์ไปแล้วธุรกิจไม่โต ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์บริหารธุรกิจไม่สำเร็จ มาดูพร้อมๆ กันเลยครับ

แฟรนไชส์ซอร์

bb2

1.แฟรนไชส์ซอร์ไม่เคยทดลองระบบก่อนขายแฟรนไชส์ พอสินค้าและบริการได้รับความนิยม มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ก็อยากขาย พอขายไปไม่มีการวางระบบอะไร ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง ระบบบัญชี การสต็อก การจัดส่ง เป็นต้น

2.แฟรนไชส์ซอร์ขาดเงินทุนสนับสนุนงานแฟรนไชส์ อาจเป็นเพราะแฟรนไชส์เหล่านี้เป็นการขายขาด เก็บเพียงแค่ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ไม่เก็บเปอร์เซ็นต์รายเดือน ทำให้ไม่มีเงินไปสนับสนุนด้านการทำตลาด การสร้างแบรนด์

bb5

3.แฟรนไชส์ซอร์มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นการขายแฟรนไชส์เร็วเกินไป ทั้งที่ธุรกิจก่อตั้งได้ไม่นาน รวมถึงการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ไม่มีคุณภาพ มองเพียงแค่เขามีเงินก็ขายแฟรนไชส์ให้

4.แฟรนไชส์ซอร์ไม่มีความซื่อสัตย์ ไม่ให้เกียรติผู้ซื้อแฟรนไชส์ จัดส่งสินค้าและวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี เพื่อต้องการรายได้ และลดต้นทุนให้ถูกลง หรือนำเงินที่ได้จากค่า Royalty Fee ไปใช้ในส่วนของตัวเอง

bb7

5.แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถให้บริการแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง หรือขาดการสนับสนุนเรื่องอื่นๆ อาจเกิดจาดการขาดเงินทุนหมุนเวียน นำเงินไปใช้ในทางที่ผิด

แทนที่จะเอาไปสนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จด้วยกัน หรือพอขายแฟรนไชส์ได้มากๆ ก็ดูแลไม่ทั่วถึง เพราะไม่มีความพร้อมด้านทีมงานคอยช่วยเหลือและอื่นๆ

6.หลอกลวงว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่แอบอ้างคำว่าแฟรนไชส์ไปใช้ในทางไม่ถูก ทำให้คนร่วมลงทุนด้วย ก็ต้องพบกับความล้มเหลว จ่ายเงินไปแล้วไม่มีธุรกิจจริง ไม่มีร้านต้นแบบใดๆ หรือหลอกลวงว่าแฟรนไชส์ของตัวเองมีมาตรฐาน ทำให้

คนซื้อแฟรนไชส์เชื่อ ซึ่งตรงนี้เป็นลักษณะของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ที่แอบอ้างว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์
อ่าน…ย้อนรอย บทเรียนที่คนไทยไม่เคยจำ! แฟรนไชส์ กับ แชร์ลูกโซ่ แตกต่างกัน goo.gl/rByB38

แฟรนไชส์ซี

bb1

1.ไม่ทำตามระบบ การซื้อแฟรนไชส์เป็นการทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการขายการทำงานทุกๆ อย่าง เพราะแฟรนไชส์เป็นการซื้อสูตรสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ มา ต้องทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์

2.ไม่ดำเนินธุรกิจตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญเพราะการซื้อแฟรนไชส์มาทำธูรกิจ ถ้าอยากประสบความสำเร็จ แฟรนไชส์ซีจะต้องทำตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ทุกอย่าง

bb8

3.แฟรนไชส์ซีคนนั้นไม่เหมาะกับธุรกิจที่ซื้อมา อาจมองว่าแฟรนไชส์นั้นๆ กระแสมาแรง จึงคิดว่าซื้อมาแล้วจะประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ชอบธุรกิจนั้นเลย พอทำไปได้สักพักก็เบื่อ

4.ไม่มีวินัยทางการเงิน ไม่ทำบัญชีแยกออกจากเงินส่วนตัว หรือนำเงินรายได้จากธุรกิจไปใช้อย่างอื่น

bb6

5.ขาดเงินทุนหมุนเวียน เพราะต้องมีการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน

6.แฟรนไชส์ซีทุ่มเทในการบริหารธุรกิจไม่มากพอ ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วขี้เกียจทำ ให้คนอื่นทำแทน หวังว่าปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวในธุรกิจแฟรนไชส์ข้างต้น น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์)

และผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) เชื่อว่าถ้าหากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ สามารถบริหารธุรกิจและทำตามข้อปฏิบัติข้างต้น รวมถึงการช่วยเหลือกันและกันของทั้ง 2 ฝ่าย มีความซื่อสัตย์ต่อกัน น่าจะช่วยให้ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์อันเดียวกัน ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนครับ


อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ goo.gl/9CQFyE

Franchise Tips

แฟรนไชส์ซอร์

  1. แฟรนไชส์ซอร์ไม่เคยทดลองระบบก่อนขายแฟรนไชส์
  2. แฟรนไชส์ซอร์ขาดเงินทุนสนับสนุนงานแฟรนไชส์
  3. แฟรนไชส์ซอร์มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด
  4. แฟรนไชส์ซอร์ไม่มีความซื่อสัตย์
  5. แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถให้บริการแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  6. หลอกลวงว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ซี

  1. ไม่ทำตามระบบ
  2. ไม่ดำเนินธุรกิจตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์
  3. แฟรนไชส์ซีคนนั้นไม่เหมาะกับธุรกิจที่ซื้อมา
  4. ไม่มีวินัยทางการเงิน
  5. ขาดเงินทุนหมุนเวียน
  6. แฟรนไชส์ซีทุ่มเทในการบริหารธุรกิจไม่มากพอ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pu4oaH

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช