มี Market Share แค่ 1% ในตลาดใหญ่! รายได้เกินคุ้ม
ส่วนแบ่งการตลาด ( Market Share ) หมายถึง ส่วนหรือเปอร์เซ็นต์ของตลาด ที่บริษัทหรือองค์กรได้รับ ซึ่งก็คือ ยอดขายรวมที่เกี่ยวข้องกับยอดขายในอุตสาหกรรมโดยรวมของอุตสาหกรรมที่บริษัทดำเนินธุรกิจ หรือประกอบกิจการอยู่ และเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ธุรกิจต่างๆ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและมุ่งมั่นที่จะเพิ่มให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งการตลาดก็ไม่ใช่การวัดขนาดการเติบโตเพียงอย่างเดียวในทางธุรกิจเพราะ ความสำคัญของส่วนแบ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของตลาด ตลอดจนเป้าหมายและวัตถุประสงค์เฉพาะของบริษัทนั้นๆ ด้วย
อย่างไรก็ดีคำว่า “ที่ไหนมีกำไร ที่นั่นย่อมมีคู่แข่ง” เป็นเรื่องจริงที่คนทำธุรกิจต้องยอมรับ ถึงขนาดว่าถ้าเลือกได้ขอโฟกัสทำธุรกิจในตลาดที่มีมูลค่าสูง คู่แข่งเยอะ ก็ยังดีกว่าทำธุรกิจในตลาดที่คู่แข่งน้อย แต่ความต้องการของลูกค้าก็น้อยตามไปด้วย
ลองคิดกันดูเล่นๆ ยกตัวอย่างตลาดกาแฟมีมูลค่ารวมกว่า 100,000 ล้านบาท ตัวเลขคนไทยบริโภคกาแฟเฉลี่ยวันละ 1.5 แก้ว ดันให้ตลาดโตกว่าปีละ ดันตลาดโตปีละ 8.55% ซึ่งถือว่าสูงมาก ก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นคู่แข่งในตลาดกาแฟเยอะมากตั้งแต่ระดับล่าง กลาง บน ไปจนถึงพรีเมี่ยม
เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าคุ้มค่าที่จะเสี่ยงในการกระโดดเข้าสู่ตลาดใหญ่ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้เล่นเบอร์ใหญ่ หรือไม่จำเป็นต้องเป็นจ้าวตลาด มูลค่ารวมของตลาดที่สูงมากนี้ถ้าแชร์มาได้สัก 1 % นี่ก็ถือว่ามากมาย อย่าง 1 % ของ 100,000 ล้านก็มีมูลค่ากว่าพันล้านบาท
แต่ถ้าไปเล่นในตลาดที่มีความต้องการของลูกค้าน้อยๆ ไม่มีคู่แข่ง มูลค่าการตลาดมันก็จะต่ำไปด้วย ทำให้ตัวเลขรายได้ก็น้อยลงเช่นกัน ไม่น่าแปลกใจที่ทำไมเราจะเห็นว่าทำไมใครๆ ก็อยากเปิดร้านกาแฟ ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ก็เพราะตลาดเหล่านี้มีมูลค่าการตลาดที่สูงคุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่า
ตัวอย่างที่น่าสนใจในกรณีแบบนี้ก็มีให้เห็นอยู่ไม่น้อย ยกตัวอย่างร้าน COFFEELISM ตั้งโจทย์กลุ่มลูกค้าเป็นคนทำงานออฟฟิศ คนใช้ชีวิตในเมือง ดื่มกาแฟเป็นประจำ แม้เดือนแรกที่เปิดร้านขายได้ 15 แก้ว แต่เดือนต่อมาลูกค้าเริ่มรู้จักและเน้นการทำตลาดผ่านโซเชี่ยลมากขึ้น ยอดขายก็เริ่มเพิ่มขึ้นเป็น 150 แก้ว เป็น 300 แก้ว และก้าวไปถึงจุดสูงสุดที่เคยทำได้คือ 1,400 แก้วต่อวัน เป็นต้น
ในธุรกิจค้าปลีกก็เช่นกันปี 2567-2569 ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 5-5.5% เกิดการแข่งขันดุเดือดทั้งในกลุ่ม ห้างสรรพสินค้า, ดิสเคาน์สโตร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต,ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท
แม้ว่าการเป็นแบรนด์เล็กจะไปหาญสู้แบรนด์ใหญ่โดยตรงคงทำได้ยาก แต่แค่ได้แชร์ส่วนแบ่งการตลาดมาบางส่วนก็เรียกว่าคุ้มค่ากับการลงทุนที่สร้างกำไรให้ธุรกิจได้
รวมถึงในกลุ่มของตลาดออนไลน์ก็เช่นกัน Mass Brands ยักษ์ใหญ่ที่เคยเป็นเจ้าตลาดเริ่มถูก Local Brands และ Niche Brands ที่ค่อยๆ เติบโตผ่านช่องทางออนไลน์เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดบ้างแล้ว เหตุผลในเรื่องนี้ก็ไม่ต่างกันเพราะแม้จะมีการแข่งขันดุเดือดแต่มูลค่าการตลาดที่มีมากมหาศาล คือกลิ่นที่ยั่วยวนชวนให้คนตัวเล็กกล้าลงทุนในธุรกิจที่คู่แข่งจำนวนมากได้เช่นกัน
เอาให้เห็นภาพชัดเจนอีกหน่อยดูตัวอย่างของ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทขายซอส-เครื่องปรุงไทย ที่เน้นส่งออกไปขายต่างประเทศ ในนามของ “XO” โดยปีที่ผ่านมา XO มีรายได้ 2,500 ล้านบาท และ 99% ของยอดขายเป็นรายได้จากต่างประเทศ
ตอนที่เริ่มทำตลาดก็มองว่าควรเข้าไปแข่งในพื้นที่ตรงไหนดี ตรงไหนที่จะสู้ได้ มองแล้วในเมืองไทยมันยาก ก็ทำให้นึกถึงตลาดส่งออกที่แม้คู่แข่งจะเยอะเหมือนกันแต่มีช่องทางน่าสนใจกว่า อย่างการส่งออกไปเยอรมนีเมื่อ 24 ปีที่แล้ว ตอนนั้นมีประชากรประมาณ 70,000,000 คน
ซึ่งมีคนเอเชียประมาณ 1,000,000 กว่าคน ถ้า XO คิดจะขาย Traditional Trade เจาะตลาดคนเอเชีย ก็จะได้เจาะตลาดที่มีลูกค้าแค่ 1,000,000 คน ถ้าขอส่วนแบ่งตลาด 50% ก็จะได้ลูกค้า 500,000 คน แต่ถ้าลงทุนทำโรงงานทำระบบการผลิตให้ได้มาตรฐานสูงไปเลย แล้วส่งเข้า Modern Trade ก็จะเปลี่ยนเป็นได้เจาะตลาดที่เข้าถึงคน 70,000,000 ล้านคน ซึ่งขอแค่ 1% ก็ได้ลูกค้า 700,000 คน เป็นต้น
บางครั้งการเก็บเอาส่วนที่เล็กๆ น้อยมาผสมกันบางทีก็อาจได้ผลรับที่ยิ่งใหญ่เกินความคาดหมาย กลยุทธ์ด้านการตลาดในปี 2568 คนทำธุรกิจจึงควรโฟกัสว่ามีตลาดไหนที่น่าสนใจ อย่าไปกลัวกับคำว่าคู่แข่งเยอะ วิธีเลี่ยงที่ดีคือไม่ปะทะกับกลุ่มใหญ่แต่ใช้วิธีขอส่วนแบ่งการตลาดน้อยๆ แต่ให้ได้เรื่อยๆ ก็มีโอกาสเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้มหาศาลเช่นกัน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)