มหากาพย์ KFC ไทย ใครเป็นเจ้าของตัวจริง?

หากพูดถึงร้านไก่ทอดที่ได้รับความนิยมในเมืองไทย เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง KFC เป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังมีต้นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา มีจำนวนสาขาทั่วโลกราวๆ 25,680 สาขา (2564) แบ่งเป็นร้านแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ 3,860 สาขา, นอกสหรัฐฯ 21,530 สาขา และบริษัท “Yum! Brands Inc.” บริหารเอง 290 สาขา

สำหรับในประเทศไทย KFC เป็นแฟรนไชส์ไก่ทอดมีจำนวนสาขากว่า 930 แห่ง มีส่วนแบ่งการตลาดมากสุดถึง 90% จากมูลค่าตลาดไก่ทอดกว่า 20,000 ล้านบาท โดย KFC เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยภายใต้การบริหารของบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ ยัม! ประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารแบรนด์ ทำการตลาด และโปรโมชั่น

ถ้าถามว่า มหากาพย์ KFC แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของบ้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

จุดเริ่มต้น KFC ในเมืองไทย

vbcf6598898989

ภาพจาก https://bit.ly/3s56sJp

ร้าน KFC ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2495 โดยผู้พันแซนเดอร์สได้ขายแฟรนไชส์แรกให้กับ พีท ฮาร์แมน เพื่อนที่รู้จักกันระหว่างเรียนหลักสูตรบริหารร้านอาหาร และเป็นเจ้าของร้านอาหารอยู่ในรัฐยูทาห์ ซึ่งฮาร์แมนยังเป็นคนตั้งชื่อ “ไก่ทอดจากรัฐเคนตั๊กกี้” (Kentucky Fried Chicken) ขึ้นเป็นจุดขายจนกลายเป็นชื่อแฟรนไชส์ในที่สุดด้วย

สำหรับร้านไก่ทอด KFC เข้ามาเปิดสาขาแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว เป็นการนำเข้ามาของบริษัท เซ็นทรัล เรสเตอรองต์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) ถือเป็นเจ้าแรกที่ได้สิทธิ์บริหารจัดการร้านไก่ทอด KFC ในประเทศไทย หลังจากนั้น บริษัทว่า Yum! Brands, Inc (บริษัทแม่ในตอนนี้) เล็งเห็นว่าแนวโน้มตลาดฟาสต์ฟู้ดในเมืองไทยมีโอกาสเติบโตสูง จึงได้ลงมาทำตลาดเปิดสาขาของตัวเอง จนมาถึงปี 2559 บริษัท Yum! Brands, Inc ได้ปรับกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ เน้นหารายได้จากการขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์มากกว่าการลงไปเปิดสาขาด้วยตัวเอง

scfd0xs2356898989898989

ภาพจาก https://bit.ly/3s56sJp

ต่อมาในปี 2559 บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือของ Yum! Brands, Inc ได้ปรับกลยุทธ์ตามบริษัทแม่ ขายแฟรนไชส์ให้ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด หรือ RD เป็นผู้รับสิทธิรายใหม่ เพื่อร่วมผลักดันธุรกิจเฟรนไชส์ KFC ให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ กระทั่งถึงปี 2560 เป็นปีแห่งความสำเร็จของ KFC หลังจากผันตัวเองสู่รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ 100% โดยมีบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย หรือ QSA ในเครือไทยเบฟฯ เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซี KFC อีกรายจนถึงปัจจุบัน นั่นเท่ากับว่าในเมืองไทยตอนนี้มีแฟรนไชส์ซีไก่ทอด KFC 3 ราย

  • บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG จำนวน 300 สาขา (2527)
  • บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ RD จำนวน 230 สาขา (2559)
  • บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA จำนวน 430 สาขา (2560)

ข่าวลือ!! RD เตรียมขายร้าน KFC หลังขาดทุน

qwsd985656565656

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 สำนักข่าวรอยเตอร์เผย RD เตรียมขายสิทธิแฟรนไชส์ KFC ในไทย คิดเป็นวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.1 หมื่นล้านบาท) CRG และ QSA จ่อเข้าซื้อกิจการ โดยรายงานข่าวระบุว่า บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทที่นำโดย AIGF Advisors Pte Ltd กำลังพิจารณาขายธุรกิจแฟรนไชส์ KFC โดยอยู่ในขั้นตอนการหารือกับบริษัทที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 แห่ง เพื่อขายกิจการ

โดยก่อนหน้าในช่วงปี 2563 บริษัท RD เคยพิจารณาที่จะขายธุรกิจ KFC มาแล้ว แต่การเจรจาตัดสินใจขายต้องหยุดชะงักเพราะผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ทุนใหญ่ชะลอการใช้เงินออกไป แต่หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลาย เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว รวมถึงรายได้ของบริษัทฯ ที่ฟื้นตัวอย่างก้าวกระโดด โดยในช่วง 2-3 เดือนแรกของปี 2565 ร้าน KFC ภายใต้การบริหารมียอดขายทุบสถิติสูงที่สุดในประวัติการณ์

การคาดการณ์ของแหล่งข่าวระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการผ่อนคลายข้อจำกัดควบคุมการเดินทางนี้เอง จะทำให้ธุรกิจเคเอฟซีเติบโตต่อไปในช่วงไตรมาสต่อๆ ไป และโอกาสที่ทุนใหญ่จะสนใจซื้อกิจการต่อก็มีมากกว่าเดิมด้วย โดยแหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า มีกลุ่มทุน 2 รายที่เล็งเข้าซื้อกิจการ KFC ต่อจาก RD คือ บริษัท เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) และบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยเบฟฯ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกๆ ของข่าวลือ รอยเตอร์ยังได้รายงานว่า ผู้บริหารไทยเบฟฯ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าว ส่วน CRG ก็ยังไม่ให้ความเห็นกับประเด็นดังกล่าวเช่นเดียวกัน

รายได้ของ RD

sxdcfd6556985565656

จากการตรวจสอบข้อมูลปีงบการเงิน 2562 – 2564 บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) บนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบรายละเอียดดังนี้

  • ปี 2562 รายได้ 4,370 ล้านบาท ขาดทุน 127 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 4,113 ล้านบาท ขาดทุน 280 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 3,856 ล้านบาท ขาดทุน 232 ล้านบาท

ผลประกอบการดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุการขาย เพราะตลอดระยะเวลาหลายปี RD ที่สาขาส่วนใหญ่ในโซนภาคใต้ ต้องเผชิญขาดทุนตั้งแต่ปี 2562-2564 เกือบ 700 ล้านบาท หากทำธุรกิจแล้วขาดทุนตลอด สุดท้ายก็ต้องขายกิจการ

ไทยเบฟฯ ย้ำชัดไม่เข้าซื้อ KFC ต่อจาก RD

แม้จะมีข่าวไทยเบฟฯ เป็นหนึ่งในผู้ท้าชิงดีลร้าน KFC จาก RD ล่าสุดผู้บริหารไทยเบฟฯ เผยไม่เข้าซื้อสิทธิ์บริหารแฟรนไชส์ KFC ต่อจาก RD เพราะมองว่าราคาการลงทุนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการใช้ Asset ในเครือไทยเบฟฯ ที่มีอยู่ ทำให้การขยายสาขาเองจะคุ้มค่าต่อการลงทุนและใช้เม็ดเงินน้อยกว่า ประกอบกับนโยบายของบริษัทยัมฯ ต้องการแบ่งการบริหารของแฟรนไชส์ซีออกเป็น 3 ราย ได้แก่ CRG, RD และ QSA เพื่อสมดุลการทำตลาดในไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

ทั้งนี้ หากไทยเบฟฯ เข้าซื้อแฟรนไชส์ร้าน KFC จำนวน 230 สาขาจาก RD อาจทำให้บริษัทแม่รู้สึกว่าขนาดใหญ่เกินไป ไม่มีแรงกระตุ้นในการขยายสาขาเพิ่ม อีกทั้งเมื่อใหญ่เกินไปก็อาจจะคุยกันไม่รู้เรื่อง นั่นคือสิ่งที่บริษัทแม่อาจจะไม่ต้องการให้ไทยเบฟฯ ไปลงทุน แต่ในฐานะหนึ่งในแฟรนไชส์ซี QSA เป็นพาร์ทเนอร์ที่ทำงานเข้าขากันได้ดีกับบริษัทแม่ หลังสามารถสร้างการเติบโตให้แก่ KFC โดยตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมาสามารถขยายสาขาเพิ่มไปแล้วกว่า 160 สาขา

งบลงทุนแฟรนไชส์ KFC ในสหรัฐอเมริกา

0236856568989898989

  • ค่าแฟรนไชส์ 45,000 เหรียญสหรัฐ
  • เงินลงทุน 1,442,600-2,771,550 เหรียญสหรัฐ
  • รายได้สุทธิ 1,500,000 เหรียญสหรัฐ
  • เงินทุนหมุนเวียน 750,000 เหรียญสหรัฐ
  • Royalty Fee 4-5%
  • Ad Royalty Fee 5%
  • ระยะสัญญา 20 ปี (ต่อสัญญาได้)

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิง
https://bit.ly/3s56sJp
https://bit.ly/3eET3Vq
https://bit.ly/3g7DJ3Z

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Tml8Qm

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช