ผู้ซื้อแฟรนไชส์อลเวง! แบรนด์สะดวกซัก WASHCOIN แจ้งปิดกิจการ อ้างพิษโควิด ขาดสภาพคล่อง

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า แฟรนไชส์ร้านสะดวกซักได้รับความนิยม และมีการเติบโตอย่างมากในประเทศไทย จากเริ่มต้นมีเพียงไม่กี่แบรนด์ ปัจจุบันมีมากกว่า 40 แบรนด์ ทั้งแบรนด์ต่างประเทศและในประเทศ

ซึ่งแต่ละแบรนด์ล้วนมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน หากแบรนด์ไหนบริหารจัดการไม่ถูกต้อง เร่งขยายสาขามากจนไม่สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายทั้งระบบได้อย่างทั่วถึง ก็จะประสบปัญหาตามมา อาจถึงขั้นปิดกิจการ เช่นเดียวกับแบรนด์ WASHCOIN

ถ้าอยากรู้ว่าเรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

จากกรณีเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ผู้ใช้ Facebook ท่านหนึ่งชื่อ Prapada Prapan ได้โพสต์ในกลุ่ม “ชมรมร้านซักผ้า สะดวกซัก 24 ช.ม.” โดยมีข้อความระบุว่า สวัสดีค่ะ สนใจทำธุรกิจร้านสะดวกซักวางมัดจำกับ บริษัท Washcoin ไปค่ะ ตอนนี้ยังไม่ได้เริ่มงาน ติดต่อไม่ได้ทั้งเซลล์ ทั้งเบอร์ออฟฟิศ ปิด fb เพจ ด้วย แบบนี้น่าจะโดนโกงไหมคะ หรือท่านใดทำกับเจ้านี้อยู่ หรือรู้ข่าวคราว ช่วยรวบกวนแจ้งหน่อยค่ะ ว่าจะติดต่อยังไงดี ลงท้ายด้วยอิโมจิร้องไห้

จากนั้นได้มีคนลงทุนนแฟรนไชส์ Washcoin ที่เจอปัญหาในลักษณะแบบเดียวกัน เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมากกว่า 60 รายการ และมีผู้ใช้ Facebook ท่านหนึ่งใช้ชื่อ Ruangphimai Pu ได้โพสต์หนังสือหรือจดหมายจากทางบริษัท โมบาย ทู แมชชีนฯ ที่ได้เขียนเพื่อแจ้งให้กับแฟรนไชส์ซีในเครือข่ายกว่า 100 รายได้ทราบ โดยเนื้อหาใจความคร่าวๆ มีดังนี้

แจ้งแฟรนไชส์ซีปิดกิจการ ปิดระบบถาวร 25 ม.ค. 65

แบรนด์สะดวกซัก

ภาพจาก https://bit.ly/3FrgcCl

#เรียน แฟรนไชส์ซี WASHCOIN ทุกท่าน
#เรื่อง การหยุดดำเนินกิจการและหยุดให้บริการระบบ WASHCOIN

ทางบริษัทฯ ขอบพระคุณแฟรนไชส์ซีทุกท่านที่ไว้วางใจ Washcoin และเข้าร่วมธุรกิจกับเราเป็นนอย่างดีเรื่อยมา โดยทุกท่านเป็นหนึ่งในคนที่เห็นศักยภาพของธุรกิจและเทคโนโลยีที่เรามี จึงเข้าร่วมธุรกิจกับเรา ด้วยความคาดหวังที่จะดำเนินธุรกิจและเติบโตไปด้วยกันบนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนี้

แต่เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีการแพร่ระบาดรอบที่ 3 (ช่วงล็อกดาวน์แค้มป์คนงาน) ในปี 2564 ทาง Washcoin ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้บริษัทเกิดสภาวะสภาพคล่อง ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เป็นระยะเวลากวา 6 เดือน ส่งผลให้บริษัทต้องทำการลดเงินเดือนและลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง

แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ ส่งผลให้ทางบริษัทเข้าสู่สภาวะวิกฤติอย่างหนัก ทั้งขาดสภาพคล่องและมีหนี้สิน แม้กรรมการจะใช้เงินส่วนตัวในการพยุงธุรกิจไว้แล้วก็ตาม ส่งผลให้การบริกา Service เริ่มติดขัดและไม่สามารถทำงานได้ทันตามความต้องการของแฟรนไชส์ซี และระบบการทำงาน Back Office ที่ล่าช้าลง

แบรนด์สะดวกซัก

ภาพจาก https://bit.ly/3FrgcCl

ทางบริษัทยังพยายามหาทางเดินหน้าต่อ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ธนาคาร ก็ถูกปฏิเสธจากหลายธนาคาร การพยายามเพิ่มทุนโดยนักลงทุนจากภายนอก แม้จะมีบริษัทหลายแห่งที่สนใจ แต่ก็ติดด้วยเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ และเวลาที่เรามี ทำให้ช่องทางการเพิ่มทุนไม่เป็นผลสำเร็จจวบจนเจรจานักลงทุนรายสุดท้ายในช่วงสิ้นปีก็ไม่สำเร็จ จึงมีความจำเป็นต้องตัดสินใจขอยุติการให้บริการในที่สุด

ในเนื้อหาของจดหมายหรือหนังสือดังกล่าว ยังระบุถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในแต่ละระบบของบริษัท ดังนี้

  1. ระบบการให้บริการซ่อมเครื่องหรือแก้ไขปัญหา จะหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป เนื่องจากออฟฟิศใหญ่ของบริษัท ต้องส่งคืนพื้นที่ และไม่มีเจ้าหน้าที่พนักงานให้บริการ โดยจะทำงานเฉพาะเจ้าหน้าที่ Customer Service Online, ระบบสรุปรายได้เงิน, ระบบเติมเงิน และ แอปพลิเคชั่น
  2. ระบบ Online Customer Service จะหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 เป็นต้นไป เป็นผลให้ระบบเก่าบางสาขา อาจเริ่มใช้งานไม่ได้ ลูกค้าที่ติดปัญหาการใช้งานเครื่องจะไม่สามารถใช้งานได้
  3. ระบบแอปพลิเคชั่นจะให้บริการถึงไม่เกินวันที่ 20 มกราคม 2565 โดยเมื่อระบบ Cloud Server หมดอายุ จะไม่สามารถเข้าแอปพลิเคชั่นได้ ซึ่งระหว่างนั้น แอปพลิเคชั่นจะสามารถให้บริการจ่ายเงินและสั่งงานเครื่องได้
  4. ระบบสรุปยอดเงินรายได้จะหยุดให้บริการหลังจากวันที่ 20 มกราคม เช่นเดียวกัน โดยจะทำการสรุปและโอนยอดค่าใช้บริการเท่าที่ระบบมีเงินเหลืออยู่ และสัญญาแฟรนไชส์ของท่านจะถูกยกเลิกในวันที่ 20 มกราคม 2565
  5. ทุกระบบจะหยุดทำงานอย่างถาวรไม่เกินวันที่ 25 มกราคม 2565
  6. ช่องทางการติดต่อจะเหลือเพียงช่องทางเดียว คือ info@washcoin.net

นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำหลังจากระบบหยุดทำงานถาวร โดยแบ่งตามลักษณะของเครื่องและรุ่น แจ้งให้แฟรนไชส์ซีทุกรายได้ทราบ โดยให้ปรับเปลี่ยนเครื่องติดตั้งกล่องหยอดเหรียญแทน ซึ่งคาดว่าน่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างแน่นอน

WASHCOIN ปิดทุกช่องทางการติดต่อ

แบรนด์สะดวกซัก

ภาพจาก https://bit.ly/34E9I6h

ทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้เข้าไปยังเว็บไชต์ https://www.washcoin.net/contacts/ เพื่อโทรไปยังหมายเลขโทรศัพท์ 02-275-5625 บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งอยู่ที่ 564/15 ซอยสหการประมูล ถนนประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 info@washcoin.net ปรากฏว่าไม่สามารถติดต่อได้เช่นเดียวกันกับผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ คน อีกทั้งช่องทาง Facebook ก็ได้มีการปิดไปแล้วเช่นเดียวกัน

ไม่ใช่ครั้งแรก! โอนมัดจำ ไร้วี่แววติดตั้ง

แบรนด์สะดวกซัก

ภาพจาก https://bit.ly/3nZfd5o

หากย้อนกลับไปจากกรณีเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งชื่อ Gu LuBu ได้โพสต์เตือนภัยลงในกลุ่ม “ชมรมร้านซักผ้า สะดวกซัก 24 ชม.” โดยปักหมุดว่า “เตือนภัยนักลงทุน เดี๋ยวโดนบริษัทมิจฉาชีพนี้โกง” และ “ขออนุญาตผู้ดูแลกลุ่ม ได้แชร์ข้อมูลครับ” รวมถึงได้ชี้ไปที่ บริษัท วอดคอย์ หรือ บริษัท โมบายทูแมนชีน ถ้าคิดจะไปลงทุนระวังให้ดี

เนื้อหาใจความระบุว่า ผมลงทุนไปกับบริษัทนี้ ก็ประมาณ 6 เดือนกว่าๆ จำนวนเงิน 6 แสนบาท แล้วทางบริษัททำสัญญาว่าจะมาติดตั้งให้ในเวลา 45 วัน ผ่านไป 6 เดือนจะ 7 เดือนแล้วปัจจุบันยังไม่มาติดตั้ง ทำให้ผมเสียหายในค่ามัดจำและค่าเช่าที่ไป 6 เดือน และเสียเวลาอย่างมาก

ปัจจุบันนี้ผมได้ทำการยกเลิกสัญญาแล้ว เรียกร้องขอเงินคืน ทางบริษัทแจ้งมาว่าได้นำเงินของผมที่ลงทุนไปใช้จ่ายแล้วไม่สามารถคืนให้ได้จึงขอเลื่อนคืน ผมก็ให้โอกาส เลื่อนมา 3 ครั้งแล้วไม่มีการโอนคืนทางผมเลย

โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงทุกประการ ไม่ได้มาดิสเครดิตบริษัทแน่นอน ดูตามหลักฐานได้ครับ ฝากถึงคนที่โดนเหมือนผมด้วย ไม่ต้องรอแล้วครับ มันฉ้อโกงประชาชน แจ้งความจับเจ้าของบริษัทในฐานฉ้อโกงประชาชนได้เลยครับ

ปี 62 แฟรนไชส์ WASHCOIN ขาดทุน 2.3 ล้านบาท

2

ภาพจาก https://bit.ly/34E9I6h

ทีมงานไทยแฟรนไชส์ได้ตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคลในเว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในวันที่ 10 มกราคม 2564 บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยังคงสถานะนิติบุคคล ดำเนินกิจการอยู่

วันที่จดทะเบียนจัดตั้ง 1 ก.พ. 2560 ทุนจดทะเบียน 5,000,000.00 บาท มีนายมงคล เกริกพิพัฒน์สกุล กรรมการผู้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท

#งบกำไรขาดทุน บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด
#ข้อมูลปีงบการเงิน 2560 – 2562

  • ปี 2560 รายได้ 2,375,808.88 บาท ขาดทุน 1,807,200.08 บาท
  • ปี 2561 รายได้ 17,066,548.22 บาท กำไร 3,425,159.90 บาท
  • ปี 2562 รายได้ 28,487,143.68 บาท ขาดทุน 2,349,756.57 บาท

ซุ่มเจรจา “ไฮเออร์” เทคโอเวอร์

1

ภาพจาก https://bit.ly/34E9I6h

ทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้โทรสอบถามไปยังแฟรนไชส์ซีรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่าตนเองเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนร้านสะดวกซัก Washcoin หากบริษัทหยุดดำเนินงานและปิดระบบ และไม่ได้รับความช่วยเหลือและปล่อยลอยแพแฟรนไชส์ซี ก็จะรวมตัวกันฟ้องร้อง แต่อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ ได้แจ้งให้ตนทราบแล้วว่า กำลังเจรจากับบริษัทไฮเออร์ซึ่งเข้ามาเทคโอเวอร์รับช่วงบริหารร้านสะดวกซักต่ออีกที โดยอาจต้องเปลี่ยนแป็นแบรนด์ไฮเออร์ แต่ถ้าไม่เป็นผลสำเร็จก็ต้องฟ้องร้องต่อ

นั่นคือกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากขายแฟรนไชส์ แม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะช่วยให้ธุรกิจขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว แต่หากระบบการบริหารจัดการเครือข่ายที่ไม่เป็นมาตรฐาน ก็อาจส่งผลเสียตามมาภายหลังได้ครับ

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3qgegYZ , https://bit.ly/3faSorx , https://bit.ly/3FrgcCl

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3328JMS


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช