ปี 68 แฟรนไชส์จีนกินรวบ ไทยตายเรียบ ถ้าไม่เปลี่ยน
ในปี 2568 เชื่อว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยอาจต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขยายตัวต่อเนื่องของแฟรนไชส์จีน จากสาเหตุที่ไทยมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงการค้าตลาดจีน คาดว่าปี 2568 จะมีแบรนด์แฟรนไชส์จากจีนไหลบ่าเข้ามาเปิดตลาดในไทยอีกหลายแบรนด์ ทั้งร้านอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม ฟาสต์ฟู้ด เทคโนโลยี และบริการต่างๆ มาดูกันว่าที่ผ่านมามีธุรกิจแฟรนไชส์จีน แบรนด์ไหนบ้าง บุกตลาดในประเทศไทยแล้ว
- Mixue (มี่เสวี่ย) มีมากกว่า 200 สาขา ถือเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก McDonald’s, Subway, Starbucks แซงหน้า KFC แล้ว และอาจแซงหน้า Starbucks และ Subway ขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกได้ตลอดเวลา
- Wedrink แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มีกว่า 150 สาขา
- Bing Chun (ปิงฉุน) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มี 14 สาขา
- CHA i ENJOY แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 1 สาขา
- JIAN CHA Tea เจี้ยนชา แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 11 สาขา
- Naixue ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
- Chagee ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
- ChaPanda ร้านชานม มี 2 สาขา
นอกจากแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีน ยังมีแฟรนไชส์ร้านอาหารจีนเปิดตลาดในไทยอีกด้วย เช่น
- ไหตี่เลา (Haidilao) เชนร้านหม้อไฟจีน มี 9 สาขา บริการลูกค้าที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างรอคิว ตั้งแต่ของว่าง ไอศกรีม ทำเล็บ
- ไก่ทอดเจิ้งซิน ร้านไก่ทอด สเต็ก บาร์บีคิว ไอศกรีม ราคาเริ่มต้น 15 บาท มี 2 สาขา
หากแฟรนไชส์ไทยไม่ปรับตัวในปี 2568 อาจสู้แฟรนไชส์จีนไม่ได้ จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- แฟรนไชส์จีนขายสินค้าราคาถูก โดยเฉพาะแฟรนไชส์ไอศกรีมและชา เริ่มต้น 15-50 บาท
- แฟรนไชส์จีนขายแฟรนไชส์ราคาต่ำ เช่น แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ เริ่มต้น 1-1.5 ล้านบาท
- แฟรนไชส์ไก่ย่าง ไก่ทอด “เชสเตอร์” ของไทย ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 6 ล้านบาท สูงกว่าแฟรนไชส์ไก่ทอด “เจิ้งซิน” จากจีนที่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 8.12 แสนบาท นั่นจึงทำให้แฟรนไชส์จีนได้เปรียบคู่แข่ง ทั้งราคาขายสินค้า และเงินลงทุนแฟรนไชส์
- แฟรนไชส์จากจีน ใช้กลยุทธ์ขยายสาขาด้วย “ระบบแฟรนไชส์” ทำให้ธุรกิจขยายได้เร็วกว่าธุรกิจอื่นๆ
- แฟรนไชส์จีนโดดเด่นด้วยสินค้าใหม่ โมเดลธุรกิจใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ และราคาไม่แพง ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า
- แฟรนไชส์จีนให้ตัวแทนบริษัทแม่ในจีนเข้ามาบริหารโดยตรง แตกต่างจากแฟรนไชส์อเมริกาที่ใช้ตัวแทนบริหารในไทย อีกทั้งหากดูนิสัยการทำงานของคนจีนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นคนจริงจังกับงานมากกว่าคนไทย ทำให้บริหารธุรกิจโตเร็ว
วิธีปรับตัวแฟรนไชส์ไทยสู้แฟรนไชส์จีน
- สร้างความแตกต่างทางการตลาด เน้นการสร้างคุณค่าและคุณภาพ ทำโฆษณาออนไลน์ที่มีเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ การเล่าเรื่องราวที่มีความผูกพันกับลูกค้า หรือการใช้ Influencers ที่มีความน่าเชื่อถือในกลุ่มตลาดเป้าหมาย
- พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้เหนือกว่าคู่แข่ง โดยสามารถนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น การใช้วัตถุดิบท้องถิ่นหรือตามฤดูกาลเพื่อสร้างความแตกต่าง หรือการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ให้ประโยชน์กับลูกค้า
- ตอบสนองต่อเทรนด์ใหม่ๆ เช่น ใส่ใจในสุขภาพ การนำเสนอเมนูสุขภาพ การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Business)
- สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น แอปพลิเคชันสำหรับการสั่งซื้อ หรือเว็บไซต์ที่สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ เพื่อให้บริการลูกค้าได้สะดวกขึ้น และเข้าถึงลูกค้าในทุกที่ทุกเวลา
- ใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการธุรกิจ เช่น ระบบ POS (Point of Sale) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดต้นทุน และเพิ่มความสะดวกในการให้บริการลูกค้า
- เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ด้วยบริการคุณภาพและรวดเร็ว ทำให้แข่งขันกับแฟรนไชส์จีนได้
- ศึกษากลยุทธ์และโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์จีนที่ประสบความสำเร็จ เช่น ใช้ระบบออนไลน์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในราคาถูก แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตลาดแฟรนไชส์ในไทย
ดังนั้น หากแฟรนไชส์ไทยไม่ปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลง เช่น ปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้แตกต่าง ขยายตลาดออนไลน์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน ก็ยากที่จะต่อสู้กับความแข็งแกร่งของแฟรนไชส์จีนในตลาดไทยได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)