ปั้น Community Mall อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก “Community Mall” กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นรูปแบบค้าปลีกขนาดกลาง เกิดขึ้นตามการขยายตัวของเมืองและชุมชน เป็นค้าปลีกที่รองรับคนในชุมชนโดยรอบ หรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในย่านนั้น รัศมีประมาณ 5 กิโลเมตร

ขณะที่การออกแบบ จะผสมผสานระหว่างพื้นที่เปิดโล่งกับตัวอาคารเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคาร 2-3 ชั้น มีทางเข้า-ออกโครงการได้ง่าย ส่วนสินค้าและบริการ มุ่งตอบความต้องการชีวิตประจำวันเป็นหลัก

แต่มาช่วงระยะหลังๆ Community Mall กลับเกิดขึ้นน้อยลง เรียกว่าชะลอตัวไปเลยก็ได้ แต่เราจะเห็นการปิดสาขาไปเป็นจำนวนมากก็มี อาจเป็นเพราะการบริหารจัดการในแต่ละโครงการ รวมถึงพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป

วันนี้ www.ThaiSMEsCentercom จะมาบอก Concept และวิธีการพัฒนา Community Mall ให้มีศักยภาพและประสบความสำเร็จ มาดูพร้อมๆ กันว่า เราจะมีวิธีการบริหารจัดการ Community Mall ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

1. ทำเลที่ตั้งดี

ปั้น Community Mall

ต้องอยู่ในทำเลดีเท่านั้น ดังนั้น การเปิด Community Mall ต้องศึกษาทำเลในแต่ละโซนก่อนว่า มีความหนาแน่นของชุมชนและประชากรโดยรอบทำเล ที่จะสร้างโครงการเป็นอย่างไร

ทั้งคนที่พักอาศัยในโซนนั้น และคนต่างถิ่นที่เดินทางมาทำงานในโซนนั้นๆ และต้องมีจำนวนมากพอ ที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของคนตลอดทั้งวัน และทุกวัน ทั้งยังต้องเป็นทำเลที่มีการเดินทางสะดวก ง่ายต่อการเข้า-ออก

2. คอนเซ็ปต์แตกต่าง

w3

ต้องแตกต่างและมีความชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดึงดูดให้คนเข้ามาเดิน และหากเปิดไปสักพัก แล้วเกิดมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มาตั้งอยู่ในย่านเดียวกันจะยิ่งยากต่อการแข่งขัน

3. ร้านอาหาร ธนาคาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และอื่นๆ

w5

มีแม่เหล็กครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ร้านอาหารและร้านเครื่องดื่ม ที่หลากหลาย มีความน่าสนใจ และถ้ามีร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มที่เป็นแบรนด์ใหญ่ มาร่วมเปิดในโครงการ จะเป็น Key Magnet ดึงคนให้เข้ามามากขึ้น อีกทั้งยังต้องมีบริการทางการเงิน และ ซูเปอร์มาร์เก็ตเข้ามาอยู่ในโครงการด้วย เพราะทั้ง 3 สิ่งนี้ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน

4. กิจกรรมส่งเสริมการตลาด

w6

การบริหารจัดการ Community Mall จำเป็นต้องมีทั้งกิจกรรมที่ตอบโจทย์คนที่อยู่โดยรอบโครงการ เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ที่เดิน Community Mall คือ คนที่ใช้ชีวิตอยู่โดยรอบโครงการ

เป็นคนเดิม กลุ่มเดิม แตกต่างจากศูนย์การค้า ที่มีทั้งลูกค้ากลุ่มเดิม และลูกค้าใหม่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน และในบางช่วงเวลา อาจมีการจัดกิจกรรมตามกระแสบ้าง เพื่อดึงลูกค้านอกพื้นที่เข้ามารู้จัก และมีประสบการณ์

ดังนั้น การจัดกิจกรรมการตลาดต่อเนื่องใน Community Mall จะทำให้ลูกค้าประจำกลับมาใช้บริการต่อเนื่อง ไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย หรือจำเจ เช่น เทศกาลอาหาร มหกรรมสินค้าลดราคา เป็นกิจกรรมที่เข้ากับทุกกลุ่ม ทุกวัย หรือถ้าโดยรอบเป็นคอนโดมิเนียม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน อาจจัดกิจกรรมตกแต่งสวนขนาดเล็ก เป็นต้น

5. มีการบริหารจัดการที่ดี

w4

การทำ Community Mall จำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดีพอสมควร และผู้บริหารโครงการต้องเข้าใจความต้องการของผู้ประกอบการ ที่เข้ามาเช่าพื้นที่ในโครงการเปิดร้านค้า และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะเรื่องของค่าเช่าพื้นที่ ต้องไม่แพงจนผู้ประกอบการไม่กล้ามาเช่าพื้นที่ขายของ หรือลูกค้าไม่กล้าเข้ามาซื้อสินค้า

ที่สำคัญภายใน Community Mall ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไว้คอยบริการลูกค้าภายในโครงการด้วย มีระบบการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการร้านค้าและลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ

ปัจจุบันแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้เห็น Community Mall ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดเหมือนแต่ก่อน แต่รูปโฉมใหม่ของ Community Mall อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทุน ที่สร้างขึ้นในโครงการขนาดใหญ่ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร อาคาร สำนักงาน ร้านค้าปลีก เพื่อเติมเต็มและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างครบสมบูรณ์

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
สนใจเช่าพื้นที่ทำเลขายดีทั่วไทย www.thaifranchisecenter.com/market/index.php


SMEs Tips

  1. ควรออกแบบพื้นที่ Community Mall ให้มีสัดส่วนของการพบปะพูดคุย ปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการ
  2. ต้องอยู่ในพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 3,000 ครัวเรือน
  3. ตัว Mall ควรออกแบบให้เปิดโล่ง (Open Air)
  4. ร้านอาหารต้องเป็นกลุ่มที่กินง่าย ไม่เป็นพิธีรีตอง
  5. มีซูเปอร์มาร์เก็ตขนาด 2,000 ตารางเมตร เพื่อจับจ่ายเพื่อเติมเต็มสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน
  6. ออกแบบทางเข้า-ออกให้ง่าย
  7. จอดรถสะดวกสบาย
  8. มีต้นไม้ร่มรื่น

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช