ปลูก “บอนไซมะพร้าว” ขายกระถางละ 300-1,000 บาท

สถานการณ์แพร่ระบาดCOVID ทำให้หลายคนต้องขาดรายได้ บางคนตกงาน ไม่มีงานทำ สิ่งสำคัญตอนนี้คือต้องการหารายได้เสริมซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าจะเริ่มแบบไหนอย่างไรดี

www.ThaiSMEsCenter.com ได้พยายามรวบรวมแนวคิดและวิธีการลงทุน การสร้างธุรกิจในรูปแบบต่างๆ มานำเสนอเป็นข้อมูลให้เลือกศึกษา โดยเฉพาะหากใครมีพื้นที่ว่าจะลองสร้างรายได้จากการเพาะต้นไม้ขายในช่วงนี้ก็ถือว่าน่าสนใจ

และหากเป็นคนสนใจในเรื่องนี้จริงอาจเคยได้ยินคำว่า “บอนไซมะพร้าว” ที่เราเห็นว่าลงทุนน้อย แต่ราคาขายสูง ลองมาดูข้อมูลว่าน่าสนใจเหมือนที่เราพูดหรือไม่

จุดเริ่มต้นและความน่าสนใจของ “ บอนไซมะพร้าว ”

ปลูก “บอนไซมะพร้าว”

ภาพจาก bit.ly/37Vzml7

มะพร้าวเป็นพืชสกุลเดียวกับปาล์ม ซึ่งปาล์มมีทั้งแบบกินผลและประดับ ดังนั้น มะพร้าวก็สามารถนำมาเป็นประดับได้เช่นกัน มักนำไปตกแต่งตามสวนหย่อมที่ต้องใช้พื้นที่เพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตของทางใบ โดยบอนไซมะพร้าวมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะบอนไซมะพร้าวคือการย่อส่วนต้นมะพร้าวให้มีขนาดเล็ก ถูกเลี้ยงและดูแลในภาชนะเล็ก-ใหญ่ตามความชอบ มีรูปร่างเป็นมะพร้าวแคระ เสน่ห์ หรือจุดเด่นของบอนไซมะพร้าวมีหลายแห่ง

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางเส้นรากบนกะลา การตกแต่งกะลาด้วยน้ำยาเคลือบเงา หรือสี การวางทรงต้น การตัดแต่งใบ หรือแม้แต่การประดับตกแต่งรอบโคนต้นด้วยวัสดุต่างๆ ที่สำคัญการทำบอนไซมะพร้าว ง่ายและใช้เวลาน้อยกว่าบอนไซทั่วไปต้นทุนต่ำ สามารถทำเล่นเป็นงานอดิเรก หรือถ้าชำนาญมากขึ้นใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปเกิดความโดดเด่นทำเป็นรายได้เสริมขายในราคาที่สูงได้ด้วย

อุปกรณ์สำคัญที่ควรต้องมี

ปลูก “บอนไซมะพร้าว”

ภาพจาก bit.ly/37OMwAx

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นแนะนำว่าให้เริ่มทำจากง่ายๆ ซึ่งอุปกรณ์ในการทำส่วนใหญ่หาได้ง่าย และใช้เงินทุนไม่มากนัก โดยมีอุปกรณ์สำคัญได้แก่

  1. มีดกรีด
  2. กระดาษทราย หรือเครื่องขัด
  3. สีสเปรย์ กระถาง และดิน
  4. พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม

หากเป็นมะพร้าวน้ำหอมที่มีลูกค่อนข้างเล็กเรียวใช้เวลาในการดูแลประมาณ 3 เดือนขึ้นไป แต่ถ้าอยากให้มีรูปทรงต่างๆ ออกมาสวยงามใช้เวลาประมาณ 1 ปี ยิ่งถ้าเป็นลูกมะพร้าวแกงที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่จะใช้เวลานานกว่ามะพร้าวน้ำหอมเล็กน้อย ซึ่งถ้ามีลำต้นอวบใหญ่จะสวยงามอยู่ได้นาน ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะนิยมมะพร้าวน้ำหอมรากยง หรือรากที่มีลักษณะยาวโผล่ให้เห็นบนผิวดิน จะโชว์รากที่สวยงาม หรือเรียกอีกชื่อว่า “มะพร้าวลีลา”

วิธีการทำ “บอนไซมะพร้าว” เบื้องต้น

ปลูก “บอนไซมะพร้าว”

ภาพจาก bit.ly/37OMwAx

1.สามารถใช้ได้ทุกพันธุ์แต่ส่วนใหญ่มักใช้มะพร้าวน้ำหอมแต่ควรเลือกลูกมะพร้าวที่เพิ่งแตกยอดอ่อนขึ้นยาวสัก 3 นิ้ว หรือบางทีอาจใช้ลูกมะพร้าวที่ตกจากต้นแล้วเริ่มมีใบก็ได้ ควรเลือกความยาวใบ ประมาณ 20-30 เซนติเมตร

2.ผ่าเปลือกออกให้เหลือลูกข้างใน นำไปปลูกต่อเพื่อสร้างราก ซึ่งมี 2 แบบ คือปลูกในดิน หรือปลูกในน้ำ

3.หลังจากผ่านการกรีดเยื่อหุ้มยอดเป็นเวลา 1 ปี จะเริ่มเห็นฟอร์มทรงต้นได้ชัดเจน คือจะมีความสูงประมาณ 1 คืบ อีกทั้งความสูงของใบยังมีสัดส่วนที่พอดีกับลำต้น ฉะนั้นหลักการและวิธีไม่มีอะไรมากเพียงหมั่นคอยกรีดยอดอยู่สม่ำเสมอเพื่อต้องการคุมฟอร์มลำต้นให้มีขนาดและความสูงที่ต้องการ

4.ระหว่างขั้นตอนการทำบอนไซมะพร้าว ควรเปลี่ยนดินปลูกปีละครั้ง ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ หรือใส่ปุ๋ยละลายช้าลงในดินแทนคุณสมบัติดินปลูกต้องโปร่ง น้ำไหลผ่านสะดวก จะใช้ดินทั่วไปก็ได้ แต่ควรผสมขุยมะพร้าวกับใบก้ามปูด้วย

5.ภาชนะปลูกในช่วงแรกอาจใช้กระถางทั่วไปที่มีรูน้อย เพราะไม่ต้องการให้รากขดเป็นวงตามรู ทำให้จะต้องตัดรากที่ขดทิ้งทำให้ต้นขาดความสมบูรณ์เวลาเปลี่ยนกระถางใบใหม่ เมื่อได้ทรงต้นที่สมบูรณ์ตามต้องการจึงย้ายลงกระถางโชว์ ซึ่งเป็นกระถางแบบไหนก็ได้ตามที่ชื่นชอบ

เคล็ดลับสำคัญ

หัวใจสำคัญของบอนไซมะพร้าว คือ ต้องหมั่นกรีดยอดใบเพื่อคุมทรง กับกรีดเยื่อรอบโคนเพื่อควบคุมทรง เนื่องจากไม่ต้องการให้ลำต้นสูง ต้องการให้อวบ โดยเลี้ยงจนแตกยอดแล้วหมั่นกรีดบริเวณเยื่อเจริญสีน้ำตาลที่หุ้มยอดมะพร้าวทุกสัปดาห์เพื่อให้ปลายยอดม้วนลง เพราะบังคับไม่ให้ยอดเจริญเติบโตมาก ต้องการคุมทรงต้น และต้องการเลี้ยงลำต้นให้อวบใหญ่

บอนไซมะพร้าวราคาขายราคา 300 – 2,000 บาท

ปลูก “บอนไซมะพร้าว”

ภาพจาก bit.ly/3m935PX

การทำ บอนไซมะพร้าว ต้องอาศัยเวลาในการฟอร์มต้นให้สวยงาม จึงไม่ใช่สินค้าที่จะทำขายได้ทันที ยิ่งฟอร์มต้นได้สวยราคาขายก็ยิ่งดี โดยปกติราคาเริ่มต้นที่ 200 – 300 บาท แต่หากเป็นบอนไซที่สวยงามราคาขายอาจเพิ่มขึ้นเกินกว่าหลักพัน สามารถขายได้ตั้งแต่ 1,000 – 2,500 ตามความสมบูรณ์ของบอนไซมะพร้าว

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของลูกค้าที่แตกต่างกัน บางกลุ่มชอบมะพร้าวทรงต้นลักษณะเป็นมะพร้าวแกง ไม่ค่อยเน้นโชว์รากซึ่งจะค่อนข้างมีน้ำหนักมากกว่ามะพร้าวน้ำหอมที่จะเป็นรูปทรงคนละแบบกัน ยิ่งถ้าเลี้ยงให้โคนต้นใหญ่ รากโต แต่ต้นเตี้ย ทำได้องค์ประกอบทุกอย่างครบ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาเลี้ยง 2-3 ปี ยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาด และถ้าเลี้ยงไปนาน 10 ปี เกิดมีลูกมะพร้าวเล็กๆออกมาได้ อาจขายกันในราคากระถางเป็นหลักหมื่น แต่ในต่างประเทศนั้นขายกันหลักแสนบาทกันเลยทีเดียว

การทำ บอนไซมะพร้าว เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจแต่ก็สงวนไว้สำหรับคนที่มีใจรักและอาชีพนี้ไม่สามารถสร้างรายได้ในทันทีแต่เป็นผลดีในระยะยาว ก็ขึ้นอยู่กับวิธีสร้างธุรกิจของคนที่สนใจ โดยอาจเพาะพันธุ์ไม้อื่นๆร่วมด้วย เพื่อจะได้ขายในระยะสั้นระหว่างที่รอให้บอนไซมะพร้าวโต

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2W0PwaI

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด