ปลูกปาล์มน้ำมัน รายได้ครึ่งแสน
ปาล์มน้ำมันเคยได้ชื่อว่าเป็นพืชเศรษฐกิจดาวรุ่งพุ่งแรง แต่อย่างที่ทราบว่าราคาของปาล์มน้ำมันกลับร่วงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเหตุจากกระแสยุโรปที่พยายามจะเลิกใช้ ซึ่งกระแสของปาล์มน้ำมันที่บูมมากในช่วงก่อนนี้
www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเป็นความพยายามของภาครัฐที่ผลักดันเรื่องนี้ ดูได้จาก แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ใบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทน’ ขยายการปลูกสวนปาล์มให้มากขึ้น
โดยพื้นที่เป้าหมายหลักคือในภาคอีสาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2572 รวมทั้งเอกชนกึ่งรัฐอย่างบริษัทในเครือ ปตท.เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการผลักดันด้วย
ทำให้พื้นที่ปลูกปาล์มในไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผยว่าปัจจุบันมี พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วเป็น 4.8 ล้านไร่ ซึ่งสวนมากอยู่ในภาคใต้ และเมื่อดูราคาที่เคยสูง ถึง 5.71 บาทต่อกิโลกรัม
ในปี 2559 ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงเอามากๆ สูงที่สุดในบรรดาพืชเศรษฐกิจเลยในตอนนั้น แต่ ณ ตอนนี้ราคาปาล์มกลับลดลงมาเหลือเพียง 2.54 บาทต่อกิโกกรัม ทำให้ต้องมีความพยายามในการส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรอีกรอบ
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน
ภาพจาก bit.ly/2r0TvnP
เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ออกมาเพื่อเกษตรกรที่ปลูกปาล์มโดยกำหนดให้เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรโดยมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามพื้นที่ที่ปลูกจริง
แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ไร่ และต้องเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วมีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยราคาเป้าหมายผลปาล์มทะลาย ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 4 บาท ที่เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18% ระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยรายได้ เริ่มจ่ายงวดแรกเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2562 และงวดต่อไป จะจ่ายวันที่ 1 หรือวันที่ 16
ภาพจาก bit.ly/2CXrCzG
ราคาผลปาล์มทะลายล่าสุด เดือน ก.ย.2562 อยู่ที่ กก.ละ 2.75 บาท ที่เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18% ซึ่งรัฐบาลต้องจ่ายเงินส่วนต่างรายได้ให้กับเกษตรกร กก.ละ 1.25 บาท
โดยหากจากคิดราคาผลปาล์ม ณ ราคาปัจจุบันดังกล่าว เกษตรกรจะได้รับค่าส่วนต่างสูงสุดครัวเรือนละ 90,812 บาท ในขณะที่มีการอนุมัติกรอบวงเงินเพื่อใช้ในโครงการนี้ 13,378 ล้านบาท
รวม 10 วิธีดูแลปาล์มน้ำมัน แบบลดต้นทุนและได้ผลผลิตสูง
ภาพจาก bit.ly/2Xw0KAf
1. ให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอ
ในสภาพพื้นที่ประเทศไทยที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1,800 มิลลิเมตร/ปี และมีฤดูแล้งยาวนาน 3-5 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้นโดยการติดตั้งระบบน้ำเพิ่มเติมสำหรับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจำกัด ปริมาณน้ำที่เหมาะคือตามปริมาณความต้องการน้ำของพืชแต่ละชนิดที่เกษตรกรอาจใช้อุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าพลังงานของน้ำในดินเรียกว่า เทนซิโอมิเตอร์ ในการช่วยกำหนดปริมาณน้ำที่ถูกต้องได้
2. แสงแดด ที่เพียงพอ
ปาล์มน้ำมันนั้นต้องการแสงแดดมากกว่า 5 ชม./วัน หากปาล์มน้ำมันได้รับแสงน้อย จะทำให้มีผลผลิตปาล์มน้อยลง
ปัญหาเรื่องของแสงนั้นจะมีปัญหาโดยเฉพาะกับปาล์มน้ำมันที่มีอายุปลูกไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกชิดกันนั้นจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้น
3. ค่ากรด-ด่าง ของดิน
ความเป็นกรด-ด่าง เป็นตัวควบคุมการละลายธาตุอาหารในดิน ให้ออกมาอยู่ในรูปสารละลายรวมกับน้ำในดิน ถ้าดินมีความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจละลายออกมาได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารบางชนิดอาจละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อปาล์มน้ำมันได้
ภาพจาก bit.ly/2qqkaKP
4. การใส่ปุ๋ย
ปาล์มน้ำมัน ให้ผลผลิตในรูป “น้ำมัน” ซึ่งมีต้นทุนในการสังเคราะห์แสงสูงกว่า แป้งและโปรตีน ปาล์มน้ำมันจึงต้องการธาตุอาหารพืชในปริมาณมาก วิธีการใส่ปุ๋ยที่ได้ผลมาโดยตลอด คือการใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อการสร้างต้นและเพื่อการสร้างทะลาย ร่วมกับการสาดปุ๋ยบนกองทางใบซึ่งมีอัตราส่วนการใช้ปุ๋ยตามอายุของต้นปาล์มซึ่งควรได้รับปุ๋ยในอัตราสูตรที่ต่างกัน เกษตรกรต้องศึกษารายละเอียดเรื่องนี้อย่างเจาะลึก
5. ตัดแต่งทางใบ
การตัดแต่งทางใบ คือการตัดทางใบปาล์มที่ตาย ทางใบที่เกิน ทางใบที่เป็นโรคออกไป เพื่อให้ทางใบปาล์มอื่นๆ ได้รับแสง และสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่ เช่นอายุปาล์มที่น้อยกว่า 7 ปี ควรมีทางใบเหลือไว้ประมาณ 3 และปาล์มที่อายุระหว่าง 7-12 ปีควรมีทางใบเหลือไว้ที่ 1 เป็นต้น
6. วางกองทางใบ
โดยการนำทางใบปาล์มน้ำมันมากองให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีประโยชน์มากมาย อาทิ ช่วยรักษาความชื้นในดินให้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำในดินบริเวณนั้น ชะลอการชะล้างหน้าดิน ทำให้ความชื้นในดินอยู่ได้นานส่งผลให้รากปาล์มมีชีวิตได้นานขึ้น คืนธาตุอาหาร เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดินมากขึ้น รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน และประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย
7. หักช่อดอกปาล์มน้ำมัน
ข้อดีของ การตัด/หัก/แทงช่อดอกปาล์มน้ำมันทิ้ง คือสารอาหารต่างๆ สามารถไปเลี้ยงและสร้างลำต้นปาล์มได้อย่างเต็มที่ (แทนที่จะสูญเสียไปกับการเลี้ยงดอกปาล์มน้ำมัน) จึงทำให้ต้นปาล์มโตเร็ว สมบูรณ์แข็งแรง โคนต้นและทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ ทะลายสมบูรณ์กว่าต้นที่ไม่ได้หักช่อดอกทิ้ง
ภาพจาก bit.ly/2QwbywR
8. กำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันอย่างถูกวิธี
สัตว์และแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน นั้นมีมากมาย เช่น หนู หนอนหน้าแมว หนอนร่านสี่เขา หนอนปลอกเล็ก ด้วงแรด ฯลฯ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นเฝ้าระวัง และศึกษาหาวิธีกำจัดอย่างถูกต้อง เหมาะกับชนิดของศัตรูปาล์มนั้นๆ
9. เฝ้าระวัง/สังเกต/กำจัด โรคปาล์มต่างๆ
โรคปาล์มน้ำมัน สามารถเกิดขึ้นได้กับต้นปาล์มน้ำมันในทุกระยะ เช่น ระยะเมล็ด ระยะต้นกล้า ระยะปลูกลงแปลง ระยะที่ให้ผลผลิต ซึ่งโรคต่างๆนั้นมีระดับความรุนแรงในการสร้างความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมันแตกต่างกันไป เช่น โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรครากเน่า โรคทะลายปาล์มเน่า ฯลฯ เกษตรกรจึงควรทำความเข้าใจลักษณะอาการของโรคเพื่อวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง
10. เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน อย่างถูกวิธี
การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสด ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เกษตรกรจึงควรเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สุกพอดีส่งเข้าโรงงานเพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพสูงสุด และจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปปฏิบัติ และใช้อุปกรณ์เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับอายุต้นปาล์มน้ำมันนั้นๆ
ปลูกปาล์มให้มีรายได้หลักแสน
ภาพจาก bit.ly/37gBZMY
การปลูกปาล์มสำคัญคือการใส่ปุ๋ยที่หลายคนห่วงว่าจะทำให้ต้นทุนสูงไปแต่เกษตรที่ประสบความสำเร็จเขา “เน้นปุ๋ย” โดยใส่ปีละประมาณ 3 ครั้งเพราะจะทำให้ปาล์มดูดกินได้ 100% ต่างจากการใส่บ้างไม่ใส่บ้าง ผลผลิตจากเทคนิคใส่ปุ๋ยแบบนี้ส่งผลให้มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 8 ตันต่อไร่
ซึ่งการให้ผลผลิตของปาล์มจะออกตามจำนวนทางใบ ออกเดือนละ 2 ทางใบ ปีละประมาณ 20-24 ทางใบ เพราะฉะนั้น จะได้ประมาณ 20-24 ทะลาย ต่อต้น ต่อปี ค่าปุ๋ยเฉลี่ย 150 บาท ต่อต้น ต่อปี คิดเป็นกิโลกรัมละ 9.8 บาท แต่ปุ๋ยตามท้องตลาดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18-20 บาท ซึ่งหาก 1 ปี ตัดปาล์มขายได้ 18 ครั้ง รายได้ต่อครั้ง 50,000-100,000 บาทขึ้นอยู่กับราคา ณ ตอนนั้น
ซึ่งการปลูกปาล์มสำคัญคือการบริหารจัดการเรื่องต้นทุนและควรมีการจดบันทึกเนื่องจากมีรายละเอียดในการใช้จ่ายมาก เกษตรกรหลายคนไม่รู้ว่ารายได้ตัวเองแค่ไหน ทำแล้วขาดทุนหรือกำไร ส่วนหนึ่งก็มาจากการไม่จดบันทึกนี้
ภาพจาก bit.ly/32XXRt9
สังเกตว่าการปลูกปาล์มแม้ราคาจะค่อนข้างซบเซาในช่วงนี้แต่ภาพรวก็ยังพอเห็นอนาคตได้ แต่การปลูกปาล์มจำเป็นต้องเรียนรู้และศึกษาเป็นอย่างดีใครที่มีที่ว่างเปล่าและอยากลองปลูกปาล์มดูบ้าง ก็ควรจะทำความเข้าใจและเรียนรู้ก่อนลงมือปลูกเพื่อโอกาสในการสร้างรายได้ที่ดี
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2Jf8ph8
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mM2WQw