บริการลูกค้าดุจญาติมิตร เสน่ห์ของ Bed Station Hostel ที่ Backpacker บอกต่อถึงกันและกัน

เริ่มต้นธุรกิจจากการเป็นคนช่างสังเกต ศึกษาหาข้อมูล สู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ Hostel 3 แห่ง ปักหมุดใจกลางกรุงเทพมหานคร เผยเคล็ดลับทำธุรกิจ ศึกษาลูกค้า ทุ่มแรงกาย แรงใจ บริหารธุรกิจตลอด 24 ชั่วโมง ดูแลลูกค้าเหมือนเพื่อน เหมือนครอบครัว จนสามารถพิชิตใจลูกค้า Backpacker ทั้งในแถบยุโรปและอเมริกา จนลูกค้าต้องบอกต่อถึงกัน

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มกลับมาคึกคักเหมือนเดิมก่อนเกิดระบาดโควิด-19 ThaiSMEsCenter.com มีโอกาสสัมภาษณ์ “คุณเพน – จารุภา สุนทรปกาสิต” เจ้าของ Bed Station 3 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ถึงภาพรวมของธุรกิจโฮสเทลและโรงแรม หลังจากประเทศไทยเปิดประตูรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาหลังโควิดคลี่คลายลง

จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ Hostel

Bed Station Hostel

ภาพจาก www.facebook.com/bedstationhostel

คุณเพน เล่าว่า ในช่วงก่อนหน้านี้เคยผ่านไปแถวสีลม แล้วสังเกตเห็นนักท่องเที่ยวฝรั่งนั่งออกมาจากห้องของโฮสเทลแถวนั้นจำนวนมาก เลยเริ่มสนใจธุรกิจโฮสเทลขึ้นมาทันที จึงได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจโฮสเทลเพิ่มเติม

ก่อนที่จะหาทำเลที่เหมาะสมสำหรับเปิดบริการโฮสเทล โดยยึดทำเลตามแนวรถไฟฟ้าแถวราชเทวี เหมือนกรณีเราเป็นนักท่องเที่ยวก็อยากพักตามแนวรถไฟฟ้าเช่นเดียวกัน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มของ Bed Station Hostel เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา หรือราวๆ ปี 2558

Bed Station Hostel

ภาพจาก www.facebook.com/bedoneblockhostel

หลังจากเปิดให้บริการได้แค่ 2-3 เดือน ปรากฏว่าลูกค้าชาวต่างชาติเดินทางมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ติดต่อที่พักจนเต็มมาตลอด เมื่อมีลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ ลูกค้าจองคิวยาวเหยียด จึงต้องเปิดอีก 1 โฮสเทล นั่นคือ Bed One Block Hostel ปักหมุดบนถนนพญาไทย เขตราชเทวี เช่นกัน

มีลูกค้าทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกา หลังจากนั้นอีก 1 ปีครึ่ง ขยายกิจการธุรกิจโฮสเทลเพิ่มตามความต้องการของลูกค้า โดยไปเปิด Bed Station Hostel อีกแห่งที่ถนนข้าวสาร ซึ่งโฮสเทลทั้ง 3 แห่งมีเตียงรองรับลูกค้ารวมกันกว่า 400 เตียง แต่ละเตียงจะมีม่านกั้น มีห้องโล่ง มีห้องอาบน้ำ ยิม และสระว่ายน้ำ

คุณเพน เล่าต่อว่า การแข่งขันของธุรกิจโอสเทลในช่วงแรกๆ หรือเมื่อช่วง 8 ปีที่แล้ว ธุรกิจโฮสเทลในเมืองไทยยังเป็นธุรกิจใหม่ ทำให้ไม่มีการแข่งขันในตลาดมากเหมือนกับปัจจุบัน ที่มีคนหันมาทำธุรกิจโฮสเทลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกฎหมายออกมาใหม่ให้โรงแรมขนาดเล็ก ตึกแถวสามารถเปิดบริการโฮสเทลได้ จึงดึงดูดให้มีผู้ประกอบการมากขึ้น

โควิด-19 ปิดบริการ รีโนเวททำห้องพักเพิ่ม

Bed Station Hostel

ภาพจาก www.facebook.com/bedoneblockhostel

ปัญหาของธุรกิจโฮสเทลช่วงการระบาดโควิด-19 คุณเพน เล่าว่า ช่วงการระบาดโควิดมากๆ ทำให้ Bed Station ต้องทยอยปิดให้บริการ โดย Bed Station สาขาแรกราชเทวีปิดให้บริการก่อน แต่ Bed One Block ราชเทวีเปิดให้บริการมาตลอด ส่วน ฺBed Station ถนนข้าวสาร ปิดให้บริการหลังสุด เพราะยังมีลูกค้ากลุ่มตกค้างที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ หลังจากปิดให้บริการ Bed Station ได้ประมาณ 1 ปี จึงกลับมาเปิดให้บริการใหม่อีกครั้ง

“เป็นช่วงที่เราได้มีการรีโนเวทโฮสเทลทำเป็นห้องเดี่ยวมากขึ้น ลดพื้นที่ส่วนกลาง ทำเป็นห้องพักมากขึ้น หลังเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ ธุรกิจโฮสเทลกลับมาคึกคักเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ลูกค้าไม่ได้มีความกังวลเรื่องของโควิดเลย” คุณเพน กล่าว

“การบริการ-พนักงาน” หัวใจหลัก Bed Station

Bed Station Hostel

ภาพจาก www.facebook.com/bedstationhostel

คุณเพน เล่าว่า Bed Station มีความโดดเด่นในเรื่องของ Staff ดูแลและคลุกคลีอยู่กับลูกค้ามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น คุกกิ้งคลาส ว็อคกิ้งทัวร์ คลาสสอนภาษาไทย ทำอะไรที่ลูกค้ารู้สึกชอบ ส่วนที่สาขาข้าวสารอาจเพิ่มในส่วนของการเที่ยว การเข้าผับบาร์ ทางโฮสเทลของเรามีการจัดกิจกรรมให้กับลูกค้าเป็นอย่างดี โดยให้ทางทีม Staff ของเราไปมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมกับลูกค้า เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ลูกค้ารู้ว่ามาพักที่นี่แล้วมีเพื่อนทำให้รู้สึกชอบ มีการบอกต่อถึงกัน

หลักการบริหารธุรกิจโฮสเทลของคุณเพน จะอยู่กับลูกค้าเกือบ 24 ชั่วโมง ทำความรู้จักลูกค้าให้มากที่สุด คิดว่าเขาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ลูกค้าต้องสำคัญที่สุด ทุกอย่างต้องทำและดูแลลูกค้าให้เหมือนกับคนในครอบครัว

Bed Station Hostel

ภาพจาก www.facebook.com/bedstationhostel

นอกจากการบริการและดูแลลูกค้าเหมือนคนในครอบครัวแล้ว Bed Station ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็น สระว่ายน้ำ ยิมออกกำลังกาย แตกต่างจากโฮสเทลทั่วๆ ไป ลูกค้ามาพักกับเราได้ทั้งเพื่อน เตียงนอนที่สบาย เรียกว่ามาที่ Bed Station แล้วได้ครบ จบในที่เดียว ในราคาคุ้มค่า ลูกค้ามาพักคนเดียว กลับออกไปได้เพื่อนเป็นสิบ

“ลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศยุโรป และอเมริกา ถ้าเป็นลูกค้าเอเชียจะเป็น Bed One Block โดยส่วนใหญ่ลูกค้าจะพักประมาณ 1 คืน หรือ 2 คืน แล้วออกไปเที่ยวเหนือ เที่ยวใต้แล้วกลับมาพักใหม่” คุณเพน กล่าว

Bed Station แพลนขยายสาขาต่างจังหวัด

ภาพจาก www.facebook.com/bedstationhostel

คุณเพน เล่าว่า แผนการดำเนินธุรกิจ Hostel ในอนาคต มีแผนขยาย Bed Station ไปยังต่างจังหวัดแต่ละภาคของประเทศไทย อาจจะทำร่วมกับพันธมิตรที่เป็นเชนโฮสเทลในต่างประเทศ แลกเปลี่ยนข้อมูลและทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น เพราะลูกค้ากลุ่ม Backpacker ไม่อยากมาพักอย่างเดียว แต่อยากได้เพื่อนด้วย

ในส่วนปัญหาแรงงานที่ขาดแคลนในธุรกิจ Hostel มีเข้าๆ ออกๆ บ้าง เพราะต้องอยู่กับลูกค้าตลอดเวลา ทำให้คนรุ่นใหม่อาจรู้สึกเบื่อบ้างเป็นบางครั้ง มีการเปลี่ยนงานง่าย แต่ไม่ถือว่าขาดแคลน มีเข้ามาสมัครใหม่เรื่อยๆ

“คุณภาพ-การบริการ” ความท้าทายธุรกิจโฮสเทล

ภาพจาก www.facebook.com/bedstationhostel

คุณเพน เล่าว่า ความท้าทายของธุรกิจโฮสเทล คือ การพัฒนาคุณภาพของตัวโฮสเทล และการให้บริการลูกค้าของพนักงาน ที่จะต้องใส่ใจลูกค้าให้มากๆ เพื่อที่จะให้ลูกค้าไปบอกต่อคนอื่นๆ เมื่อกลับไปประเทศของเขา

นอกจากนี้ความท้าทายของธุรกิจโฮสเทลยังมีในเรื่องการแข่งขันในตลาด โดยในอนาคตธุรกิจโฮสเทลรายเล็กๆ จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะพวกตึกแถวที่เจ้าของนำมารีโนเวท ส่วนโฮสเทลใหญ่จะมีน้อย อาจเป็นในเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ ด้วย

เคล็ดลับบริหารธุรกิจโฮสเทลให้สำเร็จ

ภาพจาก www.facebook.com/bedstationhostel

คุณเพน เล่าว่า หลักการบริหารธุรกิจ Hostel ให้ประสบความสำเร็จ อยู่ที่การบริการที่ดี และดูแลลูกค้าตลอดเวลา พูดคุยและคลุกคลีอยู่กับลูกค้าเหมือนคนในครอบครัว ลูกค้ากลุ่ม Backpacker ไม่ต้องการความเป็นส่วนตัวเหมือนลูกค้าที่พักในโรงแรม ดังนั้น การทำธุรกิจโฮสเทลต้องให้ความเป็นกันเองและความเป็นเพื่อนให้กับลูกค้า

เราจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจโฮสเทล หลักๆ อยู่ที่ พนักงาน การบริการลูกค้า สิ่งอำนวยความสะดวก การรักษามาตรฐาน การใส่ใจในรายละเอียดความต้องการของลูกค้าทุกคน ดังนั้น ถ้าใครอยากทำธุรกิจโฮสเทลให้อยู่ได้ระยะยาว ควรศึกษากลุ่มลูกค้าเป็นแบบไหน ยุโรป อเมริกา หรือเอเชีย เพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่ต่างกัน

ติดต่อ Bed Station

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช