“บรรทัดทอง” ย่านปราบเซียน เปิดร้านยังไงให้รวย?
“บรรทัดทอง” ถนนที่มีความยาวประมาณ 1.5 กม. ตั้งแต่แยกพระราม 4 – แยกเจริญผล ภาพจำในอดีตถนนเส้นนี้เต็มไปด้วยร้านซ่อมรถ ร้านขายอะไหล่รถยนต์ ไปจนถึงร้านขายเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา ร้านขายถ้วยรางวัล ร้านเซียงกง และร้านอาหารแทรกอยู่บ้างเล็กน้อย
จุดเปลี่ยนของถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่หลังการแพร่ระบาดโควิด ที่เริ่มมีร้านอาหารเปิดใหม่จำนวนมาก อย่างเช่น โจ๊กสามย่าน, เจ๊โอว, เจ๊วรรณ, สุกี้เอลวิส, หนึ่ง นม นัว และร้านค้าอื่นๆ ที่ทยอยมาเปิดอีกมากในพื้นที่โดยรอบ แต่ที่ทำให้ย่านนี้โด่งดังเป็นพลุแตกน่าจะเริ่มมาจาก “เจ๊โอว” ข้าวต้มและมาม่าระดับตำนานดีกรี มิชลิน ไกด์ และกระแสลิซ่า ที่ได้มากิน “น้ำเต้าหู้เจ๊วรรณ” ที่ซอยจุฬา 22 เมื่อปี 63 ทำให้ย่านบรรทัดทองกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ประกอบกับกระแสของสตรีทฟู้ดที่มาแรงยิ่งทำให้ “บรรทัดทอง” ถูกพูดถึงและยกไปเทียบเคียงว่าเป็น “เยาวราช 2” ไม่ใช่แค่นั้นกระแสของบรรทัดทองยังไปไกลระดับโลก ติดอัน14 ถนนสุดคูลของโลกประจำปี 2024 จึงไม่น่าแปลกใจที่จู่ๆถนนเส้นนี้จะกลายเป็น Food Destination ของทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ
ส่วนเหตุผลที่ร้านดังทั้งเจ้าเก่าแก่และร้านใหม่ที่ไม่เคยมีสาขามาก่อนในกรุงเทพฯ เลือกเข้ามาเปิดสาขาในย่านบรรทัดทอง ง่าย ๆ ก็ดูทราฟฟิกเป็นหลัก โดยแต่ละวันย่านนี้มีคนเข้ามาใช้บริการประมาณ 30,000 – 40,000 คน เวลาเปิดร้านก็เริ่มตั้งแต่ 11.00 น.
สำหรับอาหารง่าย ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว โจ๊ก ข้าวมันไก่ ฯลฯ เพื่อบริการพนักงานหรือคนในย่าน แต่ช่วงพีคของบรรทัดทองจะอยู่ตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป เลยไปแบบ 23.00 น. ถึงเที่ยงคืนก็แล้วแต่ร้าน โดยอัตราค่าเช่าย่านบรรทัดทองเริ่มตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาทต่อเดือน แล้วแต่ขนาดและโซน

แน่นอนว่าความคาดหวังของทุกร้านค้าที่มาเปิดในย่านนี้ต้องหวังถึง “ยอดขาย” และ “รายได้” ทางธุรกิจ โดยมองเรื่องกลุ่มลูกค้าที่มีจำนวนมากเป็นตัวแปรสำคัญ แต่อีกด้านของ “บรรทัดทอง” ก็ไม่ได้สวยหรูเสมอไป เมื่อมีร้านที่ขายดี ก็ต้องร้านที่ขายไม่ได้ ถึงขนาดมีอีกชื่อเรียกว่าเป็นถนนปราบเซียน
เราต้องมองภาพรวมของบรรทัดทองออกเป็น 2 ส่วน ร้านค้าที่รุ่งๆ ก็มีเยอะ แต่บางร้านนี่ถึงขั้นเงียบเหงาไม่มีคนในร้านสักโต๊ะ อาจเป็นเพราะเรื่องโลเกชั่นแม้จะเป็นบรรทัดทองเหมือนกันแต่ก็ไม่ใช่จะขายดีได้หมด

ถ้ามองจากหัวถนนตรงแถว สเตเดี้ยมวัน ที่ส่วนใหญ่เป็นร้านดัง มีลูกค้าประจำเยอะ ถัดมาหน่อยตรงกลางๆ มีร้านอย่างหนึ่ง นม นัว ตรงนี้ก็คนเยอะมาก ริมถนนคนเดินหนาแน่น แต่ก็มีบางร้านในพื้นที่ใกล้ๆ กันนี้ที่แทบไม่มีลูกค้าเช่นกัน
ยิ่งไปท้ายๆ ถนนบรรทัดทอง ส่วนใหญ่จะเป็นร้านดังที่เคยมีการรีวิววจากอินฟลูเอนเซอร์ มีการทำตลาดในโซเชี่ยล คนแห่ตามมาชิมกันเยอะ
ถ้าจะเปิดร้านในย่านบรรทัดทองให้รวย สิ่งที่ต้องมีคือ!

– เอกลักษณ์ของร้าน ที่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก จะทำยังไงให้คนรู้จักทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าร้านของเราแตกต่าง ถ้าเหมือนๆกันเจ้าอื่นที่มี ด้วยความที่คู่แข่งเยอะ ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะไปใช้บริการร้านค้าที่ตัวเองคุ้นเคยมากกว่า ยกตัวอย่างร้านหมูสะเต๊ะในบรรทัดทองมีอย่างน้อยก็ 4 ร้าน ถ้าเราไม่เด่นจริง ไม่มีจุดดึงดูดลูกค้า ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จในการขายได้เช่นกัน
– ระบบบริหารจัดการร้านอย่างมืออาชีพ ต้องมีความเก่งในเรื่องการบริหารต้นทุน ค่าแรง รวมถึงการตลาดด้วย เพราะย่านนี้ต้องสู้กับค่าเช่าที่สูง การแข่งในเรื่องราคาให้ถูกกว่าคู่แข่งบางทีอาจทำให้เราขายดี แต่ก็ไม่มีกำไรได้เช่นกัน

– ทำการตลาดผ่านโซเชี่ยล เป็นตัวแปรสำคัญมาก ยิ่งถ้าเราเป็นร้านที่ไม่มีชื่อเสียงมาก่อน ไปสู้กับร้านอื่นที่คนรู้จักมานานคงยากมาก แต่หลายร้านอยู่รอดได้ก็ต้องสร้างการรับรู้ผ่านโซเชี่ยล แต่มีข้อพึงระวังคือการตลาดแบบนี้เราต้องเลี้ยงกระแสให้อยู่ตลอดเวลาเมื่อไหร่ที่คนเลิกพูดถึง ลูกค้าจะหายไปเช่นกัน
– คุณภาพสินค้าและบริการที่ดี สังเกตได้ว่าหลายร้านเติบโตได้เพราะอาหารอร่อยจริง เครื่องดื่มรสชาติดีจริง คนมากินก็อาจบอกกันปากต่อปาก พูดกันไปเป็นวงกว้าง ก็ทำให้ร้านเรากลายเป็นที่รู้จักได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการรักษาคุณภาพให้คงอยู่ก็ถือว่าสำคัญด้วย
– ปรับรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค ต้องเข้าใจก่อนว่าลูกค้าที่มาย่านบรรทัดทองต้องการสินค้าแบบไหนอย่างไร และนำข้อมูลนั้นมาพัฒนาเมนูในร้านให้น่าสนใจ เช่นสินค้าพร้อมรับประทานทันที หรือพัฒนาแพ็กเกจจิ้งให้ใช้งานง่ายๆ เป็นต้น

บรรทัดทองในอีกมุมหนึ่งอาจเป็นเหมือนการขายฝันของคนที่อยากทำร้านอาหาร ที่จริงทำเลนี้ก็มีความได้เปรียบเยอะมากทั้งการเป็นย่านแห่งสีสัน สามารถเชื่อมต่อกับหลายสถานที่ , อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยและออฟฟิศ , ตั้งอยู่ใจกลางเมือง, มีจุดสำหรับจอดรถในพื้นที่ใกล้เคียง
ถ้าเอาความได้เปรียบเหล่านี้มาผนวกกับจุดเด่นของร้าน คุณภาพสินค้าและบริการ ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า การันตีได้ว่ายอดขายดี มีกำไรแน่นอน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)