ธุรกิจ Franchise & ธุรกิจ Chain Store ต่างกันอย่างไร

รูปแบบการขยายกิจการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ธุรกิจ Franchise และ ธุรกิจ Chain Store ทั้งสองรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร และธุรกิจแบบไหนเป็นแฟรนไชส์ หรือ เชนสโตร์ มาดูกัน

ธุรกิจ Franchise

เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของแบรนด์ (แฟรนไชส์ซอร์) ขายสิทธิ์กับบุคคลที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ให้สามารถใช้ชื่อแบรนด์ เทคโนโลยี และระบบการทำงานของแบรนด์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันทั่วประเทศหรือทั่วโลกได้

โดยแฟรนไชส์ซอร์จะให้ความช่วยเหลือในการจัดหาทำเลเปิดร้าน การฝึกอบรม การทำตลาด ระบบเทคโนโลยีการจัดการหน้าร้าน-หลังร้าน และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตไปพร้อมกับแฟรนไชส์ซอร์

ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ Product Franchise และ Business Format Franchise

1. Product and Brand Franchise

ธุรกิจแฟรนไชส์แบบนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ให้สิทธิ์ผู้ซื้อแฟรนไชส์จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเจ้าของแฟรนไชส์ รวมถึงการให้สิทธิ์ผู้ซื้อแฟรนไชส์ใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์ด้วย ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้หลายๆ คนเรียกว่า “แฟรนไชส์สร้างอาชีพ” ใช้เงินลงทุนต่ำหลักพันไปจนถึงหลักแสนบาท ผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องซื้อวัตถุดิบบางส่วนจากเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อความเป็นมาตรฐานของแบรนด์ เช่น แฟรนไชส์ชานมไข่มุก ลูกชิ้นปลาระเบิด ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่เกี๊ยว สเต๊ก เป็นต้น

2. Business Format Franchise

ซื้อแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์ลักษณะนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ให้สิทธิ์ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินธุรกิจเพื่อขายสินค้าหรือบริการ โดยใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้จะแตกต่างจาก Product Franchise คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ระบบการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกอย่างจากเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งระบบหลังบ้าน-หน้าบ้าน

โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ Royalty Fee และ Marketing Fee ประมาณ 3-5% ของยอดขายรายเดือนให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อที่เจ้าของแฟรนไชส์จะได้นำเงินส่วนนี้มาสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา ตัวอย่างแฟรนไชส์ระบบ เช่น 7-Eleven, คาเฟ่ อเมซอน, อินทนิล, เชสเตอร์, แดรี่ควีน, เดอะพิซซ่า คอมปะนี ฯลฯ

3. Conversion Franchise

ระบบแฟรนไชส์ที่พัฒนาจาก Business Format Franchise โดยการออกแบบระบบเพื่อเปลี่ยนร้านค้าอิสระที่มีอยู่ในระบบนั้น ๆ ให้เข้ามาร่วมในระบบแฟรนไชส์เพื่อได้ประโยชน์ร่วมกันทางการค้า และให้สิทธิจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงให้สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนธุรกิจที่มีอยู่เดิม ให้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบใหม่

ธุรกิจ Chain Store

Brand Key

ธุรกิจหรือร้านค้าที่เปิดดำเนินการมากกว่า 1 สาขาขึ้นไป จำหน่ายสินค้าและบริการเหมือนกันภายใต้ชื่อ หรือร้านค้า หรือแบรนด์เดียวกัน โดยรูปแบบดำเนินธุรกิจจะรวมศูนย์การบริหารงานไว้ส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ รูปแบบร้านค้า รูปแบบการประกอบการ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การจัดการทรัพยากรบุคคล การจัดส่งสินค้าให้ทุกสาขา

ร้านค้ารูปแบบเชนสโตร์ส่วนใหญ่จะมีภาพลักษณ์เดียวกัน ต่างกันบ้างเล็กน้อยแล้วแต่ทำเลพื้นที่ แต่มีมาตรฐานเหมือนกัน มีการจัดการรูปแบบแบบเดียวทุกสาขา เพราะส่วนกลางจะมีการสร้างระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐานเอาไว้

ลักษณะทั่วไปของการดำเนินงานของธุรกิจเชนสโตร์ คือ

  • ความรับผิดชอบและการจัดการอยู่ที่สำนักงานใหญ่ส่วนกลาง ยกเว้นการขายที่อยู่กับแต่ละสาขา
  • การบริหารงานถือว่าแต่ละสาขาเป็นศูนย์กำไร ผู้จัดการร้านเป็นผู้ดูแลการขาย ควบคุมค่าใช้จ่าย
  • พนักงานแต่ละสาขาได้รับการฝึกอบรมจากส่วนกลาง เพื่อความเป็นมาตรฐาน
  • แต่ละสาขาต้องรายงานผลการดำเนินไปยังส่วนกลาง

ตัวอย่างธุรกิจแบบเชนสโตร์ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต แม็คโคร โลตัส ร้านสุกี้ ร้านอาหารต่างๆ โรงแรม เป็นต้น

ข้อดีของธุรกิจเชนสโตร์ คือ สามารถลดต้นทุนสินค้าเมื่อสั่งซื้อในปริมาณมากๆ เมื่อต้นทุนสินค้าถูกลง ก็สามารถขายราคาต่ำได้ สร้างความได้เปรียบคู่แข่งในตลาด ดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการได้เป็นอย่างดี สร้างยอดขายและผลกำไรให้กับร้าน เหมือนกรณีพ่อค้าแม่ค้าร้านโชห่วยมักนิยมไปซื้อสินค้าจากแม็คโครมาขาย เพราะขายสินค้าราคาถูก

ข้อเสียองธุรกิจเชนสโตร์ การเปิดหลายสาขาอาจมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ต้องใช้พนักงานจำนวนมาก พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าแต่พื้นที่อาจไม่เหมือนกัน อาจส่งผลต่อรายได้

สรุปก็คือ ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างแฟรนไชส์และเชนสโตร์ คือ การรวมศูนย์บริหารและการจัดการ โดยธุรกิจเชนสโตส์จะมีการรวมศูนย์บริหารและการจัดการไว้ที่สำนักงานใหญ่ส่วนกลาง จัดหาและอบรมพนักงาน สาขามีหน้าที่ขาย ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละสาขาจะเป็นผู้จัดหาพนักงานเอง ดำเนินงานตามคู่มือของแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อให้ได้ยอดขายและกำไร

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช