ธุรกิจเราควรไปต่อ? หรือพอแค่นี้? ดูจากอะไรได้บ้าง!
ทำธุรกิจมันต้องรู้จักปรับตัว เดี๋ยวนี้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อะไรที่เคยขายดี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะขายดีตลอดไป คลื่นลูกใหม่ บางทีก็แรงจนกลบคลื่นลูกเก่าได้ หมดยุคที่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่นี่คือยุคที่ใครเร็วกว่าก็ได้เปรียบ
สำหรับใครที่กำลังท้อแท้เรื่องยอดขาย รายได้หด มีความคิดว่าธุรกิจเราควรไปต่อ? หรือพอแค่นี้? www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมแนวคิดว่าเราควรดูจากอะไรก่อนตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย
1. ดูความต้องการของลูกค้าและมูลค่าการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภคคือปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ถึงขนาดที่มีทีมวิจัยการตลาด เพื่อเก็บข้อมูลว่าอะไรคือความต้องการลูกค้า รวมไปถึงการเก็บข้อมูลแบรนด์คู่แข่งว่าตอนนี้ใครนำ ของเรามีส่วนแบ่งการตลาดเท่าไหร่
หากประเมินกันจริงถ้าอุตสาหกรรมยังมีมูลค่าการตลาดที่โตต่อเนื่องแสดงว่าธุรกิจยังพอเดินหน้าต่อได้ แต่ต้องปรับตัวเองให้เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งหากเป็นธุรกิจรายเล็กไม่มีทีมวิจัยตลาด ก็อาจสังเกตจากปริมาณลูกค้าหรือสอบถามความต้องการโดยตรง เพื่อให้ปรับตัวได้ทันท่วงทีเพื่อให้ธุรกิจยังเดินหน้าต่อได้
2.ประเมินจากคู่แข่ง
ข้อดีของการมีคู่แข่งคือทำให้เรารู้ว่า ธุรกิจนี้ยังเป็นที่ต้องการแค่ไหน หากมีคู่แข่งเปิดตัวเยอะ แสดงว่าความต้องการยังมีมาก โอกาสขายได้ยังมีสูง หรือคู่แข่งมีการขยายสาขาก็แสดงว่าโอกาสเติบโตในธุรกิจนี้ก็ยังเป็นไปได้ ยกตัวอย่าง
7-Eleven ที่ตอนนี้มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นเยอะมาก ในพื้นที่ใกล้กันบางทีเราเจอ 7-Eleven ไม่ต่ำกว่า 3 – 4 แห่ง บางทีขับรถมาทำงานวิ่งผ่าน 7-Eleven นับได้ไม่ถ้วนเลยทีเดียว นั่นแสดงว่าโอกาสทางธุรกิจยังสดใส และหากเราไม่ได้อยู่ในแวดวงค้าปลีก แต่เราเปิดร้านอาหาร ขายเครื่องดื่ม ก็สามารถใช้รูปแบบสังเกตอย่างเดียวกัน เพื่อประเมินโอกาสในการมีอยู่ของธุรกิจว่าเราควรกำหนดให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมได้
3.สังเกตจากพฤติกรรมลูกค้า
นอกเหนือจากการดูตลาด ดูจากคู่แข่งการประเมินพฤติกรรมลูกค้าก็ชี้วัดธุรกิจว่าควรอยู่ต่อหรือพอแค่นี้ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นดูว่า ลูกค้าประจำ กลับมาซื้อบ่อยแค่ไหน หรือเริ่มหาย ๆ ไปไม่กลับมา หรือ ดูว่า ยอดขายของลูกค้าประจำ อยู่ที่คนละเท่าไร มากขึ้นหรือน้อยลง เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา
ทั้งสามารถดูควบคู่ไปกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้ว่า สินค้าที่เคยขายดีที่สุดของร้านเรา ยังขายได้ดีที่สุดเหมือนเดิมหรือไม่ ในกรณีที่พบว่า ธุรกิจของเรามีลูกค้าน้อยลง ทั้งลูกค้าประจำที่ไม่ค่อยกลับมา และลูกค้าหน้าใหม่ก็ไม่มี ก็อาจจะต้องมาวิเคราะห์กันต่อถึงสาเหตุ เมื่อวิเคราะห์ได้ทีนี้ก็อยู่ที่เราว่าจะปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้อง ต้องลงทุนเพิ่ม หรือคิดว่าไม่ไหว เดินหน้าต่อไม่ได้ ก็อาจเลิกทำธุรกิจนั้นไป
4.ดูสินค้าใหม่ที่กำลังวางขายในตลาด
คล้ายกับมองเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นการเช็คว่าสินค้าเรายังตอบโจทย์ไหม หรือถ้ามีสินค้าใหม่เขามีจุดเด่นอะไรที่แตกต่างจากสินค้าที่เรามี เช่นถ้าเราขายอาหารฟาสฟู้ด แล้วจู่ๆ พบว่าอาหารสุขภาพมาแรง และคนก็นิยมมาก คำถามคือเราควรทำอย่างไร
ขั้นแรก็ต้องปรับเมนูให้สอดคล้องเช่น ออกเมนูใหม่ที่มีแคลอรี-ไขมัน น้อยลง และมีโภชนาการมากขึ้น เป็นต้น จากนั้นมาลองดูว่ายอดขายเราดีขึ้นไหม ต้นทุนเราเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ หากปรับตัวแล้วดีก็อาจเดินหน้ากิจการได้ต่อ แต่ถ้าปรับตัวแล้วไม่ดี ก็ต้องมาคิดอีกทีว่าควรหยุดแค่นี้จะดีกว่าไหม
ในยุคนี้เทรนด์ตลาดออนไลน์คือเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยกระตุ้นยอดขายได้ การขายหน้าร้านเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอกับการสร้างรายได้ คนทำธุรกิจยุคนี้ต้องมีไอเดียการขายที่ดี ต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัย จับกระแสความต้องการได้รวดเร็ว
ใครขยับตัวก่อนจะได้เปรียบ ใครนิ่งอยู่กับที่มีแต่เจ๊ากับเจ๊ง ทุกแวดวงธุรกิจต่างมีกลุ่มลูกค้าของตัวเองสำคัญคือเราจะดึงคนเหล่านี้มาเป็นลูกค้าได้อย่างไร หากคิดได้ ทำได้ ยอดขายเราก็จะดี เลิกคิดเรื่องปิดกิจการไปได้เลย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)