ธุรกิจอาหารในจีน เจ๊งยับ 3 ล้านราย วงจรอุบาทว์การแข่งราคา
ปี 2025 นอกจากเราต้องจับตาดูสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกมากน้อยแค่ไหน เราต้องติดตามดูอีกว่า สินค้าและธุรกิจจากจีนจะทะลักเข้าไทยมากน้อยแค่ไหนด้วย จากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศจีนซบเซา บวกกับการแข่งขันของธุรกิจต่างๆ ในประเทศจีนเอง โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่มีการแข่งขันกันที่ดุเดือด
ข้อมูลในปี 2024 พบว่า ธุรกิจร้านอาหารจากจีน ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับต้นๆ ทั้งในจีนและตลาดโลก เมื่อร้านอาหารในจีนมีจำนวนมาก อาวุธของแต่ละร้านที่นำมาต่อสู้กัน ก็คือ “ราคา” ขายถูก ลดราคา เพื่อดึงดูดผู้บริโภค
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ธุรกิจอาหารในจีน ประสบปัญหาหนักจากการแข่งขันราคาที่รุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มร้านหม้อไฟและหมาล่า การลดราคาสินค้าและบริการเพื่อดึงดูดลูกค้า ส่งผลให้ร้านอาหารหลายแห่งต้องปิดตัวลง
จากข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2023 ถึงตุลาคม 2024 พบว่ามีร้านหม้อไฟเปิดใหม่กว่า 160,000 แห่ง แต่กลับมีร้านหม้อไฟปิดตัวลงถึง 2,061 แห่ง นอกจากนี้ การแข่งขันราคายังส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนลดลง เช่น ร้านไหตี่เลา (Haidilao) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนลดลงจาก 105 หยวนในปี 2022 มาเป็น 97 หยวนในช่วงกลางปี 2024
ท่ามกลางเศรษฐกิจซบเซาในจีน ทำให้การเปิดร้านอาหารเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะมีการแข่งขันกันสูง นำไปสู่การลดราคากันอย่างดุเดือด บางร้านขายกาแฟ 9.9 หยวน/แก้ว หรือประมาณ 47 บาท หรือร้านอาหารที่ขายอาหารชุดสำหรับ 4 คน ราคา 99 หยวน หรือประมาณ 480 บาท เมื่อเทียบกับสมัยก่อนถือว่าถูกอย่างมาก
ข้อมูลจาก Qicchacha เป็นหน่วยงานที่จดทะเบียนในจีน ระบุว่า ปี 2024 มีจำนวนบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารในประเทศจีน ปิดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ ราวๆ 3 ล้านแห่ง โดยส่วนใหญ่ร้านอาหารที่ปิดตัวลงจะอยู่ในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และเซินเจิ้น คิดเป็นอัตราการปิดตัวของร้านอาหารในแต่ละเดือนประมาณ 10-15%
แม้แต่ธุรกิจร้านขายอุปกรณ์และเครื่องมือทำครัวมือ 2 ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เตาทำอาหาร เตาอบขนมปัง ก็ยังต้องปิดตัว แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายแล้วก็ตาม ปัญหามาจากประชาชนไม่ค่อยออกไปกินข้าวนอกบ้าน เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ ธุรกิจอาหารในจีน ไปต่อไปไหว คือ ค่าเช่า ที่แพงถึงเดือนละ 50,000 หยวน หรือประมาณ 250,000 บาท โดยทำเลอยู่ในมุมอับ คนเดินผ่านน้อย เปิดร้านมาได้ไม่กี่เดือนก็ต้องปิดตัวไป
ข้อมูลยังพบว่า ร้านอาหารจีนส่วนใหญ่จะอยู่รอดได้ประมาณไม่เกิน 500 วัน ในปักกิ่งอาจอยู่ได้ไม่ถึงด้วยซ้ำ โดยร้านอาหารในปักกิ่งสามารถทำกำไรลดลงไปถึง 88% ในช่วงครึ่งปีแรก 2024 ซึ่งร้านอาหารในจีนที่มีโอกาสเจ๊งส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารระดับกลางๆ มีสาเหตุจากรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย
ถ้าร้านอาหารที่ต้องการอยู่รอดจากการแข่งขันด้านราคา ก็ต้องต้องลดต้นทุน เปลี่ยนเมนูอาหาร โดยเฉพาะร้านหม้อไฟหลายแห่งลดราคาจนถึง 9.9 หยวน เพื่อดึงดูดลูกค้า แม้ว่ากลยุทธ์นี้จะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้า แต่กลับส่งผลกระทบต่อรายได้และความยั่งยืนของธุรกิจ
ไม่เฉพาะในจีนเท่านั้นที่ร้านอาหารจีนแข่งขันกันเองจนต้องปิดตัวลง ในไทยก็เช่นกันเมื่อปี 2023 มีนักลงทุนชาวจีนรุ่นใหม่เข้ามาลงทุนในย่านห้วยขวางเป็นจำนวนมาก ทั้งทำธุรกิจร้านอาหารหรือบริการอื่นๆ ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับคนจีนด้วยกัน จนทำให้แต่ละร้านอาหารต่างขึ้นป้ายและมีเมนูเป็นภาษาจีนแทบทุกร้าน จนมองไปเป็นสีแดงหมด จนได้รับการขนานนามเป็น “มณฑลห้วยขวาง” หรือ “ไซน่าทาวน์ ห้วยขวาง”
แต่ในปัจจุบันร้านอาหารจีนและธุรกิจจีนย่านห้วยขวางปิดตัวลงไป อาทิ ร้านอาหารจีน ร้านซูเปอร์มาร์เก็ตจีน ฯลฯ เพราะแข่งขันกันเอง บวกกับเล่นสงครามราคาเพื่อดึงดูดลูกค้า สุดท้ายก็ไปไม่รอด ต้องปิดตัวไปในที่สุด
สรุปแล้ว วงจรอุบาทว์จากการแข่งขันราคาที่รุนแรงในธุรกิจร้านอาหารจีน ส่งผลให้ร้านอาหารหลายแห่งต้องปิดตัวลง และสร้างความท้าทายให้กับผู้ประกอบการในการปรับตัว เพื่อความอยู่รอดในตลาดที่มีการแข่งขันสูง
อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3YvXaa4
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)