จริงมั้ย? ธุรกิจร้านบุฟเฟต์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

ต้องยอมรับว่าธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ ไม่ว่าจะเป็นร้านหมูกระทะ ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น-เกาหลี ร้านชาบูชาบู และอื่นๆ ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะของร้านบุฟเฟต์ คือ จัดเต็มไม่อั้นทำให้ร้านบุฟเฟต์เป็นตัวเลือกแรกๆ ของผู้บริโภคในยุคนี้

จึงทำให้มีผู้สนใจเปิดร้านอาหารบุฟเฟต์เป็นจำนวนมาก แต่รู้หรือไม่ว่าในมุมของผู้ประกอบการธุรกิจร้านบุฟเฟต์มองว่าเป็นธุรกิจปราบเซียน เจ็บตัวมาแล้วหลายราย จนอยากหนีไปทำธุรกิจอื่น วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาไขปัญหา ทำไม? ธุรกิจร้านบุฟเฟต์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

คนในอยากออก

คนในอยากออก

1.ค่าเช่าที่แพง มักเป็นปัญหาที่เจ้าของร้านอาหารบุฟเฟต์ส่วนใหญ่ต้องเจอ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวิกฤตต่างๆ ก็ตาม เพราะร้านอาหารบุฟเฟต์มักใช้พื้นที่ขนาดใหญ่รองรับลูกค้ามาใช้บริการจำนวนมาก โดยทำเลส่วนใหญ่จะอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าชั้นนำ จึงทำให้ค่าเช่าที่ในการเปิดร้านแพง ยิ่งในช่วงล็อกดาวน์แม้ร้านจะปิดก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าที่

2.การบริหารจัดการลูกจ้าง นอกจากปัญหาเรื่องค่าเช่าที่แพงแล้ว ผู้ประกอบการร้านบุฟเฟต์ยังต้องปวดหัวไปกับการบริหารจัดการพนักงานในร้าน ต้องมีการฝึกอบรมการทำงาน การบริการ การบริหารจัดการร้าน รวมถึงเมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ระบาดต้องปิดร้านอาหาร ก็ยังต้องจ่ายเงินดือนพนักงาน หรือต้องลดเงินเดือน ทำให้เป็นปัญหากับผู้ประกอบการ

1

3.ลูกค้าตักเยอะทานไม่หมด เป็นอีกปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งสำหรับการทำธุรกิจร้านบุฟเฟต์ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่จะตักไม่พอดีกับปริมาณที่ตัวเองทาน เมื่อตักมาเยอะๆ เมนูหลายๆ อย่าง สุดท้ายก็ทานไม่หมด กลายเป็นต้นทุนที่สูญเสียให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟต์ ซึ่งหากจะปรับเงินเพิ่มก็อาจจะเสียลูกค้า

4.สินค้าและวัตถุดิบแพง ร้านอาหารบุฟเฟต์มักจะเจอกับปัญหาต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น ถ้าจะปรับราคาตามต้นทุนวัตถุดิบก็กลัวว่าจะไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ เมื่อไม่ปรับราคาขึ้น ก็ต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่าย จนต้องขาดทุน

5.เหนื่อย ผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟต์มักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า โคตรเหนื่อยมากๆ ขายดีก็เหนื่อย ขายไม่ได้ก็เหนื่อย เพราะเมื่อขายดีก็ต้องบริหารจัดการในเรื่องวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า แต่ถ้าขายไม่ดี ของเหลือ ก็ต้องบริหารจัดการสต็อกและจัดการของเสีย บางร้านเมื่อของเหลือก็ต้องทิ้ง ซึ่งจะทำให้ขาดทุนได้

คนนอกอยากเข้า

2

1.คนนิยมทานบุฟเฟต์ เพราะลูกค้าชอบความคุ้มค่า เมนูหลากหลาย อีกทั้งสามารถควบคุมงบประมาณเงินในกระเป๋าได้ว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่ เพราะรู้ราคาล่วงหน้ามาก่อนแล้ว จึงทำให้บุฟเฟต์สามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี

2.ตั้งราคาขายได้ง่าย ร้านอาหารบุฟเฟต์ส่วนใหญ่มักจะตั้งราคาให้ลงท้ายด้วย เลข 9 ไม่ว่าจะเป็น 199 บาท, 239 บาท, 299 บาท, 399 บาท ฯลฯ ซึ่งราคานี้ยังไม่รวมค่าเครื่องดื่ม ซึ่งอาจตั้งไว้ที่ 49 บาท จึงช่วยให้ร้านบุฟเฟต์สามารถเช็คบิลได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนกับร้านอาหารตามสั่งหรือร้านอาหารทั่วๆ ไป ที่มีเมนูอาหารและราคาที่ต่างกัน

4

3.ขายได้ทั้งในร้านและเดลิเวอรี่ ร้านอาหารบุฟเฟต์ในปัจจุบันสามารถให้ลูกค้านั่งทานในร้านได้ และบริการจัดส่งลูกค้าเดลิเวอรี่ถึงบ้าน จะช่วยให้ผู้ประกอบการร้านบุฟเฟต์มีรายได้หลากหลายช่องทาง จึงทำให้ร้านบุฟเฟต์ได้รับความนิยม

4.มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน แน่นอนว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านบุฟเฟต์ ก็คือ กลุ่มคนที่ชอบกินจุ ชอบความคุ้มค่า ชอบเมนูอาหารหลากหลาย ทำให้สามารถบริหารจัดการเรื่องของสินค้าและวัตถุดิบได้ง่าย รวมถึงสามรถจัดโปรโมชั่นต่างๆ ภายในร้านได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ ทำให้มีรายได้ต่อเนื่อง

5.ลูกค้าบริการตัวเองได้ ร้านอาหารบุฟเฟต์หลายๆ ร้าน จะมีพนักงานคอยบริการให้ลูกค้า แต่ถ้าเราเปิดร้านบุฟเฟต์ก็สามารถให้บริการในรูปแบบแบบลูกค้าบริการตัวเอง หรือบางเมนูเราก็บริการให้ลูกค้าควบคู่กันไป จะได้ประหยักค่าใช้จ่ายในเรื่องของการจ้างพนักงานในร้านเพิ่ม อีกทั้งลูกค้าอาจจะชอบบริหารตัวเอง ไม่ต้องคอยเรียกพนักงานให้เสียเวลา

นั่นคือ เหตุผลที่ว่า จริงมั้ย? ธุรกิจร้านบุฟเฟต์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

SMEs Tips

คนในอยากออก

  • ค่าเช่าที่แพง
  • การบริหารจัดการลูกจ้าง
  • ลูกค้าตักเยอะทานไม่หมด
  • สินค้าและวัตถุดิบแพง
  • เหนื่อย

คนนอกอยากเข้า

  • คนนิยมทานบุฟเฟต์
  • ตั้งราคาขายได้ง่าย
  • ขายได้ทั้งในร้านและเดลิเวอรี่
  • มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน
  • ลูกค้าบริการตัวเองได้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3L3J0oU

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช