ธุรกิจปี 2022! จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2022 ท่ามกลางสถานการณ์ที่เราเพิ่งผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งตอนนี้ตัวเลขแม้จะดีขึ้น แต่ก็ยังไว้วางใจไม่ได้กับสายพันธุ์โอมิครอนที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นการระบาดระลอกใหม่หรือไม่

ซึ่งการทำธุรกิจต่าง ๆก็ควรมีแผนสำรองสำหรับยามฉุกเฉิน และแน่นอนว่าการแพร่ระบาดของโควิดในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมาทำให้แนวโน้ม เทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าคนส่วนใหญ่อยากมีข้อมูลที่รู้ล่วงหน้าว่าปี 2022 เทรนด์ของธุรกิจจะมีอะไรมาแรงและมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

ผลกระทบจากโควิดที่มีต่อธุรกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ธุรกิจปี 2022

ภาพจาก www.freepik.com

นิตยสาร The Economist ได้คำนวณว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2563-2564 ที่สูญเสียไปจากการระบาดของโควิด-19 คิดเป็นเงินมากถึง 10.3 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนในปี 2564 คาดว่าโควิด-19 จะยังทำให้จีดีพีโลกลดลงไปอีก 5.3% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ในกรณีปกติ จึงคำนวณความสูญเสียออกมาได้เท่ากับ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ แค่ 2 ปีเสียหายไป 10.3 ล้านล้านไม่ใช่มีเพียงเท่านี้

ธนาคารโลกคาดว่าผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจโลกจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปในปี 2565 โดยจีดีพีโลกจะยังต่ำกว่าระดับปกติอยู่ประมาณ 4.4% และคาดว่าผลกระทบที่มีต่อการลงทุนและทรัพยากรมนุษย์จะทำให้ศักยภาพของเศรษฐกิจโลกในอนาคตลดต่ำลง

นอกจากนั้น หนี้ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณก็จะเป็นข้อจำกัดสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอีกหลายปีข้างหน้า ในส่วนของประเทศไทยข้อมูลการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ว่างงานกว่า 7.5 แสนคน ซึ่งสูงกว่าปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันถึงเกือบเท่าตัว แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้คือการปรับตัว เรียนรู้เทรนด์การลงทุนในโลกยุคใหม่ใบเดิม เพื่อให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตได้มากขึ้น

เทรนด์ธุรกิจที่จะอยู่รอดในปี 2022

ธุรกิจปี 2022

ภาพจาก www.freepik.com

ข้อมูลน่าสนใจระบุว่า ธุรกิจที่ล้มหายตายจากไปในช่วงที่ผ่านมา 42% คือธุรกิจที่ไม่ตอบโจทย์ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนอีก 29% เป็นธุรกิจที่เงินทุนหมดไม่มีเงินทุนสำรองประคับประคองธุรกิจต่อไป ส่วนอีก 23% เป็นธุรกกิจที่หาลูกค้าไม่เจอ ทำการตลาดไม่เป็น เข้าถึงผู้บริโภคไม่ได้

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจปี 2022 คือมีการวางแผนธุรกิจที่ชัดเจนรู้จุดแข็งของตัวเองและรู้ว่าจะทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้อย่าง ลูกค้าอยู่ที่ไหน นอกจากสินค้าดีแล้ว ยังต้องทำการตลาดให้เป็นด้วย ที่สำคัญคือการบริหารการเงินให้รอบคอบ ระวังเงินทุนหมดก่อนที่จะประสบความสำเร็จ

และสิ่งหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากคือการมีคู่แข่งธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น เพราะนับแต่นี้เด็กยุคใหม่จะก้าวเข้าสู่วงการธุรกิจมากขึ้น ตัวเลขน่าสนใจระบุว่า ผู้ประกอบการหลักนั้นยังคงเป็นคนอายุ 50-59 ปี รองลงมาคือ 40-49 ปี ตามมาด้วยผู้ประกอบการวัยเก๋า 60-69 ปี และ 30-39 ปี 18-29 ปีตามลำดับ

5 ความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในปี 2022 ที่ชัดเจน

การแพร่ระบาดของโควิดทำให้ทิศทางของธุรกิจเปลี่ยนรูปแบบมากขึ้นเชื่อว่าในปี 2022 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับการทำธุรกิจมีดังนี้

1.เน้นการทำธุรกิจที่บ้านมากขึ้น

ธุรกิจปี 2022

ภาพจาก www.freepik.com

ในช่วงที่ไวรัสระบาด หลายคนต้องอยู่บ้าน หลายคนมีไอเดียใหม่ๆ จากการอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้เราได้เห็นการทำธุรกิจเล็กๆ จากที่บ้านหรือแม้แต่ตอนนี้การปรับตัวของธุรกิจใหญ่ที่มีการบริหารงานจากที่บ้านกันมากขึ้น

2.สามารถทำธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา

ธุรกิจปี 2022

ภาพจาก www.freepik.com

โลกของอินเทอร์เนตที่มาแรงและกลยุทธ์ต่างที่พัฒนามากขึ้น ทำให้มีนวัตกรรมที่ให้เราไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหน มุมไหนของโลกก็สามารถทำธุรกิจได้ นั่นคือเทรนด์การทำธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงมีโอกาสเกิดขึ้นของนักธุรกิจที่อายุน้อยเพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วย

3.การช็อปปิ้งออนไลน์

ธุรกิจปี 2022

ภาพจาก www.freepik.com

เทรนด์การตลาดของธุรกิจปี 2022 ต้องไปเน้นที่ช็อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการช็อปตลาดออนไลน์นี้อันเป็นผลมาจาก 2 ปีของการแพร่ระบาดโควิดที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนนำไปสู่การทำธุรกิจที่ต้องยึดแนวคิดนี้เป็นหลักด้วย

4.ปีทองของบรรดาฟรีแลนด์

ธุรกิจปี 2022

ภาพจาก www.freepik.com

การแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมาทำให้งานของฟรีแลนด์มีความชัดเจนมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่การทำงานมุ่งที่การเข้าออฟฟิศเป็นหลักแต่นับจากนี้การจ้างงานไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเป็นพนักงานประจำอีกต่อไป แต่เทรนด์การทำงานแห่งโลกอนาคตคือการจ้างงานไม่ประจำ ทั้งการจ้างรายโปรเจกต์ ฟรีแลนซ์ เอาท์ซอร์ส จ้างรายซีซัน เป็นต้น ผู้ประกอบการเองก็มองหาแรงงานที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ผูกมัดอีกต่อไป

5.โมเดลสมาชิกแบบ Subscription

ธุรกิจปี 2022

ภาพจาก www.freepik.com

อีกหนึ่งโมเดลธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมคือการสมาชิกแบบ Subscription ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินดูหนังรายเดือน ฟังเพลงรายเดือน การกินกาแฟรายเดือน กระดาษทิชชู่ เสื้อผ้าแบบให้เช่า ธุรกิจอาหารและขนม โปรแกรมการทำงานต่างๆ หลายธุรกิจปรับตัวมาเป็นโมเดลนี้เพื่อเสริมยอดขายให้มากขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นภาพเบื้องต้นของทิศทาง ธุรกิจปี 2022 แต่หากจะเจาะลึกในรายละเอียดก็เชื่อว่ายังมีปลีกย่อยให้พูดถึงอีกมาก แต่ใจความหลักๆของโลกธุรกิจจะเอาบรรทัดฐานเดิมๆ มาใช้ไม่ได้อีกต่อไป การทำธุรกิจแบบเก่าจะหายไป ธุรกิจยุคใหม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

ที่สำคัญธุรกิจต้องมุ่งหาลูกค้าหมดเวลาที่รอให้ลูกค้าเข้ามาหาเราเอง เพราะยุคนี้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น ธุรกิจไหนที่ปรับตัวไม่ได้ก็มีแต่เจ๊ง กับเจ๊ง เท่านั้น

 

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3B4gUD2 , https://bit.ly/3E7F8OD , https://bit.ly/2ZlT6Od , https://bit.ly/3GahS4p

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sViNlj


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด