ธุรกิจถุงเท้า ของใช้ที่คนยิ่งทิ้ง คนขายยิ่งรวย สร้างรายได้ 400 ล้านบาท

การเริ่มต้นธุรกิจหลายคนมองแต่ภาพรวมใหญ่ๆ มองแต่สินค้าที่คนทั่วไปพูดถึง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า เป็นต้น แต่ถ้าบอกว่า “เราจะขายถุงเท้า” คนส่วนมากน่าจะบอกว่า “เราคิดผิด” เพราะไม่เชื่อว่า “ถุงเท้า” จะสร้างรายได้ที่ดีนัก

แต่ในความเป็นจริง ถุงเท้ามีจำนวนการใช้ที่เยอะมากตัวเลขประมาณการคือ 10-12 คู่/คน/ปี เพราะว่าถุงเท้าถือเป็นสินค้าแฟชั่นแบบหนึ่ง ที่มักจะมีการใช้โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา คนวัยทำงาน คนออกกำลังกาย ต่างๆ เป็นต้น

แถมถุงเท้าในกลุ่มลูกค้าสตรียังเป็นสินค้าที่เลือกให้เข้าคู่กับรองเท้าได้อีกด้วย ในประเทศไทยก็มีผู้ผลิตถุงเท้าอยู่หลายยี่ห้อ และที่น่าแปลกคือบริษัทเหล่านี้มักมีประวัติมายาวนาน

ซึ่ง www.ThaiSMEsenter.com มองว่าถุงเท้าเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ขายดีเพราะมีการใช้แล้วทิ้ง เปลี่ยนแปลงบ่อย เข้าทางผู้ผลิตที่คนยิ่งทิ้ง ก็ยิ่งขายดีมากขึ้น

รายได้ดีแค่ไหนในอุตสาหกรรม “ถุงเท้า”

ธุรกิจถุงเท้า

ภาพจาก facebook.com/CarsonCollectionTH

ถุงเท้าในเมืองไทยมีมีหลายแบรนด์ แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง คงต้องพูดถึง Carson ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน ธุรกิจของ Carson ก่อตั้งเริ่มตั้งแต่ปี 2516 โดยคุณสุพจน์ ศรีโรจนันท์ ที่ยุคนั้น เป็นช่วงที่อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยกำลังเฟื่องฟู ใช้ชื่อบริษัทในขณะนั้นว่า สหไทยพัฒนภัณฑ์ โดยเริ่มต้นใช้กรรมวิธีการทอที่มีคุณภาพสูงจากประเทศญี่ปุ่น ที่เน้นสินค้าให้มีความยืดหยุ่น มีรูปทรงที่แข็งแรงไม่ย้วยง่าย กลายมาเป็นสโลแกนติดปากทุกวันนี้ว่า Carson ฟอร์มดีไม่มีย้วย

เหตุผลที่ธุรกิจถุงเท้ายังปรับตัวให้อยู่รอดได้ทุกยุคสมัยแม้สังคมจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงแค่ไหนก็ตาม คือการปรับสินค้าให้ถูกใจลูกค้าต่อเนื่อง มีสินค้าให้เลือกหลายแบบ ทั้งถุงเท้าเด็กในวัยต่างๆ ถุงเท้านักเรียน ถุงเท้าทำงาน รวมถึงนวัตกรรมที่ใช้ในการผลิตถุงเท้าที่ดียิ่งขึ้นแช่น ผลิตถุงเท้าด้วยเส้นใยแอนตี้แบคทีเรีย เพื่อลดกลิ่นอับชื้น เมื่อต้องใส่ถุงเท้าเป็นเวลานาน เป็นต้น หรือการเพิ่มลวดลายการ์ตูน หรือสีสันลงในถุงเท้าเพื่อให้ดูมีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น เพื่อจะเลือกใส่สู่กับชุดไหนอย่างไรก็ได้

รายได้ของการขายถุงเท้าอย่างแบรนด์ Carson ก็ถือว่าไม่ธรรมดาประมาณ 455 ล้านบาทต่อปี แม้ในความจริงจะมีสินค้าหลายชนิดที่ผนวกรวมกันเป็นยอดขาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Carson เริ่มสร้างแบรนด์มาจากถุงเท้า ส่วนการต่อยอดไปเป็นสินค้าอื่นนั้นก็หลังจากถุงเท้าได้รับความนิยมและเป็นแบรนด์ที่ฮิตติดใจคนไทยไปแล้ว

ออกแบบถุงเท้าลายกันลื่นรูปตัวการ์ตูน เจ้าแรกในประเทศ

ธุรกิจถุงเท้า

ภาพจาก facebook.com/carsonthailand/

ความคิดสร้างสรรค์ของ Carson คือสูตรเด็ดที่ทำให้บริษัทเติบโตต่อเนื่อง เริ่มจากผลิตถุงเท้าพื้นเทากันเปื้อนเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ซึ่งต่อมามีการพัฒนาไอเดียด้วยการทำลายกันลื่นรูปตัวการ์ตูน

ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกในประเทศที่คิดค้นรูปแบบสินค้านี้ ตัวการ์ตูนที่ฮิตมาก็คือ en 10 ซึ่งคาร์สันติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ตรงจาก Cartoon Network เป็นสีสันที่ทำให้การไปโรงเรียนของเด็กๆ สนุกสนานมากขึ้น

จนได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมจาก Cartoon Network เพราะเป็นสินค้าแบรนด์เจ้าแรกๆ ที่นำตัวการ์ตูนเข้าไปในโรงเรียนได้สำเร็จ ก่อนจะตามมาด้วยคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น Disney Princess, Pony Marvel เป็นต้น

ธุรกิจถุงเท้า

ภาพจาก facebook.com/carsonthailand/

เมื่อถุงเท้ากลายเป็นสินค้าฮิตติดตลาดคนจำได้ ก็เริ่มมาต่อยอดเป็นสินค้าอื่น โดยตั้งใจพัฒนาสินค้าตอบโจทย์ความเป็นครอบครัว ภายใต้คอนเซปต์ นุ่ม สบาย สินค้าตัวต่อมาคือชุดชั้นชายคาร์สัน ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้ามาก มีการวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ จากนั้นก็พัฒนาเป็น Carson Kids แบรนด์ชุดชั้นในเด็ก และกำลังเป็นแบรนด์ที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับคาร์สัน

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่องว่างการตลาดที่ไม่ค่อยมีแบรนด์ไหนลงเล่นในสนามสินค้าสำหรับเด็กอายุ 3 – 13 ปี และที่สำคัญ ผู้ปกครองไว้ใจในคาร์สันอยู่แล้ว และทุกวันนี้คาร์สันมีสินค้าที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนจำนวนมากนอกจากถุงเท้าทั่วปไป ยังมีถุงเท้าทำงาน ชุดนอน ชุดชั้นใน และสินค้าสำหรับเด็กต่างๆ ด้วย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำธุรกิจ

ธุรกิจถุงเท้า

ภาพจาก facebook.com/CarsonCollectionTH

  1. นำเสนอสินค้าเข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยวิธีผู้บริโภคพูดกับผู้บริโภค ใช้ภาษาง่ายๆ ในการสื่อสาร
  2. นำเสนอสินค้าผ่านคาแรคเตอร์นักแสดงวัยรุ่นเพื่อกระตุ้นให้เห็นว่าสินค้านั้นตามเทรนด์ตลอดเวลา
  3. ต้องมีความคิดนอกกรอบ คิดหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า
  4. ให้ความสำคัญกับพนักงานทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ระดมความคิดของพนักงานทั้ง 2 รุ่นในการพัฒนาสินค้า
  5. พัฒนาสินค้าให้มีราคาที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่ม

ซึ่งจะเห็นได้ว่าในตลาดนัดบางแห่งก็มีการขายสินค้าอย่างถุงเท้าแฟชั่น ซึ่งบางส่วนก็เป็นสินค้าของคาร์สันเช่นกันซึ่งในโลกของถุงเท้าแฟชั่นราคาประหยัดอย่างร้านแบกะดินและตลาดนัดออฟฟิศซึ่งเป็นแหล่งขายถุงเท้าในราคา 3 คู่ 4 คู่ 5 คู่ 100 บาท ที่ไม่มีการทำแบรนด์ของคาร์สันชัดเจนเพราะต้องการให้ลูกค้าทั่วไปได้ใช้ถุงเท้ามีคุณภาพในงบประมาณจำกัด

ธุรกิจถุงเท้า

ภาพจาก facebook.com/CarsonCollectionTH

สิ่งที่เห็นได้ชัดจากธุรกิจของคาร์สันคือคาแรคเตอร์ในตัวเองที่ชัดเจน และจุดยืนที่มั่นคง เมื่อธุรกิจวางคอนเซปต์ตัวเองได้ชัดจะทำให้การบริหารงานนั้นเดินหน้าได้ง่าย ต่างจากหลายธุรกิจที่ไม่มีความเป็นตัวเอง

เห็นใครดีก็ทำตาม อันไหนดูดีกว่าก็จะทำแบบนั้น สุดท้ายกลายเป็นธุรกิจที่ไม่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง จึงทำการตลาดได้ยาก โอกาสที่จะเติบโตก็ยากเช่นกัน กรณีของคาร์สันจึงถือเป็นต้นแบบการทำธุรกิจที่ควรยกเอาเป็นตัวอย่าง

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3H0TEK3 , https://bit.ly/3FUTmDd

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3g7V09T

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด