“ท่องเที่ยวแบบออแกนิค” ดีต่อกาย ดีต่อใจ
ปัจจุบันนี้การท่องเที่ยวก็มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ซึ่งก็ดูแปลกใหม่กว่าแต่ก่อนมาก อีกทั้งยังตอบสนองวิถีชีวิตของคนในยุคนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น คาเฟ่สัตว์เลี้ยงที่ทำมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนรักสัตว์
แต่ปัจจัยในชีวิตไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงสัตว์ การท่องเที่ยวแบบ Solo Travel ที่เกิดขึ้นจากการที่นักท่องเที่ยวชอบเดินทางคนเดียวมากขึ้น หรือการท่องเที่ยววิถีชุมชนที่เน้นสัมผัสความเป็นชุมชนพื้นบ้านอย่างใกล้ชิด
ภาพจาก bit.ly/2JDUH73
และนอกจากนี้ ยังมีการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ “การท่องเที่ยวแบบออแกนิค” ซึ่งฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับการท่องเที่ยวซักเท่าไหร่ ฟังแล้วนึกถึงอาหารการกินเพื่อสุขภาพซะมากกว่า ถ้าอย่างงั้นแล้ว ทำไมถึงเรียกการท่องเที่ยวประเภทนี้ว่าการท่องเที่ยวแบบออร์แกนิคล่ะ?!
การท่องเที่ยวแบบออร์แกนิคนั้น ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายก็คือการท่องเที่ยวในแหล่งฟาร์ม หรือไร่เพาะปลูกที่นักท่องเที่ยวจะได้เยี่ยมชมไร่เพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร และแหล่งท่องเที่ยวออร์แกนิคบางแห่งยังให้นักท่องเที่ยวสามารถเก็บผลผลิตด้วยตัวเองและนำกลับบ้านไปทานได้อีกด้วย ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวออร์แกนิค
ภาพจาก bit.ly/331jPMB
โดยส่วนมากนั้นนอกจากจะมีผลผลิตทางการเกษตรให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้แล้ว ยังเตรียมบรรยากาศเอาไว้ให้เหมาะสมสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย และเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยวแบบออร์แกนิคขึ้นมานั้น ส่วนหนึ่งก็เกิดมาจากความนิยมในการดูแลสุขภาพและความใส่ใจในอาหารการกินของคนในยุคปัจจุบันนี้นั่นเอง
แต่การท่องเที่ยวแบบออร์แกนิคนั้น นอกจากจะมีบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่แล้ว ยังเป็นส่วนที่ช่วยเชื่อมต่อระหว่างต้นน้ำ คือ เครือข่ายเกษตรกร กับปลายน้ำ คือผู้บริโภคที่บริโภคผลผลิตทางเกษตรจากไร่นั้นๆ ส่วนนักท่องเที่ยวนั้นก็เป็นเหมือนกลางน้ำที่มีส่วนขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจออร์แกนิคด้วยการมาท่องเที่ยวในไร่เพาะปลูกหรือในฟาร์ม เป็นการส่งเสริมรายได้เกษตรกรที่ปลูกพืชออร์แกนิคในอีกทางหนึ่ง
ภาพจาก bit.ly/2qZRCYC
โดยการเชื่อต่อระหว่างต้นน้ำกับปลายนี้ที่ว่านี้ก็คือการดำเนินธุรกิจแบบ B2C เช่น การทำ Farm Tour จัด Farmer’s Market ซึ่งนำผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันโดยตรง นอกจากนี้แล้วธุรกิจการทำไรเพาะปลูกแบบออร์แกนิคยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ในรูปแบบ B2B ที่จะนำเอาผลิตภัณฑ์จากไร่ไปใช้ในการประกอบอาหารในโรงแรมหรือร้านอาหาร อีกด้วย
และในตอนนี้ การทำการท่องเที่ยวและการทำธุรกิจแบบออร์แกนิคก็ได้รับการส่งเสริมจากกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม ฟู้ดแล็บหรือ แล็บอาหารยั่งยืน ประเทศไทย ที่ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบออร์แกนิคที่เรียกว่า “ออร์แกนิค ทัวร์ ริซึ่ม” หรือการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ที่จะให้ผู้ประกอบการ โรงแรม หรือร้านอาหารมาเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีออร์แกนิคซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการสนับสนุนเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเป็นการสนับสนุนให้ดำเนินธุรกิจโดยใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม และพิธีพิถันต่ออาหารที่ทำให้ลูกค้ารับประทานเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของลูกค้าและผู้ใช้บริการ
ผู้ว่าการ ททท.และผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรต่างๆ ร่วมกำหนดทิศทางการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์
ภาพจาก bit.ly/332ApMe
โดยสรุปแล้ว การท่องเที่ยวแบบออร์แกนิคก็คือการท่องเที่ยวในเชิงเกษตรที่นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเกษตร และได้มีส่วนร่วมในการเกี่ยวเกี่ยวผลผลิตด้วยตัวเอง แต่นั่นก็ไม่ใช้ข้อดีเพียงอย่างเดียวของการท่องเที่ยวประเภทนี้
แต่ยังเรียกได้ว่ามันเป็นแนวการยกระดับอาชีพเกษตรให้มีรายได้หลายทางที่นอกเหนือไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายเพียงอย่างเดียว โดยเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
ภาพจาก bit.ly/2pjePEK
รวมไปถึงการนำผลผลิตออร์แกนิคไร้สารพิษไปยังเหล่าร้านอาหารและโรงแรมเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทานอาหารที่ปลอดสาร ดีต่อสุขภาพอีกด้วย เรียกได้ว่านอกจากจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรแล้วยังเป็นการใส่ใจต่อผู้บริโภคและเพิ่มเติมการท่องเที่ยวให้มีสีสันได้อีกด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9
แหล่งที่มา