ทีมไหน! เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้ vs แฟรนไชส์ซี หาทำเลเอง
ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ มีการช่วยผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ ด้วยการวิเคราะห์และหาทำเลเปิดร้านให้ ขณะที่อีกหลายๆ แบรนด์เช่นเดียวกันจะให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์หาทำเลเปิดร้านเอง แล้วนำเสนอให้แบรนด์แฟรนไชส์พิจารณา ทั้งสองแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร มาดูกัน
เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้
ข้อดี
- ไม่เหนื่อย ไม่เสียเวลาในการหาทำเลเอง
- ได้รับการพิจารณาเปิดร้านได้เร็ว เพราะมีทำเลรองรับอยู่แล้ว
- ได้ทำเลทองที่ผ่านการวิเคราะห์และพิจารณาจากเจ้าของแฟรนไชส์แล้ว
- อาจได้ค่าเช่าราคาถูกกว่าหาทำเลเอง เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ต่อรองเจ้าของพื้นที่ให้
ข้อเสีย
- เจ้าของแฟรนไชส์มีอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยบวกกับค่าแฟรนไชส์
- อาจได้ทำเลเปิดร้านไม่โดนใจ ไกลที่พักอาศัยของตัวเอง
แฟรนไชส์ซี หาทำเลเอง
ข้อดี
- ได้ทำเลโดนใจ ใกล้บ้าน
- รู้ว่าทำเลเปิดร้านมีโอกาสขายได้ จากการลงสำรวจของตัวเอง
- ได้ค่าเช่าถูก หรือไม่ได้เสียค่าเช่า กรณีรู้จักเจ้าของพื้นที่ หรือเป็นที่ของตัวเอง
ข้อเสีย
- เหนื่อย เสียเวลาในการวิเคราะห์และหาทำเลเปิดร้านเอง
- มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หาทำเล
- ทำเลที่นำเสนอ อาจไม่ได้รับการพิจารณาจากเจ้าของแฟรนไชส์ ทำให้เสียโอกาส
- เปิดร้านได้ช้า ต้องรอทางเจ้าของแฟรนไชส์พิจารณาทำเลเปิดร้าน
เคล็ดลับในการหาทำเลเปิดร้าน ลูกค้าไม่ขาดสาย
1.ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มลูกค้า
สิ่งแรกที่ต้องทำในการเลือกทำเลเปิดร้าน คือ การลงพื้นที่สำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อายุ เพศ อาชีพ รายได้ ความหนาแน่นของประชากร พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย เมื่อรู้ข้อมูลเหล่านี้จะรู้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์เหมาะสมกับทำเลนั้นหรือไม่
2.การสัญจรของลูกค้า
ทำเลเปิดร้านที่ดีต้องอยู่ติดกับทางสัญจรของลูกค้า ไม่ใช่ว่านานๆ ทีมีรถผ่านคันเดียว หรือคนเดินผ่าน 4-5 คน แบบนี้ก็ขายไม่ได้แน่นอน ก่อนเปิดร้านควรลงพื้นที่สำรวจให้เห็นกับตาเลยว่า ภาพรวมสถานที่เป็นยังไง มีที่จอดรถ การเดินทางสะดวกหรือไม่ รวมถึงมีคนสัญจรผ่านไปมาตลอดเวลาหรือเปล่า
3.มองเห็นง่าย เข้าถึงสะดวก
ทำเลทองต้องมีที่จอดรถ การเดินทางสะดวก เข้าถึงง่าย ที่สำคัญร้านต้องไม่มีอยู่มุมอับ เปิดร้านแล้วต้องโดดเด่น มองเห็นได้ชัดเจน ถึงจะดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ก่อนเปิดร้านลงพื้นที่สำรวจด้วยตัวเองว่า ถ้าเปิดร้านแล้วมองเห็นชัดเจนหรือไม่
4.สำรวจคู่แข่งขันในพื้นที่
เปิดร้านแล้วจะขายได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคู่แข่งขันในพื้นที่ด้วย สำรวจดูว่าพื้นที่จะเปิดร้านมีคู่แข่งธุรกิจเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีร้านธุรกิจเดียวกันเยอะจะทำให้แข่งขันรุนแรง แย่งลูกค้ากันเอง ถ้าคู่แข่งธุรกิจเดียวกันน้อย จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ดีกว่าคู่แข่งมาก
5.ค่าเช่าพื้นที่เปิดร้าน
ธุรกิจแฟรนไชส์จะมีรายได้และอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับค่าเช่าพื้นที่ในการเปิดร้านด้วย เปิดในห้างจะมีค่าเช่าแพงกว่านอกห้าง ถ้าจะเปิดในห้างต้องดูว่าเหมาะสมกับธุรกิจตัวเองด้วยหรือไม่ บางธุรกิจไม่เหมาะกับในห้าง ถ้าค่าเช่าแพงก็ต้องเปรียบเทียบหลายๆ พื้นที่ วิเคราะห์การสัญจรและทราฟฟิกของลูกค้าประกอบอีกที
6.วิเคราะห์แนวโน้มทำเล
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก่อนเลือกทำเลเปิดร้าน คือ แนวโน้มการพัฒนาของทำเลในพื้นนั้นๆ มีโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ถนนหนทางเพิ่มขึ้นหรือไม่ การขยายตัวของผังเมือง ความเจริญเติบโตของพื้นที่ สภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น
นั่นคือ ข้อดี-ข้อเสีย ระหว่าง เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้ กับ ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ หาทำเลเปิดร้านเอง คนที่อยากซื้อแฟรนไชส์ต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเอง หาทำเลเองอาจเปิดร้านได้ช้าหรือไม่ได้รับการพิจารณา หรืออาจได้ค่าเช่าถูก หรือไม่มีค่าเช่าเลยก็ได้ เพราะเป็นทำเลของตัวเอง หรือเป็นของคนรู้จัก ที่สำคัญทำเลต้องเหมาะสมกับแฟรนไชส์ที่เปิดด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)