ทำไม? Ikea และ Nike ต้องออกจาก Amazon

เมื่อ แบรนด์สำคัญๆ ระดับโลก อย่าง Ikea และ Nike ประกาศออกจากแพลตฟอร์มการขายระดับโลกอย่าง Amazon นั่นจึงหมายถึง 2 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ กำลังมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน

แล้วทำไม Ikea และ Nike ต้องออกจาก Amazon วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

เหตุผล Nike บอกเลิกกับ Amazon

ต้องออกจาก

ภาพจาก bit.ly/2PC2mEX , bit.ly/38ca1lU

หากย้อนกลับไปในปี 2017 Nike ต้องการแก้ปัญหาสินค้าปลอมให้กับลูกค้า จึงนำเอาสินค้าไปผูกกับบริการ Amazon Retail ทำให้ลูกค้าเมื่อต้องการสินค้าของ Nike สามารถสั่งผ่าน Amazon ได้โดยตรง

แต่ล่าสุด Nike มองว่ากลยุทธ์แบบนี้ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้ว เพราะเอาเข้าจริงการขายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้าในยุคนี้ Nike สามารถคุมได้เองแล้ว ไม่ต้องไปพึ่งคนอื่น/คนกลางแต่อย่างใด

วิธีการแบบนี้เรียกว่าเป็น DTC หรือ Direct to Consumer ที่แบรนด์ในโลกยุคใหม่จะทำการตลาดโดยตรงกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง หนึ่งตัวอย่างที่โดดเด่นคือแบรนด์รองเท้าขนแกะ Allbirds

15

ภาพจาก bit.ly/2DTd44J

การออกจาก Amazon ของ Nike ดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่ แต่จริงๆ ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจอะไร เพราะถ้าติดตาม Nike มาสักพักจะเห็นความเคลื่อนไหวไปในทำนองนี้อยู่แล้ว ปัญหาใหญ่สุดของ Nike บนแพลตฟอร์ม Amazon คือ การไม่สามารถควบคุม Marketplace อย่าง Amazon ได้ ต้องทำตามกฎของเจ้าของแพลตฟอร์มเท่านั้น

ล่าสุด Nike ก็เพิ่งจ้างอดีตซีอีโอ eBay เข้ามาทำงานในบริษัท ความน่าสนใจของ Nike หลังจากนี้คือ กลยุทธ์ออนไลน์ของ Nike น่าจะดีขึ้น โดยที่ไม่ต้องพึ่งคนอื่นมากนัก เพราะทั้งแยกออกมาทำเอง ไม่พึ่ง Amazon และมีผู้บริหารที่เชี่ยวชาญมาร่วมทีมด้วย

14

ภาพจาก bit.ly/2PlXsMb

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Nike จะยกเลิกการขายสินค้าโดยตรงกับ Amazon แต่ความสัมพันธ์ยังราบรื่นอยู่ เพราะ Nike บอกว่าจะยังใช้ Amazon Cloud (AWS) สำหรับบริการเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นของแบรนด์ต่อไป

ถึงที่สุดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรเข้าใจผิดคือ แม้ Nike จะยกเลิกการขายสินค้าโดยตรงกับ Amazon ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีสินค้าของ Nike อยู่บนแพลตฟอร์ม Amazon แต่อย่างใด เพราะจะมีคนเข้าไปขายอยู่แล้ว

เหตุผล Ikea ต้องเดินออกจาก Amazon

13

ภาพจาก bit.ly/2Yubqjy

สาเหตุที่ Ikea ต้องออกจาก Amazon อาจเป็นเพราะประสบปัญหาด้านราคาต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ก็ได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตสินค้าของ “IKEA” ที่ผลิตในจีนอีกด้วย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น “IKEA” จึงผุดไอเดียรูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้นมา ด้วยการปรับเปลี่ยนโมเดลการตลาดแบบดั้งเดิม

จากที่เน้นการผลิตและจำหน่ายสินค้า เป็นการขยายธุรกิจบริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ โดยจะเริ่มต้นบริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์สำหรับสำนักงาน และจะขยายต่อสู่บริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องครัวต่อไป เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของความกังวลของต้นทุนในการผลิต และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเฟอร์นิเจอร์แบบใช้แล้วทิ้ง

โดยไอเดียธุรกิจบริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์นั้น ถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับ แนวคิด Circular Economy และ พฤติกรรมของผู้บริโภครุ่นใหม่ ที่มีแนวโน้มหันมาต้องการเช่าซื้อบริการ ที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ

12

ภาพจาก bit.ly/2Yubqjy

โดยเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น “IKEA”ได้เริ่มทดลองเปิดให้บริการเช่าเฟอร์นิเจอร์แก่ลูกค้าองค์กร (B2B) ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และประเทศสวีเดน ทั้งนี้ยังมีแผนที่จะขยายบริการดังกล่าว ไปยังกลุ่มลูกค้าทั่วไป (B2C)

ซึ่งภายในปี 2020 คาดว่าจะเปิดบริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ได้ประมาณ 30 ประเทศ โดยในปัจจุบันนี้บริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์กลุ่มเตียงนอน โต๊ะ-เก้าอี้ นักเรียน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1,074 บาท/เดือน ถือว่าตรงกลุ่มลูกค้ามากกว่า Amazon


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

ข้อมูลจาก

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/2SkK28R

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช