ทำไม? เราต้องจ่ายค่าแฟรนไชส์ราคาแพง

เชื่อว่าหลายคนที่สนใจ ลงทุนแฟรนไชส์ อาจเกิดความสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า ทำไมแฟรนไชส์แบรนด์นั้นราคาแฟรนไชส์แค่หลักพัน ขณะที่หลายๆ แบรนด์ราคาแฟรนไชส์แพงถึงหลักหมื่น หลักแสน ไปจนถึงหลักล้านบาท

แล้วแบรนด์แฟรนไชส์ราคาถูกกับแฟรนไชส์ราคาแพง มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วทำไมเราต้องซื้อหรือจ่ายค่าแฟรนไชส์ราคาแพงๆ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอเหตุผลว่า ทำไม เราต้อง จ่ายค่าแฟรนไชส์ราคาแพงให้ทราบครับ

1. ค่าออกแบบตกแต่งร้านให้มีมาตรฐานเดียวกัน

ทำไม เราต้อง

เราจะสังเกตได้ว่า แฟรนไชส์ที่ราคาแพงๆ หลักแสนบาทขึ้นไป ส่วนใหญ่ร้านสาขาแฟรนไชส์ต่างๆ จะเหมือนกันกับร้านต้นแบบแฟรนไชส์เกือบทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบตกแต่งร้าน โทนสี โลโก้ ป้ายเมนู รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ในการขายภายในร้าน

เราอยู่ในพื้นที่หนึ่งแต่พอเดินทางไปยังพื้นที่หนึ่ง เมื่อเห็นโลโก้หรือร้านแฟรนไชส์นั้นๆ ก็รู้ว่าเป็นร้านอะไรทันที ดังนั้น แฟรนไชส์ที่มีราคาแพงๆ ในปัจจุบัน จะมีการออกแบบตกแต่งร้านภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

2. ค่าวางระบบปฏิบัติงานและการจัดการภายในร้าน

4

ภาพจาก bit.ly/2Pr5ap3

แฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน ราคาแพง จะช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการติดตั้งและวางระบบปฏิบัติการต่างๆ ภายในร้านทั้งหมด จนกระทั่งเปิดร้านขาย ไม่ว่าจะเป็นระบบการเงิน บัญชี ไอที พนักงาน การจัดวางสินค้า การบริหารลูกค้า การสต็อก และอื่นๆ ตัวอย่างที่สังเกตได้ชัดเจน ก็คือ แฟรนไชส์ 7-Eleven ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ภายในร้านจะเหมือนกันหมด

3. ค่าเครื่องหมายการค้าและโอกาสเติบโตทางธุรกิจ

3

หลายคนที่อยากประสบความสำเร็จในการซื้อแฟรนไชส์ มีรายได้ที่มั่นคง คงจะไม่ซื้อแฟรนไชส์สร้างอาชีพราคาถูก ขายตามตลาดนัด หรือหน้าหมู่บ้าน แต่อยากจะซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ มีชื่อเสียง เมื่อเอ่ยถึงผู้คนรู้จักกันทั่ว

ซึ่งแฟรนไชส์เหล่านี้ค่าแฟรนไชส์จะแพงมากๆ มีระบบการจัดการแฟรนไชส์เป็นมาตรฐานเดียวกัน ใครเห็นก็อยากลงทุน แต่ไม่มีเงินซื้อ ใครที่มีเงินลงทุนหลักแสน หลักล้านบาท ก็มีโอกาสเติบโตและประสบความสำเร็จ มีรายได้ที่มั่นคง เช่น ธุรกิจ 5 ดาว เป็นต้น

4. ค่าการทำการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์

2

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ราคาแพงๆ จะไม่ต้องเสียต้นทุนในเรื่องของการทำตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะบริษัทแม่แฟรนไชส์เหล่านี้จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในส่วนนี้เอง ตลอดระยะเวลาในสัญญาแฟรนไชส์

ผู้ซื้อแฟรนไชส์เพียงแค่ตั้งใจทำงานและปฏิบัติตามระบบแฟรนไชส์ที่บริษัทแม่แฟรนไชส์วางไว้อย่างเคร่งครัดเท่านั้น เช่น แฟรนไชส์เชสเตอร์ โฆษณาประชาสัมพันธ์เมนูใหม่ๆ ทางสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ช่วยให้สาขาแฟรนไชส์ซีดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี

5. ค่าการฝึกอบรมและการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

1

แฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ มีชื่อเสียง ค่าแฟรนไชส์แพงๆ จะมีระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซีเป็นอย่างดี ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการตลาด พัฒนาเมนูใหม่ๆ แนะนำเทคนิคและวิธีการขายในแต่ละเทศกาล การตรวจสอบและเยี่ยมร้านสาขาแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นมาตรฐาน การจัดหาทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพในการเปิดร้าน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าแบรนด์แฟรนไชส์ที่ราคาแพงๆ ส่วนใหญ่จะมีระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะที่ไหนเมื่อใช้บริการภายใต้แบรนด์หรือร้านแฟรนไชส์เดียวกัน ก็จะได้รับสินค้าและบริการที่เหมือนกัน ซึ่งเงินที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จ่ายแพงให้แบรนด์แฟรนไชส์เหล่านี้ บริษัทแม่แฟรนไชส์ก็จะนำมาใช้จ่ายและพัฒนาแฟรนไชส์ให้เติบโต มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

  • ลงทุนแฟรนไชส์ราคา 50,001 – 100,000 คลิ๊ก! https://bit.ly/3khHKAq
  • ลงทุนแฟรนไชส์ราคา 100,001 – 500,000 คลิ๊ก! https://bit.ly/2PxoFvS
  • ลงทุนแฟรนไชส์ราคา 500,001 – 1,000,000 คลิ๊ก! https://bit.ly/3gzee7b

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3fDP6Lb

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช