ทำไม คาเฟ่อเมซอน ถึงเป็นแฟรนไชส์ที่ใช่ ไม่ต้องทำไร ก็มีคนอยากซื้อ
ปัจจุบันแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “ คาเฟ่อเมซอน ” มีจำนวนร้านมากกว่า 4,277 สาขาทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศไทยมีถึง 4,250 สาขา ถือเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก ในประเทศไทยทิ้งห่างอันดับ 2 กว่า 3 เท่าตัว เป็นแฟรนไชส์ที่มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ในแต่ละเดือนมีคนส่งใบสมัครเข้าไปราวๆ 600 ใบสมัคร
อยากรู้หรือไม่ว่า ทำไมคนซื้อแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” ไปเปิด 1 สาขา มักจะซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดอีกหลายสาขา บางรายมีถึง 10 สาขา คนซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนในปัจจุบัน มี 2 กลุ่ม คือ เจ้าของปั้มน้ำมัน ปตท. หรือดีลเลอร์ กับ นักลงทุนหรือประชาชนทั่วไป
คนที่เป็นดีลเลอร์ปั้ม ปตท. จะถูกบังคับให้ซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนโดยอัตโนมัติ เหมือนกับต้องลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven ในปั้มด้วย เจ้าของปั้มหรือดีลเลอร์ปั้ม ปตท. ยังสามารถซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนไปเปิดสาขานอกปั้มได้ด้วย จะขยายสาขาก็ได้แล้วแต่จะหาทำเลได้
ส่วนนักลงทุนหรือประชาชนทั่วไปที่มาซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอน ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เคยทำงานมาก่อน เป็นพนักงานบริษัท เจ้าของกิจการ คนกลุ่มนี้จะพอมีประสบการณ์ทางธุรกิจมาบ้าง บางคนมีบริษัทอยู่แล้ว บางคนเปิดบริษัทใหม่เพื่อซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอน
แม้ว่าการแข่งขันของธุรกิจร้านกาแฟในปัจจุบันจะรุนแรง ทั้งรายเล็กๆ และแบรนด์ใหญ่ที่ขายแฟรนไชส์อย่าง อินทนิล กาแฟพันธุ์ไทย และอื่นๆ อีกหลายแบรนด์ เมื่อมองถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ คาเฟ่อเมซอนได้เปรียบกว่าแบรนด์อื่นๆ มีชื่อเสียง ได้รับนิยม พูดง่ายๆ คือ ติดตลาดแล้ว
เป็นแบรนด์เน้นคุณภาพและการบริการ เปิดตัวมายาวนานภายใต้บริษัท ปตท. คัดสรรวัตถุดิบอย่างเมล็ดกาแฟ เริ่มตั้งแต่การปลูก การดูแล กรรมวิธีการคั่วบด จากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับสากล และมีความใส่ใจในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม
แฟรนไชส์ซีที่ซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนหลายคน เคยให้ข้อมูลกับไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ว่า เหตุผลที่ซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอน นอกจากแบรนด์มีชื่อเสียง ลูกค้านิยมใช้บริการแล้ว ยังมีระบบหลังบ้านที่แข้งแกร่ง มีทีมงานที่มีความสามารถในการฝึกอบรม คำแนะนำต่างๆ ทำกิจกรรมการตลาดต่างๆ ตลอดจนการคิดค้นสูตรเครื่องดื่มใหม่ๆ ทำให้ไม่ต้องมาคิดเรื่องจะทำการตลาดหรือจะจัดโปรโมชั่นใดๆ เลย
หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี คือ การทำ QSC ได้แก่
- Q = Qualityการรักษาคุณภาพ มาตรฐานการชงเครื่องดื่มของบาริสต้าแต่ละคน
- S= Service การส่งมอบบริการที่ดีให้กับลูกค้า โดยที่บาริสต้าต้องสามารถจดจำชื่อของลูกค้าประจำได้ เพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการเป็นประจำ
- C= Clean การดูแลความสะอาดภายในร้าน การปฏิบัติตามสุขาภิบาลอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร รวมถึงการรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ครองใจผู้บริโภคไปตลอด
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้มีคนซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ พวกเขามองว่าเป็นการลงทุนที่สร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว บริหารจัดการได้ง่าย ระบบจะรันไปในตัวของมันเอง ไม่ต้องเข้าร้านทุกวัน มีผู้จัดการร้านคอยช่วยดูแล
ยอดขายกาแฟของคาเฟ่อเมซอนในแต่ละสาขา จากข้อมูลที่ได้จากแฟรนไชส์ซีหลายราย ช่วงเปิดร้าน 1-2 เดือนแรก ขายกาแฟได้เฉลี่ย 200 แก้วต่อวันต่อสาขา อาจเป็นเพราะคนในพื้นที่ยังไม่รู้จัก ต้องใช้ระเวลา ซึ่งเมื่อเลยช่วง 2 ปีขึ้นไป ยอดขายจะอยู่ที่ 250-300 แก้วต่อวันต่อสาขา ถือว่ามียอดขายสูงกว่าแบรนด์คู่แข่งอย่าง “กาแฟพันธุ์ไทย” ที่ขายได้ 100-200 แก้วต่อวันต่อสาขา
ภาพรวมธุรกิจร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน ครึ่งปีแรก 2567
- จำนวนร้านคาเฟ่ อเมซอน 4,277 สาขา ทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 270 สาขา
- ในประเทศไทย 4,250 สาขา แบ่งเป็นในปั้ม ปตท. 2,261 สาขา สัดส่วน 53.2% นอกปั้ม 1,989 สาขา สัดส่วน 46.8%
- ต่างประเทศ 27 สาขา
- ยอดขายกาแฟ 201 ล้านแก้ว เพิ่มขึ้น 9.2%
- ไตรมาส 1 มียอดขาย 99 ล้านแก้ว เพิ่มขึ้น 3%
- ไตรมาส 2 มียอดขาย 102 ล้านแล้ว เพิ่มขึ้น 9.7%
ทำเลเปิดร้านคาเฟ่ อเมซอน แบ่งออกเป็น 2 ทำเล
1.ในปั้มน้ำมัน ปตท.
- โมเดลร้าน Stand Alone ขนาดพื้นที่ 100-200 ตร.ม. ขึ้นไป)
- พื้นที่ตั้งร้านส่วนใหญ่อยู่ในสุดของปั้ม
2.นอกปั้มน้ำมัน ปตท.
- โมเดลร้าน Shop (ขนาด 40 ตร.ม. ขึ้นไป) และ Stand Alone (ขนาด 100-200 ตร.ม. ขึ้นไป)
- พื้นที่ตั้งในอาคาร เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ และอื่นๆ
- พื้นที่ตั้งเป็นสถานที่โล่งแจ้ง สังเกตเห็นร้านได้ง่าย มีความโดดเด่น
- พื้นที่ตั้งร้านอยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คน/วัน
เทคนิคซื้อแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” อนุมัติผ่านไว (ภายใน 1 เดือน)
- เป็นเจ้าของปั้มน้ำมัน ปตท. อยู่แล้ว (สามารถขยายสาขานอกปั้มได้)
- มีประสบการณ์ทางธุรกิจ เช่น เป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นพนักงานออฟฟิศ เป็นต้น
- มีประสบการณ์บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ (ได้รับพิจารณาเร็วขึ้น)
- ทำเลใจกลางชุมชน (มีฐานะ) พื้นที่มองเห็นร้านชัดเจน โดดเด่น
- คนสัญจรผ่านไปมาไม่น้อยว่า 3,000 คน/วัน
- พื้นที่ห่างจากสาขาแบรนด์เดียวกันพอสมควร
- มีความพร้อมด้านเงินลงทุน (ไม่กู้ยิมเงินดีที่สุด)
#ค่าใช้จ่ายเปิดร้าน คาเฟ่ อเมซอน
แฟรนไชส์ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” มี 2 รูปแบบ
1. ในอาคาร (Shop) 40 ตารางเมตรขึ้นไป
- เงินลงทุน 2,349,000 – 3,709,000 บาท
- ค่า Royalty Fee + ค่า Marketing Fee 3% + 3% ของยอดขายรายเดือน
- ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี
- อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)
2. นอกอาคาร (Stand Alone) 100-200 ตารางเมตร
- เงินลงทุน 2,649,000 – 4,209,000 บาท
- ค่า Royalty Fee + ค่า Marketing Fee 3% + 3% ของยอดขายรายเดือน
- ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี
- อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)
อย่างไรก็ตาม หากใครคิดจะซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนจริงๆ อาจจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ แม้คาเฟ่อเมซอนจะเป็นร้านกาแฟที่มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือในเรื่องระบบแฟรนไชส์ แต่ยังมีปัญหาเรื่องของมาตรฐานของแต่ละสาขา มักมีประเด็นเกี่ยวกับรสชาติไม่เหมือนกันในบางสาขา บางวันดี บางวันรสชาติแปลกๆ เป็นสิ่งที่ลูกค้ารู้สึกกับเรื่องมาตรฐานค่อนข้างมาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)