ทำไม ควรซื้อแฟรนไชส์ในช่วงเกิดวิกฤติ

แฟรนไชส์ มีอัตราประสบความสำเร็จได้ดีกว่าธุรกิจอื่นๆ เนื่องจากมีการออกแบบระบบไว้เป็นอย่างดี ทั้งตัวสินค้า การตลาด การสร้างแบรนด์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักระดับหนึ่ง

จึงเหมาะเป็นการเริ่มต้นที่ดีของคนที่อยากมีอาชีพระยะยาว ที่สำคัญการซื้อแฟรนไชส์ มีดีตรงที่เริ่มต้นธุรกิจง่าย ไม่ต้องลองผิดลองถูก โอกาสอยู่รอดสูง และ เข้าถึงแหล่งเงินทุนง่าย

ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี และเกิดวิกฤตโควิด-19 การซื้อแฟรนไชส์จึงเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของการทำธุรกิจ เพราะเริ่มต้นได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกว่าสินค้าจะได้รับความนิยม

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะบอกเหตุผลว่า ทำไม ควรซื้อแฟรนไชส์ในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะกำลังเกิดการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ในขณะนี้ครับ

1.ไม่เสียเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจ

ทำไม ควรซื้อแฟรนไชส์ในช่วงเกิดวิกฤติ

ภาพจาก แฟรนไชส์ ฟาสต์ชิป

ส่วนที่ยากที่สุดของการเป็นผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจในช่วงเริ่ม ก็คือ คุณจะต้องเขียนแผนการดำเนินธุรกิจ ลงมือทำการวิจัยตลาด ศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของผู้คน นำเสนอสินค้าหรือบริการ ขยายขนาด และอื่นๆ กว่าจะที่สร้างแบรนด์ ทำสินค้าให้ติดตลาด ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน เสียเวลาลองผิดลองถูก

การซื้อแฟรนไชส์ ทำให้คุณข้ามขั้นตอนในส่วนนี้ ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกในการดำเนินธุรกิจให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เมื่อคุณซื้อแฟรนไชส์จะได้รับระบบต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ ที่พิสูจน์แล้วว่า หากปฏิบัติตามระบบที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนดเอาไว้ จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จไปด้วย ที่สำคัญซื้อมาแล้วขายสินค้าได้เลย คนรู้จักมาก่อน

2.ได้ชื่อเสียง และแบรนด์แฟรนไชส์

ทำไม ควรซื้อแฟรนไชส์ในช่วงเกิดวิกฤติ

ภาพจาก แฟรนไชส์ ราชาลิง

ธุรกิจแฟรนไชส์จะมาพร้อมกับชื่อเสียง ผู้คนรู้จัก และลูกค้าให้ความไว้วางใจ ดังนั้น หากคุณซื้อแฟรนไชส์เหล่านั้นมาเปิดร้าน คุณก็จะได้แบรนด์แฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คนรู้จักไปทั่วโลก นั่นก็เท่ากับว่า คุณซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ก็สามารถขายได้ทันที เพราะลูกค้ารู้จักแบรนด์แฟรนไชส์ที่คุณซื้อมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น ธุรกิจห้าดาว, เชสเตอร์ เป็นต้น

3.ได้รับการฝึกอบรมจากแฟรนไชส์ซอร์

ทำไม ควรซื้อแฟรนไชส์ในช่วงเกิดวิกฤติ

ภาพจาก แฟรนไชส์ ทาโกะยากิซัง

หัวใจสำคัญที่ทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จในช่วงเกิดวิกฤติ ก็คือ ระบบการดำเนินธุรกิจ หรือแบบจำลองการดำเนินธุรกิจแบบง่ายๆ ที่แฟรไชส์ซอร์จะถ่ายทอดให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยก่อนที่จะผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเปิดร้าน

จะต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นจากเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งในห้องเรียนและในสถานที่ทำงานจริง โดยแบรนด์แฟรนไชส์ดังๆ จะใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมนานหลายเดือน เพื่อการันตีให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จในการซื้อแฟรนไชส์แน่นอน

4.ได้รับการช่วยเหลือด้านการทำตลาด

ทำไม ควรซื้อแฟรนไชส์ในช่วงเกิดวิกฤติ

ภาพจาก แฟรนไชส์ กลับตานี

แม้ว่าบางครั้งแฟรนไชส์ซีอาจจะต้องลงทุนในเรื่องทรัพยากรในการทำตลาดและโฆษณาบ้าง แต่เจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์จะทำหน้าที่ในการส่งเสริมการตลาดต่างๆ ผ่านแคมเปญทั่วประเทศ ทั้งออกอากาศทางทีวี วิทยุ และสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ของคุณหรือทั่วโลกรับรู้ เชื่อมั่นในทิศทางเดียวกัน

ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวสินค้าหรือบริการใหม่ๆ รวมถึงการออกแคมเปญการตลาดส่งเสริมการขาย การบริหารจัดการร้านที่ปราศจากเชื้อโรค การสนับสนุนในเรื่องการขายผ่านช่องทางออนไลน์ และเดลิเวอรี่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น เป็นต้น

5.ค่าแฟรนไชส์ และงบลงทุนไม่สูงเกินไป

8

ภาพจาก แฟรนไชส์ กะหรี่ปั๊บไส้ไก่ สูตรแชมป์ประเทศไทย

เจ้าของแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์จะใช้โอกาสช่วงเศรษฐกิจไม่ดี หรือช่วงการระบาดโควิด-19 อยู่ในขณะนี้ ดึงดูดนักลงทุนให้ซื้อแฟรนไชส์ด้วยการจัดโปรโมชั่น ลดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ปรับรูปแบบของร้านให้มีขนาดเล็กลง

เพื่อใช้งบประมาณในการลงทุนต่ำลง ตกแต่งและเปิดร้านได้เร็วขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง เพื่อให้มีค่าเช่าถูกลงด้วย ดังนั้น แม้ว่านักลงทุนจะมีเงินไม่ถึงหลักล้านบาท แต่ก็สามารถเข้าถึงและเป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ ได้ง่ายขึ้น

6.เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายในการเริ่มต้น

7

ภาพจาก แฟรนไชส์ คาเฟ่ ชากัญ

ในกรณีที่คุณสนใจลงทุนแฟรนไชส์ แต่ไม่เงินทุนเพียงพอ เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก บางแบรนด์แฟรนไชส์ใช้เงินลงทุนหลักล้านบาท ยังไม่รวมค่าแฟรนไชส์แรกเข้าและอื่นๆ ปัจจุบันได้มีหลายธนาคารมีโครงการปล่อยสินเชื่อสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ เช่น ออมสิน กสิกรไทย ธ.ก.ส. เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารกรุงเทพ ไทยพาณิชย์ เป็นต้น

โดยสาเหตุที่ธนาคารยอมปล่อยสินเชื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพราะว่าธุรกิจแฟรนไชส์มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาแล้วนั่นเอง นั่นจึงเป็นเหตุผล ทำไม คุณควรซื้อแฟรนไชส์ในช่วงเกิดวิกฤติ

Franchise Tips

  1. ไม่เสียเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจ
  2. ได้ชื่อเสียง และแบรนด์แฟรนไชส์
  3. ได้รับการฝึกอบรมจากแฟรนไชส์ซอร์
  4. ได้รับการช่วยเหลือด้านการทำตลาด
  5. ค่าแฟรนไชส์ และงบลงทุนไม่สูงเกินไป
  6. เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายในการเริ่มต้น

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2RXObiQ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช