ทำไมแฟรนไชส์ ต้องมีค่าสิทธิต่อเนื่อง (Continuing Fee)
ในระบบแฟรนไชส์ กว่าแฟรนไชส์ซอร์เขาจะยอมให้ใครสักคนเข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีเขาได้นั้น เขาคัดแล้วคัดอีก ก็อย่างที่เข้าใจกันว่ากลัวได้คนไม่ดีเข้ามา จะพาลทำระบบเครือข่ายแฟรนไชส์เขามีปัญหา ชื่อเสียงดีๆ ที่สร้างมาตั้งนานอาจมลายหายวับไปกับแฟรนไชส์ซีเพียงรายเดียวก็ได้ นอกจากจะคัดกันหนักแล้ว แฟรนไชส์ซียังต้องจ่ายเงินตอบแทนแก่แฟรนไชส์ซอร์อีกด้วย
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอเกี่ยวกับเงินค่าใช้ต่อเนื่อง ที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ทุกเดือน ตลอดเวลาที่เป็นแฟรนไชส์ซี หรือจนกว่าอายุสัญญาแฟรนไชส์จะหมดไป
สิ่งที่จะพูดถึงก็คือ “ค่าสิทธิ” (Royalty) และ “ค่าการตลาด” (Marketing Fee/ Advertising Fee) ค่าใช้จ่ายสองอย่างนี้ ส่วนใหญ่ แฟรนไชส์ซอร์จะเก็บกันเป็นรายเดือน แต่ก็มีรูปแบบที่แตกต่างไปบ้างเหมือนกัน
แต่ปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่ว่า แฟรนไชส์ซอร์บางแบรนด์ ไม่เก็บค่าสิทธิ ถือเป็นจุดขายสำคัญ แต่จริงๆ แล้วระบบแฟรนไชส์ ถ้าเมื่อไม่เก็บค่าสิทธิ แล้วจะไปเอารายได้จากส่วนไหน มาใช้ในการบริหารระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือว่าขายไปแล้ว ถีบส่งเลย
ค่าสิทธิ (Royalty)
ภาพจาก goo.gl/pnMtVC
บางคนเรียกค่า “ความภักดี” ใครสักคนจะควักกระเป๋าให้อีกคนได้ สองคนนี้ต้องมีความสัมพันธ์ หรือเชื่อมั่นอะไรกันอยู่ การจะเก็บค่าสิทธิมากเก็บน้อยแค่ไหน รูปแบบการเก็บอย่างไร มีความแตกต่างอยู่เหมือนกัน
แล้วแต่แฟรนไชซอร์จะเลือกหยิบไปใช้ให้เหมาะกับธุรกิจตนเอง แม้จะเป็นค่าสิทธิเหมือนกัน ต้องเข้าใจว่าแม้จะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์เหมือนกัน แต่เจ้าของแฟรนไชส์หนึ่งเก็บค่าสิทธิแบบหนึ่ง อีกเจ้าเก็บอีกแบบ ก็สามารถทำได้เหมือนกัน
ภาพจาก facebook.com/caffemuanchon
ต้องระวังว่า ค่าสิทธิ คือ ค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งในระบบแฟรนไชส์ ถ้าแฟรนไชส์ซีต้องจ่ายมาก ต้นทุนก็เพิ่ม ดังนั้น การตั้งค่าสิทธิ ต้องคำนึงว่าแฟรนไชส์ซีจะรองรับการลงทุนในระดับนั้นได้หรือไม่ ยิ่งลงทุนสูงแรงจูงใจให้คนลงทุนก็น้อยลง แต่ถ้าลงทุนตํ่าเกินไปคนแห่เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีมาก แต่เงินที่ได้ไม่พอเลี้ยงให้ระบบสนับสนุนเดินไปได้ แบบนี้ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน
ผู้เชี่ยวชาญบางคนให้ความเห็นว่า อัตราค่าสิทธิในธุรกิจค้าปลีกมักจะอยู่ที่ 5-10% ของยอดขายรายเดือน และมักจะเพิ่มเป็น 8-10% ในธุรกิจบริการ เป็นตัวเลขที่ให้เห็นเป็นแนวทาง แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้อัตรานี้เท่านั้น
ภาพจาก goo.gl/Buatt7
ตัวอย่างแฟรนไชส์
ค่าการตลาด (Marketing and Advertisement Fee)
ภาพจาก goo.gl/rqqaee
ค่าการตลาดเป็นค่าสิทธิอีกแบบ ที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายต่อเนื่องเหมือนค่าสิทธิ (Royalty) การโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้ลูกค้าผู้บริโภครู้จักตราสินค้า (Brand) เป็นหัวใจของธุรกิจค้าปลีก
สาเหตุที่แฟรนไชส์ซีสนใจเข้ามาเป็นแฟรนไชส์สักยี่ห้อ ก็เป็นผลงานจากการสร้างแบรนด์ ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก ประโยชน์อย่างหนึ่งของการอยู่ในระบบแฟรนไชส์ ก็คือ เรื่องการตลาด การโฆษณา ให้คนรู้จักแบรนด์ รู้จักช่วงเวลาในการจัดโปรโมชั่น หรือออกสินค้าใหม่ๆ
ภาพจาก goo.gl/nZoxKP
ยกตัวอย่าง แฟรนไชส์ 7-Eleven จะมีการทำตลาด การโฆษณาผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง หรือทุกเทศกาลเกี่ยวกับสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างการรับรู้โดยรวมให้กับผู้บริโภค ว่าแบรนด์ของพวกกำลังทำอะไร กำลังขายอะไร ไม่เคยบอกชื่อแฟรนไชส์ซีเขาเลย
แฟรนไชส์บางแบรนด์ จะเรียกเก็บเงินค่าการตลาด (Marketing and Advertisement Fee) เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรายเดือนเหมือนค่าสิทธิ (Royalty) หรือเหมาเป็นก้อนก็มี ปีละเท่าไรว่ามา แฟรนไชส์ที่ไม่ค่อยได้โฆษณาอาจเก็บเป็นครั้งๆ ก็ได้ แต่ถ้าเจอแฟรนไชส์ซีเบี้ยวไม่ยอมจ่าย หรือจ่ายช้าก็ปวดหัวหน่อย แต่ดีกับแฟรนไชส์ซีที่ค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มมากนัก
ภาพจาก goo.gl/Ypn2xw
ตัวอย่างแฟรนไชส์
สรุปก็คือ ระบบแฟรนไชส์จริงๆ ต้องมีค่าสิทธิต่อเนื่อง ค่าการตลาดต่อเนื่อง ที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์เป็นประจำทุกเดือน เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย แต่ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ไม่พร้อมทั้งที่แฟรนไชส์ซีจ่ายทุกอย่างแบบว่า
ปัญหาจะย้อนกลับมาที่แฟรนไชซอร์ เพราะเขายอมลงทุนเองทั้งหมด แถมยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าสิทธิอีก ถ้าช่วยอะไรเขาไม่ได้เขาจะอยู่ในระบบแฟรนไชส์ของคุณได้อย่างไร
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/cE4kFq
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/okSkUR
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3h020qP
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise