ทำไมรสชาติไก่ทอดถึงต่างกัน? เจาะกลยุทธ์ไก่ทอด KFC
หลายคนเคยไปลองกิน KFC ของประเทศอื่นแล้วรู้สึกว่าทำไมรสชาติต่างกัน แถมเมนูยังมีไม่เหมือนกันอีก เพราะฉะนั้นวันนี้ ThaiSMEsCenter จะพาทุกคนมาหาเหตุผลกันว่าทำไม KFC แต่ละประเทศถึงรสชาติต่างกัน
ประวัติไก่ทอด KFC
เมื่อพูดถึง KFC ทุกคนก็จะนึกถึงโลโก้ที่เป็นคุณตาผมขาว มีหนวดเครา ใส่แว่น สวมชุดทักซิโด้ คุณตาที่อยู่ใน โลโก้คนนั้นคือ ฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอร์ส (Harland David Sanders) หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ‘ผู้พันแซนเดอร์ส’ เขาคือผู้ก่อตั้งแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังอย่าง ‘KFC’
ผู้พันแซนเดอร์สเริ่มกิจกรรมในปั้มแห่งหนึ่งใน นอร์ทคอร์บิน (North Corbin) รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา จนร้านอาหารของเขาโด่งดังขึ้น ผู้พันแซนเดอร์สจึงย้ายไปเปิดโรงแรมฝั่งตรงข้าม และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘ร้านไก่ทอดเคนทักกี ของฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส’
แม้ว่าจะประสบกับปัญหามากมายในช่วงทำธุรกิจ แต่ผู้พันแซนเดอร์ส ก็เอาชนะปัญหาและผ่านมันมาได้ จนในที่สุดแบรนด์ไก่ทอดของเขาก็พัฒนาขึ้นจนมีถึง 400 สาขา ในสหรัฐอเมริกา และ แคนาดา แต่แล้วผู้พันแซเดอร์ส ก็ตัดสินใจวางมือในวัย 74 ปี เนื่องจากอาการป่วยและอายุที่มากขึ้น
ภาพจาก https://citly.me/qH1Kc
เขาได้ทำการขายไก่ทอดเคนทักกีให้กับ 2 นักธุรกิจ จอห์น วาย. บราวน์ จูเนียร์ (John Y. Brown Jr.) และแจ็ก แมสซีย์ (Jack Massey) โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องรักษามาตรฐานคุณภาพไก่ทอดให้ดีอย่างที่เคยเป็น
นอกจากจะได้รับรายได้ปีละ 2.5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ (ประมาณ 8.7 ล้านบาท) ผู้พันแซนเดอร์สยังได้เป็นสัญลักษณ์ของร้าน ในฐานะผู้ที่ก่อตั้งธุรกิจนี้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง จนเป็นที่รู้จักในทวีปอเมริกาเหนือขึ้นมา
หลังจากนั้นไก่ทอดเคนทักกี ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงทศวรรษ1980 ร้านไก่ทอดเคนทักกี ขยายกิจการไปได้ถึง 6,000 แห่ง ใน 48 ประเทศทั่วโลก
หลังจากนั้นไก่ทอดเคนทักกี ก็เปลี่ยนเจ้าของกิจการเป็น เป๊ปซี่โค (PepsiCo) หลัง อาร์. เจ. เรย์โนลส์ (R.J. Reynolds) ที่ซื้อกิจการต่อจากบราวน์ตัดสินในขายให้กับบริษัทชื่อดัง เป๊ปซี่โคได้ทำการรีแบรนด์ และเปลี่ยนชื่อร้านจาก ไก่ทอดเคนทักกี เป็น KFC ซึ่งมาจากชื่อ Kentucky Fried Chicken ในปี1991
ทำไม KFC แต่ละประเทศรสชาติถึงไม่เหมือนกัน
KFC ได้เปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดใหม่ด้วยการผสานวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ แต่ยังคงเอกลักษณ์ของ KFC ไว้อยู่ โดยการเริ่มมาเปิดตลาดในเอเชีย
KFC เข้าไปขยายกิจการในจีนเป็นที่แรกในเอเชียตั้งแต่ปี 1987 หลังจากที่จีนเปิดประเทศได้เพียง 9 ปี เป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสไตล์อเมริกันรายแรกที่เข้ามาเปิดในจีน โดย KFC เลือกใช้กลยุทธ์ signature dishes เพื่อครองใจคนท้องถิ่น เช่น ประเทศจีน จะมีการเพิ่มซุปไก่ร้อน ๆ ฟรีเพราะคนจีนนิยมทานของร้อน และมักจะมีน้ำซุประหว่างมื้ออาหาร มีการเพิ่มผักสดและซอสเป็ด เพื่อเอาใจลูกค้าจีน
ภาพจาก https://citly.me/XpP3F
ประเทศไทย signature dishes ของไทยคงหนีไม่พ้น ‘วิ๊งค์แซ่บ’ ที่เป็นเมนูยอดฮิตตลอดกาลของ KFC และยังมีข้าวหน้าต่าง ๆ เช่น ข้าวยำไก่แซ่บ ข้าวหน้าไก่กรอบเขียวหวาน และโดนัทกุ้งที่มีเฉพาะในไทยเท่านั้น
ประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นมักจะสนใจในวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารมากกว่า เพราะคนญี่ปุ่นนิยมทานเนื้อไก่ดำ มากกว่าเนื้อไก่ขาว KFC ในญี่ปุ่นจึงเน้นไปที่ไก่ทอดสูตรดั้งเดิม เพราะจะสามารถลิ้มรสของวัตตถุดิบได้ดี
นอกจากนี้ยังมีเมนูที่ไม่มีเนื้อสัตว์ด้วย เช่น อินเดียมีเมนูเบอร์เกอร์มังสวิรัติ เนื่องจากพฤติกรรมของคนอินเดียที่มีการกินมังสวิรัติถึง 40%
การปรับตัวของ KFC ให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ยังรวมภาษา วัฒนธรรม และบริบทของท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น KFC ในญี่ปุ่น จะมีการจัดอีเวนต์พิเศษในช่วงคริสต์มาส ชื่อว่า ‘Kentucky for Christmas’ หรือการขายเซ็ตเมนูพิเศษชื่อ ‘ชุดถังปาร์ตี้’ ซึ่งประกอบไปด้วยสลัด เค้ก ไก่ทอด หรือเมนูอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี
ภาพจาก https://citly.me/sjLvS
ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกหาก KFC จะประสบความสำเร็จ และสามารถขยายกิจการได้มากมายในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลยุทธ์การปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่นซึ่งเป็นเป็นกลยุทธ์อันแข็งแกร่งที่ช่วยให้KFCกลายเป็นที่นิยมและครองใจหลายประเทศในเอเชียได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)