ทำไมการเป็นเศรษฐี “ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง”
คนที่จะเป็นเศรษฐีหรือคนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง?? สังคมไทยปลูกฝังความคิดว่าอยากจะเก่งอยากมีเงิน คุณต้องเรียนหนังสือให้เก่ง! เราจึงเห็นพ่อแม่ส่วนใหญ่อัดความรู้ให้ลูก ทั้งเรียนธรรมดา เรียนพิเศษ แต่ความจริงอีกเช่นกันว่าคนที่จะประสบความสำเร็จหรือคนที่จะรวย “ต้องเก่งปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี”
www.ThaiSMEsCenter.com จึงเชื่อว่าคนที่จะเป็นเศรษฐี ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง เสมอไป แต่สิ่งที่เขาควรมีคือ “วิสัยทัศน์” “ความมุ่งมั่น” “ไอเดียที่แตกต่าง” สิ่งเหล่านี้คือจุดเริ่มเป็นบันไดก้าวแรกของคนที่จะรวยในอนาคต
คนเรียนไม่เก่ง เรียนไม่จบ มีใครเป็นเศรษฐีบ้าง??
ภาพจาก bit.ly/3B1sNLu
เราจะยกตัวอย่างบางคน เริ่มที่ สตีฟ จ๊อบส์ เขาเรียนในมหาวิทยาลัยได้แค่เทอมเดียว ก็ตัดสินใจลาออกมาทำงานและก่อตั้งบริษัทของตัวเอง โดยจ๊อบนำไอเดียที่เขามีมาประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ อีกคนหนึ่งที่เรียนไม่จบแต่ประสบความสำเร็จก็คือ บิลเกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟ ที่เลิกเรียนมหาวิทยาลัย และหันมาเปิดบริษัทซอฟต์แวร์ของตัวเองโดยเอาสิ่งที่ตัวเองชอบคือการเขียนโปรแกรมมาเป็นตัวเริ่มในการทำธุรกิจ
ภาพจาก bit.ly/3yTdbHW
อีกคนที่น่าสนใจคือ ริชาร์ด แบรนสัน เจ้าของธุรกิจในเครือ Virgin คนนี้หันหลังให้กับการเรียนตั้งแต่มัธยมปลาย เพราะเขาเชื่อว่าการเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอาจไม่มีประโยชน์ แต่การไปเจอกับโลกทำงานของจริงคือสิ่งที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ในเวทีธุรกิจก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง ไม่จำเป็นต้องเรียนจบ แต่เขาเหล่านี้สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ และอะไรที่สิ่งที่ผลักดันคนเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จ เราลองมาดูกัน
10 แนวคิดคนเรียนไม่เก่ง ก้าวสู่การเป็นเศรษฐี
ภาพจาก bit.ly/3kgG8t7
1.ยอมลำบากก่อนเพื่อสบายทีหลัง
การจะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จเราต้องพยายามที่จะทำในสิ่งที่เราตั้งใจ เราต้องมีจุดยืนในตัวเองที่ชัดเจนว่าเราอยากเป็นอะไร เราอยากทำอะไร และก้าวไปตามเส้นทางนั้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องเลือกลำบากก่อน แตกต่างจากคนที่เก่งแต่ในตำราเขาได้แต่เรียนรู้ทฤษฏี เป็นการนั่งเรียนแบบสบายๆ ซึ่งในโลกของการทำงานส่วนใหญ่จะแตกต่างจากในตำราอย่างสิ้นเชิง
2.มีความฝันของตัวเองที่ชัดเจน
เราสังเกตได้ว่าคนเก่งระดับโลก หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเขามีความแน่วแน่ว่าต้องการทำอะไรอย่าง บิลเกตส์ก็สนใจในเรื่องการเขียนโปรแกรมและเดินหน้าทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก เป็นต้น ซึ่งก่อนที่คนเราจะประสบความสำเร็จใดๆ ได้ต้องมีเส้นทางที่ชัดเจน และเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง
ภาพจาก bit.ly/2U0F0iT
3.มีแนวคิดแบบเป็นผู้นำไม่ใช่ผู้ตาม
เมื่อเป็นผู้นำก็หมายถึงจะมาถึงเป้าหมายก่อนใคร และมีโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์จากการมาถึงคนแรกได้อย่างสูงสุด หากพอใจกับการเป็นผู้ตาม ก็เท่ากับเราจะได้ทำในสิ่งที่คนอื่นเขาทำไว้ก่อน ความน่าสนใจจึงลดน้อยลง โอกาสที่จะรวยเป็นเศรษฐีก็มีน้อยลงด้วย
4.ไม่คิดไต่บันได แต่จะเป็นเจ้าของบันได
คนเรียนเก่งคือการไต่บันไดไปตามเส้นทางที่ได้เรียนรู้ แต่คนเรียนไม่เก่งจะมีแนวคิดที่แตกต่างและต้องการเป็นเจ้าของบันไดเพื่อให้คนอื่นมาไต่ตามในภายหลัง แต่การจะเป็นเจ้าของบันได ต้องใช้ความพยายามสูง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนที่จะประสบความสำเร็จได้
ภาพจาก bit.ly/3ejz4IG
5.ชอบการทำงานเพื่อสร้างทักษะ
โดยให้ความสำคัญกับวิธีการปฏิบัติมากกว่าทฤษฏีเหมือนที่ริชาร์ด แบรนสัน เจ้าของ Virgin หันหลังให้กับการเรียนตั้งแต่มัธยมปลายเพราะคิดว่าโลกของการทำงานจริงคือประสบการณ์ที่มีค่ากว่าในตำรา ทำให้เขาคิดจะทำธุรกิจตั้งแต่ตอนนั้น
6.เน้นการหารายได้มากกว่าเก็บออม
การเก็บออมเป็นเรื่องสำคัญ และการล ง ทุ นนั้นสำคัญกว่า แต่การหารายได้นั้นทำให้เกิดทั้งคู่ หลายคนคิดว่าแค่การเก็บออมกับการล ง ทุ นก็เพียงพอ แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด เราต้องหารายได้ให้มากขึ้น
ภาพจาก bit.ly/2U9jx7h
7.ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
การมีเป้าหมายคือสิ่งที่คนอยากรวยต้องทำ และเมื่อถึงเป้าหมายในขั้นแรกก็ต้องมีเป้าหมายใหม่ที่ใหญ่มากขึ้น นั้นคือการเดินไปข้างหน้าและเดินสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คนเรียนเก่งอาจจะพอใจอยู่กับเป้าหมายที่มาถึง แต่คนอยากรวยต้องรู้จักไปต่อในเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น
8.มีทักษะในการใช้คนได้อย่างถูกต้อง
ลำพังคนเดียวนำพาชีวิตไปสู่เป้าหมายไม่ได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีทีมงาน คนเรียนไม่เก่ง คนมีทักษะในการเป็นเจ้าของธุรกิจต้องมีทักษะในการอ่านใจคน รู้จักใช้คนให้เหมาะกับงาน รู้ว่าใครเหมาะกับอะไร และต้องรู้จักให้ความสำคัญกับทีมงานใครเก่งต้องรักษาเอาไว้เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง
ภาพจาก bit.ly/2VxfOAI
9.พร้อมแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์
คนที่เน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฏีมักมีกำลังใจที่แข็งแกร่งไม่ยอมแพ้ต่อปัญหา เพราะทุกการทำงานยอ่มมีปัญหาที่ไม่เคยเจอในตำรา การได้เรียนรู้จากของจริงทำให้เรายิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น เป็นเคล็ดลับสำคัญที่นำพาไปสู่การเป็นเศรษฐีได้
10.ใช้ความรู้ในตำราเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำงาน
คนเรียนไม่เก่งใช่ว่าเขาจะคิดไม่เป็น การเรียนในตำราคือสิ่งที่คนเหล่านี้ใช้เป็นแนวทางเพื่อประกอบการทำธุรกิจ เคล็ดลับของคนที่รวยคือการเอาความรู้ในตำราไปฝึกใช้ ต่อยอดให้ดีกว่าเดิม ไม่ใช่เรียนแบบท่องจำ แต่มีการนำไปใช้พลิกแพลงอย่างมีคุณภาพ จนก่อเกิดผลสำเร็จทางธุรกิจที่ต้องการ
ซึ่งการเรียนรู้เป็นพื้นฐานที่สำคัญ แต่การปลูกฝังให้เด็กรู้จักคิด รู้จักนำเอาความรู้ไปต่อยอดใช้งาน คือหนทางสู่การเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นคนอยากรวย คนอยากเป็นเศรษฐี ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง แต่ต้องรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ให้เป็น มีไอเดียที่แตกต่าง ขยัน มุ่งมั่น และทำให้เต็มที่ สิ่งเหล่านี้คือบันไดที่จะพาไปสู่ความสำเร็จได้
อ้างอิงจาก https://bit.ly/36ExmNy
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)