ทำร้าน Drive Thru ยากขนาดไหน?
Drive Thru คือ การขับรถเข้าไปซื้อของ หรือรับการบริการตามร้าน เป็นหนึ่งในช่องทางบริการที่สะดวกต่อผู้ใช้งาน คือเพียงแค่ สั่ง จ่าย รอรับสินค้า ไม่ต้องเสียเวลาลงจากรถ มีกรณีศึกษาในอเมริกาว่า Dunkin’s Drive-thru ใช้เวลาบริการลูกค้าน้อยที่สุดเพียง 216 วินาที แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับตัวสินค้าด้วย
กระแสของ Drive-Thru ยิ่งเป็นที่พูดถึงเมื่อตอนที่เกิดโควิดระบาด ซึ่งจุดเริ่มต้นของ Drive-Thru ต้องย้อนไปในช่วงปี 1921 จากร้านฟาสต์ฟู้ด Pig Stand ที่เสนอการให้บริการแบบใหม่ โดยลูกค้าที่สั่งอาหารไม่จำเป็นต้องลงจากรถแต่จะมีพนักงานของร้านเดินมารับออเดอร์ที่รถ ตลอดจนนำออเดอร์ที่เสร็จแล้วส่งมอบให้ลูกค้า ซึ่งเรียกพนักงานที่ให้บริการแบบนี้ว่า “Carhop” โดยมีชื่อเรียกการให้บริการแบบนี้ว่า “Drive-In”
และกลยุทธ์นี้ก็ได้รับความนิยมมีหลายแบรนด์นำไปใช้ หนึ่งในนั้นคือแบรนด์ Jack-in-the-Box และ Wendy’s ที่นำรูปแบบการให้บริการแบบนี้มาใช้ จนกลายเป็นชื่อเรียกแบบใหม่ว่า “Drive Thru” กระทั่งปี 1970 Mcdonald ได้เปิดตัวร้านแบบ Drive-Thru เป็นครั้งแรกในรัฐ Sierra Vista และ Arizona หลังจากนั้นก็เริ่มแพร่หลายไปในยุโรปและเอเชีย
ภาพจาก https://bit.ly/3S6VgcL
ตัดกับมาที่ประเทศไทยหลายธุรกิจทหันมาใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Drive-Thru โดยใช้ทำเลที่ตั้งตามสถานีบริการน้ำมัน ถนนหนทาง เส้นทางที่มีรถสัญจรผ่านไปมา ทั้งในตัวเมือง และนอกเมือง โดยมีหลายแบรนด์ยกตัวอย่างเช่น
- Daiso Sushi Drive Thru
- KFC Drive Thru
- Burger King Drive Thru
- McDonald’s Drive Thru
- Starbucks Drive Thru
- วราภรณ์ ซาลาเปา Drive Thru
- Café Amazon Drive Thru
- Dunkin’ Donuts Drive Thru
ซึ่งไม่ใช่แค่ในกลุ่มอาหาร – เครื่องดื่มเท่านั้น แม้แต่สถาบันการเงินก็มี Drive Thru เช่นกัน ยกตัวอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่เปิดให้บริการแบบ DRIVE-THRU BANKING ตามสถานีบริการน้ำมันของปตท. หรือแม้แต่ไปรษณีย์ไทยก็เปิดบริการ “Laksi DRIVE-THRU POST” ที่หลักสี่ เพื่อให้บริการฝากส่งพัสดุไปรษณีย์เพียง 3 นาที โดยไม่ต้องลงจากรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์
ภาพจาก https://bit.ly/3xODu7l
และกลยุทธ์ Drive Thru ก็ดูจะไม่ใช่แค่กลยุทธ์ที่มาแบบเล่นๆ หลายแบรนด์เอาจริงเรื่องนี้มาก อย่าง แมคโดนัลด์ วางแผนเปิดสาขา Drive-Thru Stand Alone นอกศูนย์การค้ามากขึ้นด้วยเป้าหมายจะขยายสาขารวมอีก 200 สาขา
โดยกว่าครึ่งหรือ 100 สาขาจะเป็น Drive-Thru และจะเน้นทำเลย่านชุมชน แหล่งท่องเที่ยว หรือจะเป็นทางด้าน KFC ที่จริงจังเรื่องนี้เหมือนกันพร้อมขยายสาขา Drive-Thru ให้มีมากกว่า 100 สาขาทั่วประเทศ
ไม่ใช่แค่เรื่องการขยายสาขาเท่านั้น แม้แต่เทคนิคการตลาดหลายแบรนด์คิดไอเดียมานำเสนอเพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็น Drive-Thru ที่รวดเร็วสมชื่อ อย่างล่าสุด แมคโดนัลด์ ปิ๊งไอเดีย ชวนลูกค้าท้าความเร็ว กับแคมเปญ “McDrive-Thru 2 Minutes Challenge muj ท้าให้ลองพิสูจน์ความเร็วง่ายๆ เมื่อใช้บริการจากไดรฟ์ ทรู และหากว่ารอรับอาหารนานเกิน 2 นาที รับฟรีทันที! ไก่ทอดแมค 1 ชิ้น เป็นต้น
ภาพจาก https://bit.ly/4f43tZ7
หากมาลองวิเคราะห์ว่าทำไม Drive-Thru ถึงกลายเป็นช่องทางขายที่สำคัญจะพบว่ามี 3 ปัจจัยสำคัญคือ
- ลดเปอร์เซ็นต์การนั่งแช่ในร้านของลูกค้า เพราะการขายของแบบ Drive-Thru กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อกลับบ้านมากกว่า ทำให้ในหนึ่งวันร้านค้าสามารถรับลูกค้าได้มากขึ้น
- จำกัดเวลาในการตัดสินใจ ลดความลังเลในการเลือก ทำให้ขายสินค้าได้ง่าย ได้ทันที
- ผู้บริโภคมักตัดสินใจซื้อสินค้าทันทีที่เห็น ซึ่งผลการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่าลูกค้ามากกว่า 70% ตัดสินใจซื้อทันทีที่เห็นสินค้า ซึ่งการขายแบบ Drive-Thru ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นมาตั้งแต่ระยะไกลว่ามีร้านค้าอยู่ตรงนี้ และมักตัดสินใจแวะตั้งแต่มองเห็น
ต่อคำถามที่ว่า “ทำร้าน Drive Thru นั้นยากขนาดไหน” ก่อนอื่นต้องไปดูในภาพรวมการลงทุน Drive-Thru อาจต้องใช้งบลงทุนที่สูงขึ้นเฉลี่ยกว่า 5 ล้านบาทต่อสาขา (โดยขึ้นอยู่กับแบรนด์) นับรวมตั้งแต่ค่าก่อสร้าง งานวางระบบในร้าน
และแม้จะเป็นร้านที่ใช้พนักงานไม่เยอะแต่ก็ต้องมีเทคโนโลยีในการบริหารจัดการที่มากกว่าร้านปกติทั่วไป แต่ถึงอย่างไรก็ถือว่าเป็นการทำตลาดเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีความเร่งรีบได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญเพิ่มยอดขายได้กว่า 25-30%
ภาพจาก https://bit.ly/3XYvECB
แต่ด้วยจำนวนการลงทุนที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นการลงทุนที่เหมาะกับแบรนด์ใหญ่ มีเงินทุนมากพอ รวมถึงต้องเป็นแบรนด์ที่มีระบบบริหารจัดการอย่างดีเยี่ยม สำหรับธุรกิจขนาดกลาง – ขนาดเล็ก ไม่เหมาะสมกับการลงทุนแบบ Drive-Thru แต่ควรเน้นไปที่การขยายสาขามากกว่า
ทั้งนี้คาดว่าในอนาคต Drive-Thru จะยังมีการเติบโตได้ต่อเนื่อง ที่สำคัญ Drive-Thru ยังเป็นภาพลักษณ์ว่าแบรนด์ดังกล่าวมีความสนใจของลูกค้าทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan