ทำร้านอาหารควรมีกำไรกี่ % ถึงจะขายแฟรนไชส์ได้?
ร้านอาหารเราขายดีมาก! แถมมีลูกค้าสนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ แต่เป็นตัวเราเองที่ยังไม่มั่นใจว่าควรถึงเวลาปล่อยขาย “แฟรนไชส์ได้หรือยัง?” กำไรที่เราได้อยู่ตอนนี้ ดีพอให้คนอื่นเอาไปลงทุนไหม? ลองหาข้อมูลดูก็ยังไม่มีที่ไหนบอกชัดๆ ว่าร้านอาหารเราควรกำไรกี่% ถึงจะเรียกว่าดีพอให้ขายแฟรนไชส์ได้
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าร้านอาหารมีต้นทุนสำคัญอะไรบ้าง
- ต้นทุนวัตถุดิบ (Cost of good sold) ควรมีสัดส่วนประมาณ 40 %
- ต้นทุนแรงงาน (Labor costs) ควรมีสัดส่วนประมาณ 15 – 20%
- ต้นทุนค่าเช่าที่ (Cost of rent) ควรมีสัดส่วนประมาณ 15 – 20%
- ต้นทุนค่าสาธารณูปโภค (Utilities costs) ควรมีสัดส่วนประมาณ 1 – 5 %
- ต้นทุนค่าการตลาด (Marketing costs) ควรมีสัดส่วนประมาณ 2 – 5%
- ต้นทุนอื่น ๆ (Miscellaneous) ควรมีสัดส่วนประมาณ 1 – 5 %
การที่ร้านอาหารจะประสบความสำเร็จ และมีกำไรควรให้ต้นทุนสำคัญมีสัดส่วนตามที่ได้กล่าวไป ซึ่งถ้าคิดจะขยายเป็นแฟรนไชส์ต้องมั่นใจว่าร้านเรามีองค์ประกอบดังนี้
- เป็นธุรกิจสร้างผลกำไรได้จริง
- สามารถทำซ้ำได้ หรือเปิดสาขารูปแบบเดียวกันได้หลายสาขา
- มีระบบการทำงานที่ทำให้คนอื่นสามารถทำตามได้ เช่นมีคู่มือปฏิบัติงาน ระบบการฝึกอบรม ฯลฯ
อยากทำร้านอาหารเป็นแฟรนไชส์ ควรมีกำไรกี่ %
ในการทำร้านอาหารให้เป็นแฟรนไชส์เราต้องคิดถึงโอกาสในการสร้างกำไรของผู้ลงทุนด้วย ถ้าร้านเราเองยังมีกำไรไม่พอ เอาตัวรอดยังไม่ได้ การขยายแฟรนไชส์ก็เป็นไปไม่ได้ จากแผนภาพที่ปรากฏเราแยกให้เห็นภาพชัดเจนว่าต้นทุนสำคัญแต่ละประเภทควรมีสัดส่วนเท่าไหร่ กำไรสุทธิก่อนร้านอาหารจะเป็นแฟรนไชส์ควรอยู่ที่ 25% คำถามคือ ทำไมต้อง 25% ??
เพราะเราต้องไม่ลืมว่าระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน บรรดาแฟรนไชส์ซีจำเป็นต้องจ่ายค่า Marketing Fee และ Royalty Fees ให้กับแฟรนไชส์ซอ หมายความว่ารายได้ของแฟรนไชส์ซีเองต้องหักออกในส่วนนี้ออกด้วยรวมแล้วประมาณ 7%
ถ้าแฟรนไชส์ซอมีกำไร 25% เมื่อเราลงทุน (แฟรนไชส์ซี) ต้องหัก Marketing Fee + Royalty Fees อีก 7% จะมีกำไรแท้จริงอยู่ที่ 18% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าเพียงพอให้การลงทุนมีกำไรได้ เพราะตัวเลขนี้คือกำไรสุทธิที่แฟรนไชส์ซีจะได้รับ
ซึ่งระยะเวลาคืนทุนของแฟรนไชส์ซีจะเป็นเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับ “งบลงทุน” ในเบื้องต้น
ยกตัวอย่าง แฟรนไชส์ร้านอาหารแห่งหนึ่งขายแฟรนไชส์ให้คนสนใจ แฟรนไชส์ซีใช้งบในการลงทุนรวม 360,000 บาท นั่นหมายความว่าสิ่งที่ผู้ลงทุนจะได้รับคือวิธีการบริหารจัดการร้าน , การฝึกอบรม , การพัฒนาบุคลากร , การส่งเสริมด้านการตลาด , การสอนสูตรเมนู เป็นต้น และถ้าหากร้านมียอดขายอยู่ที่ 200,00 บาท กำไรของแฟรนไชส์ซีจะได้อยู่ที่ 18% ต่อเดือนหรือประมาณ 36,000 บาท จึงมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 10 เดือน
**ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) คือ ระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เราลงทุนเปิดร้านหรือทำธุรกิจ จนถึงวันที่เราได้ผลตอบแทน หรือได้กำไรคืนเท่ากับเงินที่ลงทุนไปตอนแรก**
อย่างไรก็ดีตัวเลขต้นทุนอาจผันแปรได้เช่นถ้าเราไม่ได้มีต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ก็สามารถตัดรายจ่ายนี้ออกไป หรือถ้าเราบริหารจัดการสต็อคได้ดี ลดการสูญเสียวัตถุดิบ (food waste) ได้มาก ต้นทุนวัตถุดิบเราอาจลดลง ก็จะไปเพิ่มที่ผลกำไรได้มาก
แม้แต่ในเรื่องของต้นทุนแรงงาน (Labor costs) ก็สำคัญ ถ้าเป็นการทำงานโดยญาติพี่น้องช่วยกันทำ ต้นทุนก็อาจลดลงหรือถ้าจ้างพนักงานจำนวนน้อย (แต่ต้องให้สัมพันธ์กับขนาดร้าน) รายจ่ายค่าแรงงานก็น้อยลง
การเป็นแฟรนไชส์ซีที่ลงทุนในธุรกิจร้านอาหารจึงต้องรู้จักการบริหารต้นทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงควรให้ความสำคัญกับทำเลที่เปิดร้าน และต้องวางกลยุทธ์ในการส่งเสริมด้านการตลาดได้อย่างถูกต้อง อาจช่วยให้การลงทุนมีสัดส่วนกำไรเพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาในการคืนทุนที่น้อยลง ยิ่งเวลาคืนทุนน้อยลงได้มากเท่าไหร่ ก็หมายความว่าโอกาสในการสร้างกำไรก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
ทีนี้ลองสำรวจร้านอาหารตัวเองกันดูว่าตอนนี้ร้านเรามีกำไรกี่% เหมาะสมจะเป็นแฟรนไชส์ได้หรือยัง หรือถ้าไม่มั่นใจและต้องการที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาร้านให้เป็นแฟรนไชส์ ติดต่อไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ คลิก https://citly.me/8N2hZ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)