ทำงานมา “หลายปี” ควรทำต่อหรือลาออกไปทำธุรกิจ?

Ladder เว็บไซต์หางานจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าพนักงานบริษัทกว่า 81% แกล้งทำเป็นมีความสุขกับการทำงาน และคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำ พนักงานที่แกล้งมีความสุขกว่า 66% เจอปัญหานอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ และกว่า 89% รู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยเมื่อกลับถึงบ้าน

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนทำงานประจำส่วนใหญ่อยากลาออก “อยากมีธุรกิจของตัวเอง” ถ้าเป็นคนที่เริ่มทำงานใหม่ๆ อายุงานไม่เกิน 5 ปี การไปแสวงหาความท้าทายใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องคิดมาก แต่ถ้าเราทำงานมานานเช่น 10 ปีขึ้นไปในบริษัทเดียว แบบนี้ถ้าคิดอยากลาออกไปทำธุรกิจของตัวเอง จะเป็นความคิดที่ถูกหรือไม่ถูก ต้องลองมาวิเคราะห์กันดู

แนวคิดตัดสินใจ ทำงานมานาน อยู่ต่อ! หรือ ลาออก ดีกว่ากัน???

1.บริษัทมีอนาคตแค่ไหน??

18

ภาพจาก www.freepik.com

เหตุผลของบางคนที่ยังทำงานอยู่เพราะว่า “ยังไม่มีงานที่ดีกว่า” ทั้งที่ความจริงบริษัทที่ทำอยู่ก็ไม่ได้ดีไปกว่าที่อื่นแถมบางที่ยังแย่กว่า บริษัทบางแห่งโบนัสก็ไม่มี โอทีก็ไม่มี เบี้ยเลี้ยง เบี้ยขยันก็ไม่มี แถมเจ้านายก็ยังจู้จี้จุกจิก ทำงานไม่เป็นระบบ ที่สำคัญเงินเดือนก็ไม่สูง แบบนี้เรียกว่าเป็นบริษัทที่ไม่มีอนาคต คนทำงานเพียงแค่อาศัยทำงานไปวันๆ ดังนั้นหากเจอบริษัทแบบนี้อาจมีเหตุผลให้เราตัดสินใจลาออกไปทำธุรกิจน่าจะดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยความพร้อมของแต่ละคนด้วย

2.โอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน

17

ภาพจาก www.freepik.com

เราต้องเทียบปัจจัยเติบโตว่าหากเราทำงานในบริษัทนั้นต่อไป ในระยะเวลาอีก 5-10 ปี เราน่าจะมีโอกาสก้าวไปถึงระดับไหน หากเป็นบริษัทที่มีระบบการทำงานชัดเจน มีการปรับเงินเดือน ปรับตำแหน่ง มีเงินเก็บสะสม คิดว่าถ้าทำงานมานานก็ควรจะทำต่อไปเพราะบริษัทแบบนี้ให้ความมั่นคงได้ แต่ในทางกลับกันหากเจอบริษัทที่ตำแหน่งเราไม่มีทางขยับ เงินเดือนก็ไม่ขยับ ทำงาน 5-10 ปีเงินเดือนก็กระดิกจากเดิมแค่นิดหน่อย แบบนี้ก็เป็นปัจจัยที่ควรบอกให้เราพอแค่นี้แล้วไปหาธุรกิจตัวเองทำจะมีความมั่นคงมากกว่า

3.รายได้คุ้มค่ากับงานที่ทำแค่ไหน

16

ภาพจาก www.freepik.com

คราวนี้ลองนำรายได้ของเรามาเทียบดูความคุ้มค่า ยกตัวอย่างเช่นเราทำงานมา 10 ปี ตอนนี้เงินเดือน 20,000 ในแต่ละปีเราจะมีรายได้ประมาณ 240,000 บาท ไม่รวมโบนัส และเงินพิเศษต่างๆ (หากมี) ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขนี้ยังไม่ได้เอาไปหักค่าใช้จ่ายจิปาถะในชีวิตประจำวันเช่นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ ลองคิดอย่างละเอียดแล้วดูว่าในแต่ละปี เรามีเงินเหลือเท่าไหร่ และหากลาออกตอนนี้เท่ากับเราจะตัดเงินเดือนส่วนนี้ออกไป และจะมั่นใจได้แค่ไหนว่ากิจการที่เราจะออกไปทำจะสามารถสร้างรายได้ไม่น้อยกว่าการทำงานประจำ

4.ปัจจัยทางด้านอายุของตัวเราเอง

15

ภาพจาก www.freepik.com

ในที่นี้เราพูดถึงคนที่ทำงานมานาน นั่นหมายความว่าอายุของคนในกลุ่มนี้ที่คิดจะลาออกต้องไม่ต่ำกว่า 35-45 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้น่าจะทำงานมาอย่างน้อย 10-15 ปี หากอยู่ในบริษัทที่มั่นคงก็ต้องมีตำแหน่งที่สูง เงินเดือนที่สูงกว่าเด็กจบใหม่ เราต้องมาวิเคราะห์ดูว่า ด้วยอายุของเราตอนนี้ไม่ต่ำกว่า 35-45 ปี หากออกไปทำธุรกิจเอง เราจะทำธุรกิจอะไร และเราจะมีแรงกายแรงใจมากพอจะเริ่มต้นในจุดนี้แค่ไหน หรือบางคนได้เริ่มทำธุรกิจควบคู่ไปกับงานประจำ รอให้ธุรกิจเดินหน้าสร้างรายได้จึงค่อยลาออกมาบริหารธุรกิจตัวเองเต็มรูปแบบก็เป็นอีกวิธีที่ทำได้และลดความเสี่ยงได้มากด้วย

5.เงินสะสมตอนเกษียณคุ้มค่าที่จะทำงานต่อแค่ไหน??

14

ภาพจาก www.freepik.com

หลายคนที่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานบริษัท เพราะบางแห่งมีเงินสะสมที่หักจากเงินเดือนทุกเดือนจะมีการสมทบหรือไม่ก็แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละบริษัท สิ่งที่ทำให้หลายคนทนทำงานต่อแม้บางทีไม่อยากทำก็เพราะเงินสะสมตอนเกษียณ ซึ่งบางแห่งได้เป็นเงินก้อนที่สูงมาก ขึ้นอยู่กับอายุในการทำงานเป็นสำคัญ

ดังนั้นหากตัวเราอายุมากในระดับหนึ่ง และมีความคิดจะทำธุรกิจหรือลาออก อย่าลืมเอาเหตุผลข้อนี้มาหักลบกันดูว่าเราควรอยู่ต่อเพื่อสะสมเงินเกษียณให้มากขึ้น หรือหากไม่มีเงินสะสมก้อนนี้ก็อาจทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะจำเป็นที่ต้องรีบขยับขยายเพื่อหาเงินทุนไว้ใช้ในยามแก่ชรา

ทั้ง 5 ข้อเป็นคำถามที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนคิดจะลาออก ซึ่งยังมีเหตุผลอีก 5 ข้อที่บอกตัวเราได้เลยว่า “อย่าคิดลาออกไปทำธุรกิจ” ถ้าเรารู้สึกดังนี้

13

ภาพจาก www.freepik.com

1.ไม่รู้เป้าหมายในอนาคต ไม่มีการวางแผนเรื่องการทำธุรกิจเอาไว้แต่เนิ่นๆ และคิดจะไปเริ่มหลังจากที่ลาออกแล้ว

2.ลาออกเพราะอยากมีเวลา และคิดว่าเมื่อมีเวลาก็จะหางานหรือธุรกิจอะไรทำได้ง่ายๆ

3.อยากลาออก อยากมีธุรกิจ เพราะเงินเดือนที่ได้แม้จะสูงมากแต่ก็ไม่พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ถ้าการคิดลาออกในลักษณะนี้ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดวิธี ทางที่ดีควรไปวางแผนการใช้เงินของตัวเองก่อนจะดีกว่า

12

ภาพจาก www.freepik.com

4.คิดว่าเรารู้จักคนมาก ถ้าลาออกจะมีคนช่วยเหลือเราได้ คนที่ทำงานมานาน อาจมี Connection เยอะก็จริง แต่นั่นก็เพราะเรายังทำงานในบริษัทนั้น คนที่เรา Connection ด้วยจึงติดต่อได้ง่าย แต่หากเราคิดว่าถ้าเราออกมาทำธุรกิจเอง จะสามารถ Connection กับคนกลุ่มนี้ได้ อาจเป็นความเสี่ยงที่เราต้องแบกรับในอนาคต

5.ลาออกเพราะคิดว่าจะใช้เงินที่ได้จากการลาออกมาเริ่มทำธุรกิจ อันนี้ถือเป็นความคิดที่เสี่ยงมาก เพราะเงินที่เราสะสมมานานจากการทำงานควรเป็นเงินที่เราได้ใช้ในยามเกษียณ แต่เมื่อเราตัดสินใจลาออกมาทำงาน ซึ่งการทำธุรกิจไม่มีคำว่าเกษียณ เราควรมีเงินทุนต่างหากที่ไม่เกี่ยวกับเงินสะสม เผื่อที่ว่าหากผิดพลาดในการลงทุนเรายังพอมีเงินทุนเหลือใช้ในยามแก่ชราได้จริงๆ

11

ภาพจาก www.freepik.com

ทั้งนี้ข้อมูลน่าสนใจหากคิดลาออกจริงๆ เราจะต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น เรามีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเงินเดือนละ 4,500 บาท และยังมีสิทธิคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ใน 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร เสียชีวิต

นอกจากนี้เงินประกันสังคมที่เราจ่ายในระหว่างทำงาน ส่วนหนึ่งนำไปสะสมเป็นเงินออมชราภาพ โดยสามารถขอคืนได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ส่วนจะได้รับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินเข้าประกันสังคม หลังจากลาออกภายใน 6 เดือนเราควรยื่นสมัครเป็นสมาชิกประกันสังคมต่อแบบผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เพื่อมีสิทธิประโยชน์คุ้มครองรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ และรักษาสิทธิเงินออมชราภาพ

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2S7mFPH , https://bit.ly/3hGi1CS , https://bit.ly/3f21O9r , https://bit.ly/3oyY2Yi , https://bit.ly/3wpvpjc , https://bit.ly/3u7KvYM

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3q1ubcY

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด