ทำงานประจำ VS ทำธุรกิจส่วนตัว อะไรได้เงินเยอะ

คนรุ่นใหม่หลายๆ คนกำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเลือก ทำงานประจำ VS ทำธุรกิจส่วนตัว แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกวิธีการทำธุรกิจแบบไหน ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จและมีรายได้มากกว่า วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำแนวทางก่อนตัดสินใจเลือกวิธีและรูปแบบการทำธุรกิจให้ครับ

ทำงานประจำ

ทำงานประจำ VS ทำธุรกิจส่วนตัว

1.มีรายได้ประจำทุกเดือน

ช่วงสิ้นเดือนหรือปลายๆ เดือนจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขของคนทำงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน เพราะจะมีเงินเข้าบัญชี บางบริษัทอาจมีเบี้ยขยัน โบนัสตามผลประกอบการของแต่ละบริษัท ไม่ต้องมาลุ้นว่าในแต่ละวันหรือแต่ละเดือนจะขายของได้ไหม หรือมีลูกค้ามาใช้บริการในร้านไหม

2.ไม่ต้องใช้เงินทุนก็มีรายได้

คนที่ทำงานประจำจะได้เปรียบคนเปิดร้านเองตรงที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก หรือไม่ต้องใช้เงินอะไรเลยก็สามารถทำงานในบริษัทใหญ่โตได้ ใช้เพียงแรงกายและสติปัญญาที่ได้เล่าเรียนมาแล้วทำตามงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือองค์กร ก็ได้เงินเดือนเป็นค่าตอบแทน

ทำงานประจำ VS ทำธุรกิจส่วนตัว

3.ลาหยุดงานก็มีรายได้

พนักงานประจำสามารถหยุดงานหรือลางานได้ โดยที่ไม่ได้ถูกหักเงินเดือนแต่อย่างใด หลายๆ บริษัทมีการทำประกันสุขภาพและสวัสดิการต่างๆ ให้พนักงานเพิ่มอีกด้วย เช่น ช่วยผ่อนบ้าน ค่ารถ ค่ามือถือ ค่าคลอด ซึ่งเท่ากับว่ารายได้ไม่หายแล้วยังได้รับความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย

4.เปลี่ยนงานหรือเลื่อนตำแหน่ง

คนทำงานประจำสามรถเปลี่ยนงานหรือลาออกจากงาน เพื่อไปทำงานในองค์กรหรือบริษัทที่ให้เงินเดือนที่สูงกว่าได้ตลอดเวลา ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อแลกกับรายได้ที่เข้ามาเพิ่มขึ้น เหมือนลงทุนทำธุรกิจเอง

73

5.ขอกู้เงินจากธนาคารได้ง่าย

คนทำงานประจำได้เปรียบเจ้าของธุรกิจหรือคนที่เปิดร้านขายของทั่วๆ ไป ตรงที่เวลาไปขอกู้เงินจากธนาคารจะได้ง่ายกว่าเจ้าของกิจการหรือพ่อค้าแม่ทั่วไป เพราะธนาคารมองว่ามีรายได้เข้ามาประจำ สามารถผ่อนชำระได้สม่ำเสมอตรงเวลา

6.วันหยุดหาสามารถรายได้พิเศษ

คนทำงานประจำส่วนใหญ่จะมีหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ หากอยากมีรายได้เพิ่ม หรืออยากรวยเร็ว ก็สามารถหานรายได้พิเศษจากการขายของ การลงทุนหุ้น การสอนพิเศษ และอื่นๆ ได้

นั่นคือข้อดีของการทำงานประจำ สามารถสร้างรายได้และทำให้ตัวเองร่ำรวยได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับตัวเราเองด้วยเหมือนกัน ว่าจะเลือกงานประจำแบบไหนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด


ทำธุรกิจส่วนตัว

72

1.เป็นนายของตัวเอง

ทำกิจการของตัวเองจะได้เป็นนายของตัวเอง นั่นก็คือ เมื่อคุณคิดอะไรได้ คุณจะต้องสั่งตัวเองให้ทำสิ่งต่างๆ ตามที่คิดออกมาตั้งแต่ทำของเอง ขายเอง เวลาได้กำไรหรือขาดทุนก็จะเป็นของคุณเอง ซึ่งทำให้คุณมีอำนาจในการบริหารงานได้อย่างเต็มที่ สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ และแน่นอนก็จะทำให้กิจการของคุณได้รับประโยชน์สูงที่สุด

2.ใช้ไอเดียบริหารธุรกิจเต็มที่

การเป็นเจ้าของกิจการ จะทำให้คุณได้ฝึกทักษะด้านการบริหาร ฝึกความอดทน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของคุณเกือบจะทุกด้านก็ว่าได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะผ่านปัญหาและหาวิธีแก้จนทำให้ทุกวันนี้สามารถประสบความสำเร็จได้

71

3.มีโอกาสร่ำรวยรวดเร็วกว่า

การเป็นเจ้าของธุรกิจมีโอกาสที่จะร่ำรวยเร็วกว่าการเป็นพนักงานประจำทั่วไป เพราะธุรกิจเป็นของตัวคุณเอง คุณสามารถกำหนดอัตราค่าแรง ค่าจ้างให้กับพนักงานหรือลูกจ้างของคุณได้เอง ดังนั้น ยอดการขาย และรายได้ต่างๆ ที่เข้ามาในบริษัท หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างในแต่ละวัน แต่ละเดือน เงินที่เหลือก็จะเป็นของคุณเอง สามารถนำไปลงทุนต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้นกว่าเดิม ตรงนี้คุณก็สามารถกลายเป็นเศรษฐีได้ไม่ยาก

4.มีอำนาจในการสร้างทีมงาน

การเป็นเจ้าของธุรกิจแน่นอนว่าคุณจะต้องเป็นคนคัดเลือกบุคลากร พนักงาน ลูกจ้าง เข้ามาร่วมทำงานกับคุณด้วยตัวเอง เพราะคุณจะได้รู้ว่าจะเอาคนแบบไหนทำงานด้านไหน ตำแหน่งไหน ทุกอย่างเป็นอำนาจของคุณที่จะตัดสินใจ การเป็นเจ้าของธุรกิจสามารถเลือกเอาคนที่ตัวเองชอบมาร่วมทำงานได้ ไม่เหมือนกับการเป็นลูกจ้าง ที่ต้องทำงานกับคนที่ไม่ถูกใจ

ทำงานประจำ VS ทำธุรกิจส่วนตัว

5.สามารถขยายธุรกิจสร้างรายได้

เจ้าของธุรกิจสามารถสร้างและนำพาธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง ดังนั้น คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจก็จะสามารถคิดอะไรที่ใหญ่ๆ เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโต มีรายได้มหาศาล คนที่เป็นลูกจ้างจะไม่สามารถคิดแบบนี้ได้ แต่ถ้าสามารถคิดได้ ก็จะถูกคัดค้านจากคนอื่น แต่ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจอำนาจตัดสินใจอยู่มืออย่างเต็มที่ จะทำอะไรก็ทำเลย

6.เกษียณอายุได้ตั้งแต่อายุน้อย

การเป็นเจ้าของธุรกิจหากกิจการประสบความสำเร็จและสร้างผลตอบแทนได้มาก มีสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามาก และเงินเก็บที่มากพอ คุณก็จะสามารถเกษียณได้ตั้งแต่อายุน้อย และไปทำในสิ่งต่างๆ ที่ชอบได้ แต่คุณก็อย่าลืมที่จะหาตัวตายตัวแทนมารับช่วงดูแลบริหารจัดการธุรกิจที่คุณสร้างมากับมือต่อจากคุณ คัดเลือกคนที่คุณไว้ใจ และทำงานแทนคุณได้

นั่นคือ ข้อดีของการทำธุรกิจส่วนตัว หรือเปิดร้านขายของเอง ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองโดยที่ไม่ต้องแบ่งให้กับใคร อาจจะมีค่าใช้จ่ายให้กับทีมงาน พนักงาน แต่บางครั้งต้องใช้เงินลงทุนสูงในการขยายธุรกิจ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/37SXs3X

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช