ถอดรหัส แฟรนไชส์โมเดล Mixue กระบี่ไร้เทียมทาน

กระแสของ Mixue ยังแรงต่อเนื่อง ตอนนี้ถ้าไปเดินตามห้างสรรพสินค้าเราจะเห็นแบรนด์นี้แทบทุกที่ เรียกว่าเป็นการรุกตลาดเมืองไทยที่ลูกค้าหลายคนก็ติดใจสินค้าของ Mixue ซะด้วย

ความเร็วแรงของ Mixue เหนือกว่าที่คิดไว้มากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Mixue ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทใหญ่ระดับโลกโดยมีจำนวนสาขามากเป็นอันดับที่ 4 แซงหน้า KFC เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งมีตัวเลขน่าสนใจดังนี้

  • McDonal’s สาขาทั่วโลก 40,275 แห่ง สาขาในไทย 227 แห่ง
  • Subway สาขาทั่วโลก 37,000 แห่ง สาขาในไทย 200 แห่ง
  • Starbucks สาขาทั่วโลก 36,170 แห่ง สาขาในไทย 409 แห่ง
  • Mixue สาขาทั่วโลก 36,153 แห่ง สาขาในไทย 200 แห่ง
  • KFC สาขาทั่วโลก 26,934 แห่ง สาขาในไทย 1,000 แห่ง

แฟรนไชส์โมเดล Mixue

ด้านผลประกอบการก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน Mixue มีมูลค่าแบรนด์กว่า 3 แสนล้านบาท ในแต่ละปีสามารถทำกำไรได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท อย่างในปี 2020 Mixue มีรายได้ 22,870 ล้านบาท ได้กำไร 3,090 ล้านบาท หรือในปี 2021 Mixue สามารถสร้างรายได้มากขึ้นเป็นสองเท่ากว่าปีที่แล้ว นั่นก็คือ 51,336 ล้านบาท ส่วนกำไรก็พุ่งสูงขึ้นถึง 9,475 ล้านบาท

ในปี 2022 มีรายได้ 67,329 ล้านบาท กำไร 9,903 ล้านบาท และในปี 2023 เพียงแค่ 9 เดือนแรกก็สร้างรายได้ถึง 76,345 ล้านบาท มีกำไร 11,907 ล้านบาท

ถามว่าความสำเร็จของ Mixue คืออะไร ตรงไหนที่จะถอดแบบโมเดลให้คนทำแฟรนไชส์ศึกษาได้บ้าง ลองไปดูกัน

1.สร้างแบรนด์ให้ติดตลาด

แฟรนไชส์โมเดล Mixue

ในธุรกิจเครื่องดื่มมีคู่แข่งเยอะ สำคัญสุดคือทำอย่างไรให้คนหันมาสนใจและรู้จักแบรนด์ Mixue เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวสินค้าราคาถูกกว่าคู่แข่ง ตอนที่เริ่มสร้างแบรนด์ในจีนชณะที่แบรนด์อื่นชานมไข่มุกเฉลี่ย 94 บาท ไอศกรีมโคนราคาเฉลี่ย 50 บาท แต่ Mixue เล่นกลยุทธ์ด้านราคา เปิดตัวชานมไข่มุกแก้วละ 25 บาท ไอศกรีมโคนแค่ 10 บาทเท่านั้น

2.เน้นขายเยอะ เอากำไรน้อย

แฟรนไชส์โมเดล Mixue

หลักการของ Mixue เลือกที่จะไม่ตั้งราคาขายสินค้าสูง ๆ เพื่อให้มีอัตรากำไรเยอะ (Margin) แต่ตั้งราคาแบบย่อมเยา เพราะต้องการให้เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างให้ได้มากที่สุด แล้วเอาปริมาณการขาย (Volume) จำนวนมาก มาทดแทน

3.ขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์

แฟรนไชส์โมเดล Mixue

ตรงนี้คือหัวใจหลักของ Mixue ที่ทำให้เติบโตรวดเร็วทั้งในแง่จำนวนสาขาและกำไร หากไปดูตัวเลขรายได้ของ Mixue พบว่า

  • 72% มาจากการขายวัตถุดิบ ให้สาขา
  • 16% มาจากการขายแพ็กเกจจิง ให้สาขา

ตามเงื่อนไขในสัญญาแล้ว Mixue จะขายวัตถุดิบ วัสดุบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ และสินค้าอื่นๆ ให้กับร้านแฟรนไชส์ พร้อมกันนี้ ยังเก็บค่าแฟรนไชส์ ค่าบริหารจัดการ ค่าอบรม จากผู้ลงทุนตามระบบของแฟรนไชส์ เรียกได้ว่าคนที่อยากลงทุนแค่มีเงินพร้อม ที่เหลือ Mixue พร้อมสนับสนุนให้ทุกด้านสามารถเปิดร้านได้ทันที

สถานการณ์ของ Mixue ในตอนนี้ยังเป็นแค่ช่วงเริ่มต้นเท่านั้น นักวิเคราะห์คาดการณ์ต่อไปอีกว่ารายได้ของ Mixue ขณะนี้อาจยังเทียบไม่ได้กับแบรนด์ใหญ่อย่าง McDonal’s ที่มีรายได้กว่า 803,741 และมีกำไรกว่า 214,170 ล้านบาท ความห่างของรายได้อยู่ที่ 12 เท่า ขณะที่กำไรยังห่างมากถึง 22 เท่า แต่ความน่าสนใจคือ Mixue มีรายได้เติบโตเฉลี่ย 40% ต่อปี ส่วน McDonald’s มีอัตราการเติบโตเพียง 10% ต่อปี

นั่นแสดงว่าถ้า Mixue ยังรักษาอัตราการเติบโตคงเดิมไว้แบบนี้ในปี 2023 จะมีรายได้ 2.7 ล้านล้านบาท ส่วนทาง McDonald’s ถ้ายังโตแบบเดิมเช่นกัน เส้นกราฟของทั้ง 2 แบรนด์จะมาทันกันในอีก 10 ปีข้างหน้าและรายได้ของ Mixue จะเริ่มแซงหน้าขึ้นเป็นแบรนด์อันดับ 1 ของโลกในแง่รายได้ทันทีด้วย

อย่างไรก็ดีก็มีความกังวลที่ Mixue เองก็ต้องรับมือในเรื่องนี้ นั้นคือ เมื่อจำนวนสาขาที่มากขึ้นย่อมส่งผลต่อรายได้ของผู้ลงทุนเช่นกันยกตัวอย่างในเวียดนามนักวิเคราะห์การตลาดมองว่าการเติบโตที่รวดเร็วทำให้การกระจายสาขานั้นใกล้ชิดติดกันเกินไป แม้อาจเป็นผลดีของ Mixue ก็จริงแต่ในแง่คนลงทุนแล้วแตกต่างอย่างสิ้นเชิง แต่ละร้านควรจะต้องห่างกันอย่างน้อย

0.5-1 กม. แต่ในความเป็นจริง ณ ตอนนี้ในพื้นที่ที่เป็นทำเลน่าสนใจการเปิดร้านห่างกันแค่50 เมตร ซึ่งถือว่าหนาแน่นเกินไป เป็นความกังวลในระยะยาวว่าไม่ใช่แค่การแข่งขันกับแบรนด์อื่นเท่านั้นแต่ยังต้องแข่งขันกับลูกค้าจากแบรนด์ของตัวเองด้วย

ขอบคุณข้อมูล https://citly.me/TDVyp

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช