ถกไม่เถียง! แฟรนไชส์ Café Amazon รสชาติไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้

อร่อยไหม? แพงเกินไปป่าว? รสชาติแต่ละที่ไม่เห็นจะเหมือนกัน? นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นในใจของคนส่วนหนึ่งที่เคยใช้บริการ Café Amazon ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะทำธุรกิจใดๆ การจะให้คนถูกใจ100% คงเป็นไปไม่ได้ แต่ในแง่ของ Brand Identity ต้องยอมรับว่า Café Amazon นั่นชัดเจนมาก ส่งผลต่อการสร้าง Brand Loyalty ได้มากด้วย

แฟรนไชส์ Café Amazon รสชาติไม่ซ้ำ

ถ้ายังไม่เชื่อลองไปดูตัวเลขในการเติบโตของ Café Amazon ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

  • ยอดขายปี 2564 จำนวน 298 ล้านแก้ว
  • ยอดขายปี 2565 จำนวน 357 ล้านแก้ว
  • ยอดขายปี 2566 จำนวน 371 ล้านแก้ว

จำนวนสาขารวม

  • ปี 2564 จำนวน 3,628 สาขา
  • ปี 2565 จำนวน 3,895 สาขา
  • ปี 2566 จำนวน 4,159 สาขา

โดยแยกเป็นสาขาในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 2,232 แห่ง และ นอกสถานีบริการน้ำมันอีก 1,927 แห่ง และมีสาขาในต่างประเทศอีก 22 แห่งด้วย

แน่นอนว่าเมื่อมีสาขาจำนวนมาก ย่อมส่งผลต่อ “คุณภาพและมาตรฐาน” ซึ่งก็เป็นที่มาของความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้างของลูกค้าที่รู้สึกว่า ทำไมสาขานี้อร่อย ไปอีกสาขาไม่อร่อย บางสาขาบอกขอหวานน้อยแต่ได้หวานมาก เป็นต้น ถ้าหากมองในแง่ของ “ระบบแฟรนไชส์”

ต้องยอมรับว่า Café Amazon มีการจัดวางในเรื่องของการลงทุนที่เป็นขั้นตอน นั่นก็รวมถึงการฝึกอบรมก่อนเริ่มกิจการได้จริง โดยแนวคิดของ Café Amazon คือ Beyond Coffee ที่มองว่ากาแฟไม่ใช่แค่ธุรกิจ แต่ยังให้ความสำคัญในด้านคุณภาพและบริการ ไปจนถึงสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วย

โดยเฉพาะการมีศูนย์ธุรกิจคาเฟ่ อเมซอน Amazon Inspiring Campus (AICA) ใน อ.วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะเป็น Training Center อบรมบาริสต้าทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยจะมีการ Re-Training และตรวจมาตรฐานของสาขาที่เปิดไปแล้วทุกปี

เพื่อรักษามาตรฐานการชง ความสะอาด และการบริการในทุกสาขาให้คงคุณภาพและมาตรฐานสากลให้เหมือนกันทุกสาขาทั่วประเทศ เพราะ Café Amazon ก็เข้าใจภาพรวมของธุรกิจดีว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องเข้มเรื่องระบบหลังบ้าน มีการตรวจสอบมาตรฐานแต่ละสาขาที่ดี หากร้านหนึ่งแย่จะกระทบอีกหลายร้านด้วยเช่นกัน

ถึงกระนั้นการควบคุมในเรื่อง “รสชาติ” แม้จะผ่านการฝึกอบรมก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในการ “คงรสชาติ” ให้เหมือนกันทุกสาขา

แฟรนไชส์ Café Amazon รสชาติไม่ซ้ำ

ยกตัวอย่างการชงเอสเปรซโซ่ปัจจัยสำคัญที่บาริสต้าไม่อาจมองข้ามคือการบรรจุกาแฟลงในบาสเก็ต (dose) ให้ได้มวลกาแฟที่เท่าเทียมกันในทุกช็อต เนื่องจากมวลกาแฟที่แตกต่างย่อมต้องการการปรับตั้งค่าในการช็อตกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา อุณหภูมิ แรงดัน ฯลฯ แต่เมื่อกำหนดการตั้งค่ามาตรฐานเอาไว้ การ dose จึงต้องควบคุมมวลกาแฟที่บรรจุลงไปให้ได้มาตรฐานเดิมด้วยจึงจะรักษารสชาติที่ดีเอาไว้ได้

แฟรนไชส์ Café Amazon รสชาติไม่ซ้ำ

หากจะบอกว่าความผิดพลาดในเรื่อง “รสชาติ” ที่เจอเป็นความผิดพลาด “รายบุคคล” ก็พอเข้าใจได้เพราะบาริสต้าแต่ละคนน้ำหนักมือต่างกัน การคะเนปริมาณกาแฟ การ Tamp (กด) แน่น เบา เอียง ไม่เท่ากัน ทำให้มีผลต่อรสชาติได้เช่นกัน

เมื่อเจอสาขาไหนที่อร่อยถูกใจ ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเลือกเป็นลูกค้าประจำของสาขานั้นๆ เพราะเชื่อใน “รสมือ” ที่จะอร่อยแน่นอน แต่ในบางครั้งถ้าต้องเดินทางไปต่างจังหวัดก็อาจต้องทำใจล่วงหน้าว่ารสชาติอาจเปลี่ยนไป ซึ่งก็มีทั้งที่แย่กว่าหรือบางทีอาจจะอร่อยกว่าไปเลยก็ได้

แฟรนไชส์ Café Amazon รสชาติไม่ซ้ำ

แต่ไม่ว่าอย่างไร Café Amazon ไม่ได้พยายามควบคุมแค่มาตรฐานในเรื่องรสชาติอย่างเดียว บริการอื่นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกพอใจ ประทับใจได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง การใช้ Application ผ่านบริการ Mobile Order & Pay สั่งเครื่องดื่มเสมือนไปสั่งกับพนักงานที่ร้าน และจ่ายเงินผ่านแอปฯ ได้หลายช่องทางทั้งบัตรเครดิต เดบิต เป็นต้น

รวมถึงการจัดโปรโมชั่นและการพัฒนาเมนูเครื่องดื่มใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์เหล่านี้ก็ทำให้ Café Amazon ยังคงเป็นแบรนด์ยอดนิยมแม้จะมีคนบ่นบ้างอะไรบ้างแต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจ ที่ต้องคอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละวันด้วย

แฟรนไชส์ Café Amazon รสชาติไม่ซ้ำ

รู้หรือไม่! ค่าตอบแทนของพนักงานอเมซอน ประจำปี 2566 อัตราค่าจ้างเฉลี่ยจะอยู่ที่ 9,500 – 17,000 บาท/เดือน (Part-time – Full Time) หรือเฉลี่ยต่อชั่วโมง 49 บาท/ชั่วโมง สำหรับตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานอเมซอนมีอยู่ 4 ตำแหน่งด้วยกัน ได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานชงเครื่องดื่ม พนักงานรับออเดอร์และดูแลเงินสด และผู้จัดการร้าน พนักงานชงเครื่องดื่ม (Barista)

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด