ตัวเล็กแต่ทรงพลัง! โลตัส โกเฟรซ! มินิบิ๊กซี! ร้านเล็ก ยอดขายเงินล้าน
โมเดล “ร้านขนาดเล็ก” ยุคนี้อาจทรงพลังกว่า “ร้านขนาดใหญ่” แม้แต่ธุรกิจค้าปลีกทั้งหลายก็หันมาใช้โมเดลร้านขนาดเล็กเจาะกลุ่มลูกค้า เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น
มองเห็นตัวอย่างกันชัดๆ อย่าง บิ๊กซีที่ใช้โมเดล “ มินิบิ๊กซี ” เข้าถึงลูกค้า เปิดปีละ 200-300 สาขา
หรือบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ที่จะใช้โมเดลสาขาเล็ก “โลตัส โก เฟรช” เปิดเพิ่มปีละ 120-150 สาขา
เช่นเดียวกับ “ซีเจ มอร์” ค้าปลีกโมเดลใหม่ที่เป็นมากกว่าร้านสะดวกซื้อทั่ว ๆ ไป เปิดเพิ่มปีละประมาณ 250 สาขา
รวมถึง 7-Eleven ที่ปรับโมเดลร้านสะดวกซื้อให้มีความครบวงจรตอบโจทย์ลูกค้าในทุกพื้นที่ได้มากขึ้น
ประการแรกของการปรับลดขนาดร้านจากใหญ่ไปเล็กคือการประหยัดงบในด้านการลงทุน แม้กระทั่ง OR ยังมีโมเดล “ปั๊มชุมชน” ที่ลดเงินลงทุนได้ถึง 30% จากปกติ 35-40 ล้านก็เหลือประมาณ 10-20 ล้าน เป็นต้น
คำถามต่อมาคือเมื่อลดขนาดร้านลงมา โอกาสสร้างยอดขาย จะดีแค่ไหน?
หนังสือเรื่อง The Millionaire Fastlane กล่าวถึงวิธีการเป็นเศรษฐีเงินล้านไว้อย่างเรียบง่ายและน่าสนใจว่า “TO MAKE MILLIONS, YOU MUST IMPACT MILLIONS” แปลก็คือ “ถ้าหากคุณอยากได้เงินล้าน คุณก็ต้องทำในสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน” นั่นหมายความว่าขนาดร้านเล็กหรือใหญ่ไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สำคัญว่าเราขายได้มากแค่ไหน
ลองคำนวณว่า
ถ้าเราขายของกำไรชิ้นละ 1,000 บาท ให้คน 1,000 คน เราจะมีกำไร 1,000,000 บาท
แต่ถ้าเราขายของกำไรชิ้นละ 1 บาท ให้คน 1,000,000 คนเราก็จะได้กำไร 1,000,000 บาทเช่นกัน
หรือให้เร็วขึ้นอีกหน่อย ขายของกำไรชิ้นละ 10 บาท ให้คน 100,000 คน เราก็ได้ 1,000,000 บาทเช่นกัน
ถ้าดูจากตัวอย่างของร้านค้าปลีกเป็นหลักจะเห็นว่าร้านเล็กนี่ดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่าร้านใหญ่ จำนวนคนที่เข้าร้านก็มากกว่า แม้คู่แข่งจะมากแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ และต้องยอมรับว่านี่คือการตลาดแบบโลกยุคใหม่ที่ต่างไปจากอดีตมาก
สอดคล้องกับสูตรวิธีการหาเงินล้าน = กำไรต่อหน่วย x จำนวนลูกค้า และแน่นอนว่าเราไม่จำเป็นต้องตั้งราคาสูงเพื่อเอากำไรเยอะ แต่เน้นขายในปริมาณมากเพื่อให้ได้กำไรเยอะจะดีกว่า เพราะยุคนี้คนส่วนใหญ่ชอบสินค้าที่ราคาไม่แพง จะกระตุ้นให้คนอยากซื้อได้มากขึ้น
เมื่อเป็นโมเดลขนาดเล็กต้นทุนเราต่ำลง การตั้งราคาก็สมเหตุสมผลกับราคาที่ลูกค้าจ่ายไหว ยังไม่รวมวิธีการแบบ Online to Offline โดยนำสาขามาเป็นฐานการจัดส่งสินค้าออนไลน์แก่ผู้บริโภคในทำเลใกล้เคียง ทำให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายได้เพิ่มขึ้น
วิธีการที่ธุรกิจขนาดใหญ่ “ลดขนาดร้าน” แต่ไม่ได้ลดในเรื่องคุณภาพหรือบริการ หากแต่ยุคนี้คือการแข่งกันที่ความเร็วในการเข้าถึงลูกค้าว่าใครจะทำได้ดีกว่า ดังนั้นการเปิดร้านขนาดเล็กจึงเป็นอีกวิธีสร้างเงินล้านให้กับคนทำธุรกิจได้
ในมุมของคนตัวเล็กๆ ที่อาจยังแค่เริ่มต้นก็มีสิทธิ์ขายของกำไรไปแตะหลักล้านได้เหมือนกัน อย่าไปกลัวว่า มีคู่แข่ง แล้วจะขายได้ยังไง เรามาทีหลัง เขามาก่อน จะสู้เขาได้ยังไง ก้าวแรกที่เราต้องทำคือ “ขายอะไรก็ได้” ที่เราถนัด เพราะสินค้าทุกชนิดมีฐานลูกค้าของตัวเอง
สำคัญคือ “ไอเดียการขาย” ที่ต้องเข้าถึงกลุ่มลูกค้าถ้าคิดหาอะไรใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมไม่ได้ ก็ลองขายในสิ่งที่พอคิดออก สิ่งที่มีคนอยากได้ แล้วมานั่งหาวิธีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ที่สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจำนวนมากดู เราก็สามารถประสบความสำเร็จตามสูตรเงินล้านได้เหมือนกัน
ถ้ายังไม่เห็นภาพจะลองนึกไปถึงสินค้าดูบ้างก็ได้อย่าง Lobo ขายซองละ 20 บาท แต่ก็ยังมีรายได้มากถึง 1,670 ล้านบาท หรือแม้แต่กระดาษทิชชู่ ที่ขายห่อละ 20 บาทเช่นกัน ก็ยังสร้างรายได้มากถึง 500 ล้านบาท
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)