ตะลึง! ทุนเริ่มต้นหลักหมื่น สร้างธุรกิจเสื้อยืด 400 ล้านบาท
ถ้าคุณมีเงิน 10,000 จะเอาไปทำอะไรดี บางคนบอกว่าเงินแค่นี้จะเอาไปทำอะไรได้ เก็บเอาไว้เฉยๆ ดีกว่า แต่สำหรับคนที่มีแนวคิดเป็นนักธุรกิจเงิน 10,000 นี้อาจเปลี่ยนเป็นเงินล้านได้ สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักว่าจะใช้เงินอย่างไรให้เกิดประโยชน์
และหากยังไม่เห็นภาพ www.ThaiSMEsCenter.com ขอแนะนำอีกหนึ่งธุรกิจเสื้อผ้า Rude Dog ที่ตอนนี้เป็นธุรกิจติดลมบน ยอดขายถล่มทลาย สินค้าแตกไลน์ไปเป็นอื่นๆ ได้อีกมาก แต่จุดเริ่มเขาน่าสนใจเพราะใช้เงินทุนเริ่มต้นแค่หลักหมื่นเท่านั้น
ทิ้งอาชีพวิศวกร ออกมาทำธุรกิจเสื้อผ้า
ภาพจาก https://bit.ly/3AxTNCd
วิศวกรน่าจะเป็นอาชีพที่รายได้ดี แต่ไม่ใช่สำหรับคุณเคน-อุดมศักดิ์ รักรอด ที่ใจรักงานออกแบบมากกว่า รวมถึงความรู้สึกที่อยากมีธุรกิจของตัวเอง ในช่วงที่ยังทำงานประจำแม้ว่าเงินเดือนจะดี ก็ยังแบ่งเวลามาขายเสื้อผ้าที่ตลาดนัดจตุจักรในตอนกลางคืน
จนกระทั่งตัดสินใจควักเงินทุนหลักหมื่นมาเริ่มสร้างธุรกิจตัวเอง ปรากฏว่าขายดี จึงตัดสินใจลงทุนเพิ่ม และเริ่มมีรายรับมากกว่างานประจำ สุดท้ายลาออกจากวิศวกรมาเริ่มทำธุรกิจของตัวเองอย่างเต็มตัว
เริ่มต้นสร้างแบรนด์ Rude Dog อย่างไร?
ภาพจาก https://bit.ly/3KMeIGA
กว่าจะเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จก็ต้องเริ่มทุกอย่างเป็นขั้นตอน แต่ก็ไม่ได้อิงตามตำราเป๊ะๆ แถมยังไม่ได้เอาหลักการตลาดใดๆ มาเป็นกรอบปฏิบัติแทนที่จะเริ่มหาว่าสินค้าเราควรขายใคร สิ่งที่ทำอันดับแรกกลับเป็น การออกแบบโลโก้ ได้ออกมาเป็นโลโก้รูปสุนัขพันธุ์บูลเทอร์เรีย และใช้แบรนด์ว่า Rude Dog ที่แปลตรงๆง่ายๆว่า “หมาหยาบคาย” ขั้นตอนถัดมาคือการ หาสินค้าที่จะทำ ก็มาสรุปที่จะทำ “ที-เชิ้ต” ออกขาย
ซึ่งก็มาจากความชอบของตัวเองอีกเช่นกัน และมองว่าเสื้อที-เชิ้ต เป็นสินค้าเข้าถึงคนได้ง่าย ต้นทุนทำได้ในราคาไม่สูงเกินไป และเป็นเสื้อที่ไม่มีวันตกเทรนด์ ทุกคนทุกบ้านต้องมีเป็นเสื้อใส่สบายๆ ส่วนจะฮิตมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคการตลาด แม้เสื้อ ที- เชิ้ต ในตลาดจะมีหลายแบรนด์
แต่คอนเซปต์ของ Rude Dogจะเน้นที่คุณภาพสินค้าให้ลูกค้าสัมผัสเนื้อผ้าแล้วตัดสินใจได้ทันที ยิ่งรู้ราคา ยิ่งตัดสินใจง่าย หรือจะเรียกว่าวางรูปแบบทุกอย่างของสินค้าให้เห็นแล้วอยากซื้อในทันทีก็ได้ ส่วนเรื่องอาร์ทเวิร์คหรือโลโก้ก็เป็นสิ่งดึงดูดที่สำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน
สำหรับช่องทางจำหน่าย เริ่มต้นจากหน้าร้าน “ขายส่ง” ในตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเปิดขายช่วงกลางคืน ขณะเดียวกัน ก็อาศัยช่องทาง “โซเชียลมีเดีย” ซึ่งเวลานั้นอาจยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยเริ่มจาก การถ่ายรูปสินค้า ลูกค้า บรรยากาศค้าขายในร้าน ก่อนนำไปโพสต์ในอินสตาแกรมและเว็บไซต์ ทำแบบง่ายๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว
จุดเด่นของ Rude Dog “เน้นการออกแบบ” ถูกใจคนซื้อ
ภาพจาก www.facebook.com/RUDEDOG.co
เสื้อที-เชิ้ตที่จะทำให้คนควักเงินซื้อได้ทันที คุณภาพสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกเส้นใยผ้าที่ดีที่สุด ผ่านกระบวนการทอด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง คุณสมบัติของเสื้อต้องไม่ยืด ไม่หด ไม่ย้วย มีการตัดเย็บอย่างประณีต และการสกรีนรูปภาพที่ไม่ซ้ำใคร ดูแล้วมีไอเดียน่าสนใจ
โดยเทคนิคการออกแบบลายเสื้อเน้นให้ดูน่ารักเพื่อให้ผู้หญิงชอบ เพราะผู้หญิงจะช็อปปิ้งมากกว่าผู้ชาย หากผู้หญิงชอบก็ต้องซื้อไปฝากผู้ชาย ส่วนฟอนต์ (Font) จะเน้นออกแบบให้ดูแข็งๆนิดเพื่อให้ผู้ชายสวมใส่ได้ ส่วนลวดลายจะอยู่กลางๆ ไม่มากไม่น้อยเกินไป โดยเสื้อยืดลายลักษณะดังกล่าวนี้ยังไม่ค่อยมีคนทำออกมามากนัก ขณะที่ลายจะออกแบบมาไม่เกิน 18 ลาย เพราะวิจัยมาแล้วว่าหากมีลายมากเกินลูกค้าจะไม่จดจำและติดตามผลงาน
ดังนั้นเมื่อมีลายใหม่เกิดขึ้น ลายเก่าก็ต้องหายไป แม้ครั้งแรกจะออกแบบเสื้อยืด Rude Dog เจาะกลุ่มลูกค้าเพศหญิงและชาย แต่นอกจากจะได้กลุ่มลูกค้าที่ตั้งใจไว้แล้ว กลับได้กลุ่มเพศที่ 3 ก็ชื่นชอบไม่แพ้กัน
ยอดขายถล่มทลาย สูงกว่า 400 ล้านบาท
ภาพจาก www.facebook.com/RUDEDOG.co
จะเรียกว่าเป็นพลังของโซเชี่ยลก็ว่าได้ เพราะการตลาดในช่วงแรกก็เน้นขายหน้าร้านที่จตุจักรบ้าง ออนไลน์บ้าง แต่ลูกค้าจะมาจากช่องทางออนไลน์มากกว่า ในช่วงที่เปิดตัวมาได้ประมาณ 1 ปี แต่ยอดขายกลับเติบโตอย่างรวดเร็วเกินคาดหมาย มียอดจำหน่ายสินค้ากว่า 25,000 ตัวที่มาจากพลังโซเชียลมีเดียล้วนๆ
ปัจจุบัน กิจการ Rude Dog เดินทางมาถึงจุด “แตกไลน์” สินค้า เพื่อให้เสื้อผ้าแต่ละแบรนด์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งแนวสตรีต แนวคู่รัก แนวสปอร์ตแวร์ เสื้อผ้าทุกแบรนด์ ภายใต้การดูแลของบริษัท อาร์ดี บ็อกซ์ จำกัด นั้น ถูกบรรจุไว้ในร้าน DOXX ของตัวแทนจำหน่ายกว่า 400 รายทั่วประเทศ โดยยอดขายเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 400 ล้านบาทคิดเป็นจำนวนสินค้าตกราว 1,800,000 ชิ้น โดยเพจ Rude Dog มียอดไลก์กว่า 1.5 ล้าน และเข้าถึงการรับรู้ของผู้ใช้งานอีกนับล้านเช่นกัน
ถ้าถอดรหัสความสำเร็จของ Rude Dog ออกมาจะพบว่ามีเคล็ดลับความสำเร็จคือ
ภาพจาก www.facebook.com/RUDEDOG.co
- สินค้าต้องดีจริง เพื่อให้คนสนใจและตัดสินใจซื้อ
- การตลาดต้องแตกต่าง ต้องมีไอเดียที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน
- อย่ามัวแต่คิด หากตั้งใจจะทำสิ่งใดให้ลงมือทำอาจเริ่มจากเล็กๆ ก่อนก็ได้
- อย่ามัวรอโอกาส เพราะโอกาสต่างหากที่รอให้เราเข้าไปถึง
- บนโลกธุรกิจไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบ งานทุกอย่างเราต้องเจอปัญหา แต่เราต้องแก้ไขและผ่านไปให้ได้
สำหรับใครก็ตามที่ตอนนี้เบื่องานประจำ อยากมีอาชีพ อยากสร้างธุรกิจตัวเอง ต้องถามใจตัวเองก่อนว่า เรารักสิ่งไหน เราชอบอะไร การมีเงินทุนไม่ใช่คำตอบของการเริ่มต้นธุรกิจ หลายคนเริ่มต้นจากศูนย์ เริ่มต้นจากไม่มีอะไร ข้อดียุคนี้คือการตลาดออนไลน์ที่ช่วยเราได้มาก สำคัญคือให้เริ่มทันที อย่ามัวแต่รอจังหวะที่ดีที่สุดที่อาจจะทำให้เราไม่เคยได้เริ่มต้นจริงๆ สักที
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/32pRLaK , https://bit.ly/3FURMkF , https://bit.ly/35leuWG , https://bit.ly/3H1s4fE
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ABQbzg
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)