ซื้อแฟรนไชส์ CJ ราคาเท่าไหร่?

หลายคนถามเข้ามาว่า อยากลงทุนเปิดร้าน CJ ต้องทำอย่างไร และใช้เงินลงทุนเท่าไหร่? ปัจจุบันร้าน CJ มีอยู่ด้วยกัน 3 โมเดล ได้แก่ CJ Express ซึ่งค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็น CJ Supermarket, CJ MORE และ CJX โดยทั้ง 3 โมเดลมีสาขารวมกันอยู่ทั้งหมด 1,100 กว่าแห่งครอบคลุมถึง 45 จังหวัดใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย

ร้าน CJ ทั้ง 3 โมเดล ยังไม่ได้ขายแฟรนไชส์เหมือนกับ 7-Eleven แต่มีข้อมูลมาว่าในอนาคตอาจจะเปิดขายแฟรนไชส์ เพื่อขยายตลาดไปยังประเทศในอาเซียน แม้ว่า CJ จะยังไม่ขายแฟรนไชส์ในตอนนี้ แต่ถ้าหากใครอยากร่วมทำธุรกิจกับ CJ สามารถนำเสนอพื้นที่ตั้งร้านให้ CJ เช่าพื้นที่ได้ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

  • ขนาดพื้นที่ขั้นต่ำ 2 งาน หรือ 200 ตารางวา (800 ตารางเมตร)
  • หน้ากว้างขั้นต่ำ 20 เมตร
  • เป็นทำเลที่มีศักยภาพตรงความต้องการของทางบริษัท
  • กรอกรายละเอียดได้ที่ https://ar.cjmore.co.th/step1

3 โมเดลร้าน CJ ต่างกันอย่างไร?

ซื้อแฟรนไชส์ CJ

โมเดล CJ Supermarket เป็นร้านค้าปลีกค่อยๆ เปลี่ยนมาจาก CJ Express เป็นซูเปอร์คอนวีเนียนสโตร์ใกล้บ้าน แหล่งชุมชนมีร้านมากกว่า 800 สาขา รูปแบบร้านจะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่จอดรถน้อย

ส่วนโมเดล CJ More มีกว่า 100 สาขา รูปแบบร้านขนาดใหญ่ มีพื้นที่จอดรถกว้าง เหมือน 7-Eleven ที่ตอนนี้กำลังเดินหน้าเปิดร้านโมเดลมีที่จอดรถและพื้นที่ให้เช่า รูปแบบโมเดล CJ More จะแบ่งพื้นที่ด้านหน้าให้ร้านค้าต่างๆ เช่าได้ด้วย

โมเดลล่าสุด CJX ร้านไฮบริด ขายปลีกและขายส่งในร้านเดียวกัน ความต่างระหว่าง CJX กับร้านค้าปลีกในโมเดลอื่นๆ น่าจะออกมาในลักษณะของการพ่วงการขายสินค้าแบบยกแพ็คเข้าไปด้วย เปิดสาขาไปแล้วในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร

CJ More

CJ ตั้งเป้าปี 2569 ขยายสาขาเพิ่มรวมทั้งหมด 2,000 แห่ง แบ่งเป็น CJX และ CJ Supermarket 1,500 สาขา CJ MORE 500 สาขาเน้นในต่างจังหวัด 90% และกรุงเทพฯ 10%

โมเดล CJ MORE เป็นร้าน Flagship Store รูปแบบใหม่ที่ใช้เนื้อที่ราวๆ 10 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท หากมีพื้นที่ไม่มากจะเป็นร้าน CJ Supermarket ใช้พื้นที่ร้าน 300 ตร.ม. และรวมที่จอดรถประมาณ 600 – 700 ตร.ม. เพิ่มไลน์แบรนด์สินค้าสร้างกำไร 50% ต่อปี

พนักงาน CJ

สังเกตหรือไม่ว่าในร้าน CJ มีร้านค้าและแบรนด์สินค้ามากมาย เป็นตัวดึงดูดลูกค้าได้มากกว่าร้าน 7-Eleven ด้วยซ้ำ ร้าน CJ พื้นที่ไหนที่ไปเปิดข้างๆ ร้าน 7-Eleven มักจะสร้างยอดขายได้ดีมากๆ ไม่เป็นรอง 7-Eleven แต่อย่างใดเลย

  • Nine Beauty ร้านขายเครื่องสำอางและความงามมัลติแบรนด์
  • บาว คาเฟ่ (Bao Café) ร้านกาแฟสด
  • ร้านอูโนะ (UNO) ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าแฟชั่น เครื่องเขียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ร้านเอ-โฮม โซนคนรักบ้าน
  • ร้านเพ็ทฮับ (PET HUB) ร้านขายอาหารและอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงครบวงจร
  • บาว วอช (Bao Wash) มุมบริการซัก-อบผ้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ
  • ร้าน Tian Tian (เถียน เถียน) ขายไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาเริ่มต้น 15-40 บาท เหมือน MIXUE เปิดให้บริการแล้วใน CJX, CJ More และ CJ Supermarket กว่า 48 สาขา

กลยุทธ์ตลาด CJ ล้ำแค่ไหน?

พนักงาน CJ

CJ มีจุดกำเนิดและมีความแข็งแกร่งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร มีความชำนาญในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ ช่วงแรกๆ ไม่คิดที่จะต่อกรกับร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่โดยตรงอย่าง 7-Eleven ปักธงใช้กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง”

ด้วยกลยุทธ์ราคาสินค้า แน่นอนกลุ่มลูกค้าหลักของ CJ Express จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหาเช้ากินค่ำเป็นหลัก ทำให้มีการจัดโปรโมชั่นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะโปรโมชั่นราคาที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนในทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยโปรโมชั่นเด็ดที่โดนใจ ก็คือ ลูกค้าที่ถือบัตร “สวัสดิการแห่งรัฐ” ที่จะได้ส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือสะสมยอดซื้อสินค้าเพื่อรับแลกของรางวัล

ซื้อแฟรนไชส์ CJ

CJ เปิดร้านหลากหลายโมเดล สามารถเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้ดีขึ้น อย่างกรณีโมเดล CJ More ทำให้สามารถคืนทุนได้เร็วขึ้น จากเดิมใช้เวลาคืนทุน 5 ปี แต่ CJ More ใช้เวลาคืนทุนแค่ 3 ปี

CJ มักจะเปิดใกล้ๆ กับ 7-Eleven ซึ่งเป็นทำเลที่ลูกค้าอยู่แล้ว แต่ CJ ไม่กลัว เพราะมองว่าการเปิดร้านใกล้ๆ กัน ดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่า ไม่ได้แปลว่ายอดขายจะลดลง กลายเป็นว่าทั้ง 2 ร้าน ที่อยู่ทำเลเดียวกันขายดีไปด้วยกัน สะท้อนให้เห็นว่าหากใครอยากซื้อของร้านสะดวกซื้อต้องมาย่านนี้ เป็นการสร้าง Awareness ให้กับลูกค้า สุดท้ายก็วัดกันว่าร้านไหนเข้าใจลูกค้าได้ดีกว่ากัน

รายได้ของ CJ มาแค่ไหน?

ซื้อแฟรนไชส์ CJ

  • บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด ปี 2566 รายได้ 44,464,589,578 บาท กำไร 2,623,155,641 บาท
  • บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด ปี 2566 รายได้ 2,757,018,227 บาท กำไร 2,650,964,194 บาท

CJ ตั้งเป้าขยายร้านทั้ง 3 โมเดล เป็น 3,000 สาขาภายในปี 2573 พร้อมตั้งเป้ารายได้ 100,000 ล้านบาท ซึ่งหากดูรายได้ปี 2566 กว่า 4.44 หมื่นล้านบาท ก็คิดว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คงจะไม่ยากเกินไปนัก

ข้อมูลจาก https://ar.cjmore.co.th/step1

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช