ซื้อแฟรนไชส์ ดูแลเอง vs จ้างผู้จัดการร้าน สูตรไหนปัง

หลายคนถามเข้ามาว่า ซื้อแฟรนไชส์ ดูแลเอง หรือจ้างผู้จัดการร้านมาช่วยดูแลแทน ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาเป็นประเภทไหน โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมลงทุนในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภท คือ Product Franchise ใช้คนน้อย ทำเองได้ และ Business Format Franchise ใช้คนมาก ต้องจ้างคนช่วย

Product Franchise แฟรนไชส์ผลิตภัณฑ์ เช่น ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว , โกเด้ง โฮเด้ง, ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด , ไก่ย่างห้าดาว , ร้านสะเต็ก, หมูย่าง, ชานมไข่มุก ฯลฯ แฟรนไชส์พวกนี้ต้องซื้อวัตถุดิบหลักบางส่วนจากแบรนด์ จะได้เป็นมาตรฐาน

Business Format Franchise แฟรนไชส์ระบบ เช่น 7-Eleven, ท็อปส์ เดลี่ , เชสเตอร์ , คาเฟ่ อเมซอน, อินทนิล, กาแฟพันธุ์ไทย, เคเอฟซี, แมคโดนัลด์, เบอร์เกอร์คิง, แดรี่ควีน, สเวนเซ่นส์, สตาร์บัคส์, ฯลฯ

ผู้ซื้อแฟรนไชส์พวกนี้จะได้ระบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกอย่างจากแบรนด์ เช่น กระบวนการทำธุรกิจ การบริหารจัดการ การทำการตลาด การบริการลูกค้า ตลอดจนเทคโนโลยีการขายทั้งหน้าร้าน-หลังร้าน โดยที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์และคำแนะนำจากเจ้าของแบรนด์ทุกอย่าง เพื่อคุณภาพและความเป็นมาตรฐานเดียวกัน

Product Franchise จะมีความยืดหยุ่นในเรื่องของการดำเนินธุรกิจ เปิดร้านได้เร็ว ใช้คนน้อย ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถลงมือทำเองได้ รายได้ขึ้นอยู่กับปริมาณการขายของสินค้า ขายมากได้มาก ขายน้อยได้น้อย เพราะกำไรการขายต่อชิ้นไม่มากนัก คนที่ซื้อแฟรนไชส์ประเภท Product Franchise ส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วๆ ไป ไม่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล

Business Format Franchise ร้านสาขาแฟรนไชส์ดำเนินธุรกิจตามระบบที่เป็นมาตรฐานของแบรนด์แฟรนไชส์ เจ้าของแบรนด์จะสนับสนุนการทำตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายให้แต่ละสาขา ใช้คนมาก ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถจ้างผู้จัดการร้านดูแลและบริหารร้านแทนได้ เพราะแฟรนไชส์พวกนี้มีระบบการจัดการช่วยให้ทำงานได้ง่าย พนักงานอีกคนไม่มา คนอื่นก็ทำแทนได้ จึงทำให้แต่ละสาขาแฟรนไชส์ Business Format Franchise มีผู้จัดการร้านช่วยบริหารดูแลแทน

คนที่ซื้อแฟรนไชส์ประเภท Business Format Franchise ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนที่มีความพร้อมทางด้านเงินลงทุน มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจอื่นมาก่อน และต้องจดทะเบียนนิติบุคคล (บริษัท) ด้วย ที่สำคัญคนกลุ่มนี้จะมีลงทุนแฟรนไชส์หลายสาขาอีกต่างหาก เพราะจะช่วยให้มียอดขายและรายได้เพิ่มขึ้น

ลองสังเกตให้ดีทุกสาขาแฟรนไชส์ไม่ว่าจะเป็น 7-Eleven, คาเฟ่ อเมซอน ในปั้ม จะมีผู้จัดการร้านเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการร้านในแต่ละสาขา เพราะเจ้าของร้านเป็นเจ้าของปั้ม มีธุรกิจอื่นที่ต้องดูแลไปด้วย จึงต้องจ้างผู้จัดการร้านช่วยดูแลแทน

ทำไม ต้องมีผู้จัดการร้าน

ผู้จัดการร้านสามารถช่วยเจ้าของร้าน ดูแลร้านในภาพรวม ตั้งแต่การเข้าทำงานของพนักงาน คนครัว การดูแลเรื่องจำนวนวัตถุดิบ การจัดซื้อ การขนส่งอาหาร ทำความสะอาด ไปจนถึงบริการลูกค้าให้มีความพึงพอใจ ประสานงาน การสื่อสาร สามารถทำงานได้หลายอย่าง มีใจบริการ ใจเย็น อดทน ที่สำคัญควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการพูดคุยกับลูกค้าอีกด้วย

Brand Key

หน้าที่รับผิดชอบผู้จัดการร้าน

  • บริหารงานและควบคุมดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน
  • ควบคุมดูแลพนักงานในร้าน และประสานกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการสั่งของและจัดเก็บสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การบริการดำเนินไปตามเป้าหมายและนโยบายของร้าน
  • บริหารยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมาย สร้างผลกำไรให้กับร้าน บริหารต้นทุนในส่วนที่ควบคุมได้
  • สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ
  • ฝึกสอนงานแก่พนักงาน พร้อมทั้งให้คำแนะนำดูแลช่วยเหลือ
  • สามารถทำงานทดแทนพนักงานได้ ในกรณีที่พนักงานลาหยุด

สรุปก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงมือทำเองกับจ้างผู้จัดการร้านดูแลร้านแทน มีทั้งข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ถ้าเป็นร้านแฟรนไชส์เล็กๆ หากจ้างคนอื่นขายแทนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม หักลบยอดขายกำไรแล้ว แทบจะไม่เหลือ ลงมือทำเองจะดีกว่า

แต่ถ้าเป็นร้านแฟรนไชส์ใหญ่ๆ ถ้าลงมือทำเองจะไม่มีเวลาคิดและวางแผนการดำเนินงาน มัวแต่ยุ่งดูแลร้าน กว่าจะปิดร้านก็เหนื่อยแล้ว ถ้าจ้างผู้จัดการร้านมาช่วยก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่จะแบ่งเบาภาระหน้าที่ สามารถไปทำภาระอย่างอื่นได้อีก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช