ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์ กับ ซื้อแบรนด์เดียว แบบไหนดีกว่า
มีหลายคนเลือกลงทุนแฟรนไชส์มากกว่า 1 แบรนด์ เพราะต้องการกระจายความเสี่ยง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย สามารถเปิดได้หลากหลายทำเล แถมเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็มีอีกหลายคนเลือกลงทุนแบรนด์เดียว อยากบริหารจัดการง่าย ถ้าถามว่าระหว่าง ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์ กับ ซื้อแฟรนไชส์แบรนด์เดียว แบบไหนจะดีกว่ากัน ลองเปรียบเทียบกัน
ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์
ข้อดี
- ลดความเสี่ยง หากแบรนด์หนึ่งมีปัญหา เช่น ร้านถูกปิด โดนน้ำท่วม ยอดขายลดลง และอื่นๆ คุณก็ยังมีรายได้จากอีกแบรนด์หนึ่งได้ แต่ร้านอาจจะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างกัน จะได้ไม่กระทบเหมือนกัน
- เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย แฟรนไชส์แต่ละแบรนด์จะมีสินค้าและบริการต่างกัน ทำให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย คนหนึ่งชอบอาหาร อีกคนชอบกาแฟ หรือไอศกรีม เป็นต้น
- มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เปิดร้านแฟรนไชส์หลายแบรนด์ มีโอกาสสร้างรายได้มากกว่าแบรนด์เดียว เช่น เปิดร้านคาเฟ่ อเมซอน กับ 7-Eleven ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์ในแต่ละสาขาจะมีรายได้ประมาณราวๆ 1 แสนบาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้านแล้ว อีกทั้ง 2 แบรนด์ยังมีฐานกลุ่มลูกค้าแตกต่างกันด้วย ไม่แย่งลูกค้ากันอย่างแน่นอน
- เปิดร้านได้หลากหลายทำเล แฟรนไชส์หลายแบรนด์จะมีรูปแบบร้านต่างกัน ทำให้สามารถเปิดร้านได้หลากหลายทำเล บางพื้นที่แบรนด์หนึ่งเปิดไม่ได้ แต่อีกแบรนด์สามารถเปิดได้ ยกตัวอย่างกรณีมีทำเลหนึ่งเปิดร้าน MIXUE ไม่ได้ แต่เปิด Ai-Cha ได้
ข้อเสีย
- เหนื่อย เปิดร้านหลายแบรนด์ ย่อมเหนื่อยมากกว่าแบรนด์เดียว เพราะระบบการทำงานที่ไม่เหมือนกัน จำนวนพนักงานที่ต้องใช้ในร้านก็อาจไม่เท่ากันต้องหาเพิ่ม อีกทั้งนโยบายของแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์ที่ไม่เหมือนกัน ย่อมเหนื่อยมากขึ้นไปอีก
- การบริหารจัดการยาก เปิดร้านแบรนด์เดียวก็ว่ายากแล้ว ถ้ามีถึง 2 แบรนด์ ระบบการทำงานไม่เหมือนกัน ยิ่งต้องบริหารจัดการยากมากขึ้น ต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้น ต้องหาทำเลเปิดร้านที่ต่างกัน
- มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การซื้อแฟรนไชส์ 2-3 แบรนด์ ย่อมมีงบลงทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ยกตัวอย่าง ลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven 1 แห่งใช้เงินราวๆ 3.9 ล้านบาท ถ้าเปิดร้านคาเฟ่ อเมซอนอีก 1 แห่ง ใช้เงิน 3.5 ล้านบาท รวมๆ แล้วเปิดร้าน 2 แบรนด์ใช้เงินลงทุน 7.4 ล้านบาท ใช้พนักงานในแต่ละร้านราวๆ 6-7 คน
ซื้อแฟรนไชส์แบรนด์เดียว
ข้อดี
- บริหารจัดการง่าย เปิดร้านแบรนด์เดียวจะบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น เพราะระบบหน้าบ้าน หลังบ้าน จะใช้แบบเดียวกัน รูปแบบการทำงานเหมือนกัน แม้จะเปิดกี่สาขาก็ตาม
- มีโอกาสเป็นผู้เชี่ยวชาญ การบริหารจัดการร้านภายใต้แบรนด์เดียวสามารถพัฒนาความรู้ เพิ่มทักษะเฉพาะทางได้อย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ การขาย ทำอาหาร ไม่ต้องมัวแต่พะว้าพะวังกับอีกแบรนด์
- ลดค่าใช้จ่าย การซื้อแฟรนไชส์แบรนด์เดียวจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าหลายแบรนด์ อีกทั้งยังมีโอกาสได้ส่วนลดต่างๆ จากแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งงบลงทุนเปิดสาขา 2 ส่วนลดค่าธรรมเนียม ค่าต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าจัดส่งวัตถุดิบ เป็นต้น
- สร้างลูกค้าประจำ การให้บริการที่ดีในร้านเดียวสามารถสร้างความภักดีจากลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้มากขึ้น
ข้อเสีย
- มีความเสี่ยงสูง ถ้าแฟรนไชส์แบรนด์ที่เลือกลงทุนเกิดปัญหาขึ้น มีโอกาสที่เครือข่ายธุรกิจไปไม่รอดสูง เหมือนดารุมะซูชิ
- เสียโอกาสสร้างรายได้น้อย สมมติว่าคุณเปิดร้านในทำเลใกล้ๆ กับคู่แข่งธุรกิจเดียวกัน ทำให้ลูกค้ามีสิทธิ์เข้าร้านไหนก็ได้ จะเข้าร้านคุณหรือคู่แข่งก็ได้ แต่ถ้าคุณเปิดร้านต่างแบรนด์ ต่างธุรกิจ ก็จะมีโอกาสได้ลูกค้าทั้งสองแบรนด์ เช่น เปิดร้านขายลูกชิ้นไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิด กับ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว เมื่อสินค้าและบริการต่างกัน ก็มีโอกาสจะได้ลูกค้าทั้ง 2 ร้าน
สรุปก็คือ การเลือกลงทุนแฟรนไชส์แบรนด์เดียว 2 แบรนด์ หรือ 3 แบรนด์ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและเป้าหมายส่วนตัว ทักษะความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ ความเสี่ยงที่พร้อมจะรับ ถ้าคุณมีความสามารถในการบริหารหลายแบรนด์ อยากกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้เพิ่ม การเลือกซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์อาจเป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้าไม่อยากยุ่งยาก อยากมีความเชี่ยวชาญ บริหารจัดการร้านง่าย การซื้อแบรนด์เดียวก็น่าจะเหมาะสมกว่า!
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)