ชาตรามือ vs ง่วนสูน ตรามือที่ 1

ถามกันมากในโลกออนไลน์ว่า “ชาตรามือ” กับ “ง่วนสูน-พริกไทย ตรามือที่ 1” เจ้าของเป็นคนเดียวกันมั๊ย? ทีมงานจึงไปค้นหาข้อมูลมาเฉลยให้กระจ่าง ทั้ง 2 แบรนด์ไม่ใช่เจ้าของคนเดียวกัน แต่รู้หรือไม่ว่าทั้ง 2 แบรนด์

มีจุดเริ่มต้นที่ “เยาวราช”มีความเป็นมาที่คล้ายๆ กัน ดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวเหมือนกัน “ชาตรามือ” เข้าสู่ทายาทรุ่นที่ 3 คือ คุณพราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช ส่วน “ง่วนสูน-พริกไทย ตรามือที่ 1” เข้าสู่ทายาทรุ่นที่ 4 คือ คุณภัครภัสสร์ ลิ้มประนะ

เรื่องราวความเป็นมาของทั้ง 2 แบรนด์ มีความน่าสนใจอย่างไร มาเริ่มกันที่แบรนด์…

ชาตรามือ

ชาตรามือ

ภาพจาก www.facebook.com/ChaTraMue/

“ชาตรามือ” มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2468 คุณพ่อของ “คุณดิฐพงศ์ เรืองฤทธิเดช” ได้เข้ามาไทยเปิดร้านชาจีนชื่อ Lim Meng Kee (ลิมเมงกี) แยกเฉลิมบุรี ถนนเยาวราช ขายชานำเข้าจากจีน หลังเปิดร้านได้ 20 ปี กิจการค้าขายรุ่งเรือง พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ร้านถูกระเบิด จึงย้ายไปเปิดที่ซอยผดุงด้าว ถนนเยาวราช แทน

ตอนนั้นผลิตภัณฑ์หลักของร้านที่ขาย ยังเป็นชาจีน ชาอู่หลง ชาเขียว หลังจากนั้นได้เริ่มนำเข้าชาแดงเข้ามาในประเทศไทยมาทำเป็นชาไทยและชาดำ โดยชาแดงนำมาทำชานม และชาดำไทยที่ใส่น้ำแข็ง ที่เรารู้จักในชื่อ “ชาเย็น” จนในปี 2488 ทางร้านจึงได้เริ่มขายชายี่ห้อ “ชาตรามือ” มีพื้นปลูกชาเองที่จังหวัดเชียงราย แต่โรงงานตั้งในกรุงเทพฯ

ชาตรามือ

ภาพจาก www.facebook.com/ChaTraMue/

จนกระทั่งในปี 2532 ได้สร้างโรงงานแห่งใหม่ขึ้น ณ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตั้งชื่อโรงงานว่า “โรงงานใบชาสยาม” และได้จดทะเบียนเป็น บริษัท ชาไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จนถึงปัจจุบัน ต่อมา “คุณดิฐพงศ์” ทายาทรุ่นที่ 2 ได้สืบทอดกิจการต่อจากพ่อ ตั้ง บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด ในปี 2537 ผลิตและขายผลิตภัณฑ์ชาบรรจุกระป๋อง

ต่อมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 คือ พราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช สร้างเสียงฮือฮาบนโลกออนไลน์ได้อย่างมาก โดยในปี 2561 เธอได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับชาตรามือ คือ ชากุหลาบ และซอฟต์เสิร์ฟรสชาติต่างๆ อย่างไอศกรีมชาไทย ขายดิบขายดีในตอนนั้น

สินค้าภายใต้แบรนด์ชาตรามือมีทั้ง ชาแดง ชาเขียว ชาอูหลง ชากุหลาบ ฯลฯ และยังมีร้านเครื่องดื่ม “ชาตรามือ” จำนวน 145 สาขาทั่วประเทศ ทุกสาขาเป็นของบริษัทบริหารเอง ยังไม่ขายแฟรนไชส์ในประเทศไทย แต่มีการส่งออกตลาดต่างประเทศ อาทิ กัมพูชา อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ พม่า จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เป็นต้น

รายได้ “ชาตรามือ” ภายใต้การบริหาร 3 บริษัท

ชาตรามือ

ภาพจาก www.facebook.com/ChaTraMue/

1.บริษัท ชาไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (2557)

  • ปี 63 รายได้ 1,599 ล้านบาท กำไร 32.6 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 1,977 ล้านบาท กำไร 40.6 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 2,104 ล้านบาท กำไร 43.2 ล้านบาท

2.บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด (2537)

  • ปี 63 รายได้ 386.4 ล้านบาท กำไร 3.8 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 370.9 ล้านบาท กำไร 6.3 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 387.6 ล้านบาท กำไร 8.6 ล้านบาท

3.บริษัท ทิพย์ธารี จำกัด (ร้านขายเครื่องดื่มชาตรามือ) (2564)

  • ปี 64 รายได้ 419.8 ล้านบาท กำไร 40.2 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 785.2 ล้านบาท กำไร 116.4 ล้านบาท

ง่วนสูน พริกไทย ตรามือที่ 1

ภาพจาก www.facebook.com/no1handbrand

“ง่วนสูน พริกไทย ตรามือที่ 1” มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2497 โดย “คุณอาจจิตต์ ลิ้มประนะ” ได้มองเห็นปัญหาของชาวบ้านที่นำพริกไทยเม็ดมาบดเองก่อนปรุงอาหาร เลยมองเห็นโอกาสทำเงิน จึงเปิดร้านขายพริกไทยป่น ชนิดที่ว่าบดแบบให้เห็นกันหน้าร้านเลยทีเดียว โดยตั้งชื่อร้าน “ง่วนสูน” แปลว่า การก้าวไปทีละขั้นอย่างราบรื่น ย่านเยาวราช จนขายดิบขายดีและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ถือเป็นเจ้าแรกในประเทศที่ทำพริกไทยป่นขายจนมีชื่อเสียงภายใต้แบรนด์ “ตรามือที่ 1”

เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่มีการเติบโตรวดเร็ว ตลอดจนความต้องการของสินค้าพริกไทยและเครื่องเทศที่มีคุณภาพ ทั้งภายในและต่างประเทศ ในปี 2520 (1977) นายอาจจิตต์ ได้ก่อตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกชิลลี่ ขึ้น เพื่อทำตลาดพริกไทยและเครื่องเทศในต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ เป็นผู้ส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ “ตรามือที่ 1” ที่มีคุณภาพมาตรฐานชั้นเลิศของพริกไทยและเครื่องเทศ จนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าในประเทศและอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลก

จุดเด่นบริษัทฯ คือ การสรรหาวัตถุดิบ วิธีการผลิต การทำความสะอาดด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อรักษาความสดใหม่ กลิ่นหอม รสชาติ คุณประโยชน์ของพริกไทยและเครื่องเทศเอาไว้ให้ได้ยาวนาน มีการพัฒนาสินค้าหลากหลายตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ชอบการทำอาหารในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผงปรุงสำเร็จ ซอสปรุงรสต่างๆ

ภาพจาก www.facebook.com/no1handbrand

จนทุกวันนี้ง่วนสูนมีพริกไทยและเครื่องเทศหลากหลายแบบ หลายชนิด ทั้งพริกไทยเม็ดดำ เม็ดขาวเม็ดชมพู พริกแดงหลากหลายสายพันธุ์ รวมถึงเครื่องเทศชนิดอื่นอย่างโป๊ยกั๊ก ชวงเจีย เปาะหอม ลูกจันทน์ ผงกะหรี่ ผงพะโล้ รวมถึงยังมีเครื่องแกง ชุดเครื่องเทศ ผงปรุงสำเร็จรูป ซอสปรุงรส รวมกันราวๆ 400 รายการ

ง่วนสูน พริกไทย ตรามือที่ 1 ยังมีการต่อยอดร้านขายเครื่องเทศธรรมดาๆ ไปสู่ร้านแบบ Shop และคีออส โดยหลังจากที่ “คุณวิศิษฏ์ ลิ้มประนะ” ผู้บริหารรุ่นที่ 3 ได้ส่งไม้ต่อให้กับทายาทรุ่นที่ 2 คือ “คุณภัครภัสสร์ ลิ้มประนะ” บุตรสาวคนโต ให้เข้ามาช่วยบริหารงานในส่วนของร้าน “สไปซ์ สตอรี่” (Spice Story) ร้านเครื่องเทศสมัยใหม่ที่ต่อยอดออกมาเป็นอีกหนึ่งหน่วยธุรกิจ ภายใต้ร่มเงาของร้าขายเครื่องเทศ “ง่วนสูน” โดยยึดหลักธุรกิจที่มีความเผ็ดร้อนไม่แพ้ต้นตำรับ

Spice Story มีสาขาราวๆ 30 สาขาในประเทศ รูปแบบช็อป 4 สาขา คือ พารากอน ไอคอนสยาม เอ็ม ควอเทีย และเอเชียทิค ส่วนรูปแบบคอนเนอร์ และคีออสอยู่ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ในอนาคตมีแผนขยายแฟรนไชส์ในต่างประเทศ ปัจจุบัน Spice Story มีสัดส่วนรายได้จากสินค้าสมุนไพร 50% ชาสมุนไพร 40% และกลุ่มซูเปอร์ฟู้ด และแอคเซสเซอรี่ในครัว 10%

รายได้ “ง่วนสูน พริกไทย ตรามือที่ 1” ภายใต้การบริหาร 4 บริษัท

ภาพจาก www.facebook.com/no1handbrand

1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกชิลลี่ (2520)

  • ปี 63 รายได้ 30.7 ล้านบาท ขาดทุน 7.39 แสนบาท
  • ปี 64 รายได้ 30.9 ล้านบาท กำไร 6.72 แสนบาท
  • ปี 65 รายได้ 41.3 ล้านบาท ขาดทุน 1.24 แสนบาท

2.บริษัท อาจจิตต์อินเตอร์เนชั่นแนลเพ็พเพอร์แอนด์สไปซ์ จำกัด (2536)

  • ปี 63 รายได้ 303.3 ล้านบาท กำไร 9.1 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 219 ล้านบาท กำไร 2.5 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 309.6 ล้านบาท กำไร 7.6 ล้านบาท

3.บริษัท สไปซ์ สตอรี่ จำกัด (2559)

  • ปี 63 รายได้ 35.6 ล้านบาท กำไร 10.1 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 46.9 ล้านบาท กำไร 12.9 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 53.7 ล้านบาท กำไร 12.3 ล้านบาท

4.บริษัท ง่วนสูน พริกไทยและเครื่องเทศ จำกัด (จัดตั้ง 2564 ทำธุรกิจขายส่ง)

  • ปี 65 รายได้ 1,826 บาท ขาดทุน 112,989 บาท

สรุปคือ ทั้ง 2 แบรนด์ มีเรื่องราวความเป็นมาของธุรกิจเริ่มต้นจากครอบครัวเชื้อสายจีน ก่อรากสร้างฐานธุรกิจที่ย่านเยาวราช โดย “ชาตรามือ” เข้าสู่ทายาทรุ่นที่ 3 คือ คุณพราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช ส่วน “ง่วนสูน-พริกไทย ตรามือที่ 1” เข้าสู่ทายาทรุ่นที่ 4 คือ คุณภัครภัสสร์ ลิ้มประนะ

ซึ่งทั้ง 2 คน บริหารธุรกิจที่ต่อยอดจากแบรนด์หลัก “คุณพราวนรินทร์” ดูแลธุรกิจร้านเครื่องดื่มชาตรามือ ส่วน “คุณภัครภัสสร์” ดูแลร้าน Spice Story เครื่องเทศสมัยใหม่ ที่สำคัญทั้ง 2 แบรนด์ขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีรายได้ของบริษัทรวมกันแล้วสูงถึงหลักพันล้านบาท

โดยเฉพาะ “ง่วนสูน – พริกไทย ตรามือที่ 1” สอนให้เรารู้ว่าการทำธุรกิจต้องรู้จักนำเสนอสินค้าให้ตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงพัฒนาสินค้าและบริการให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ จากพริกไทย เครื่องเทศ รุ่นปู่รุ่นย่า มาสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงอาหารสำเร็จรูป ซอสปรุงรส สร้างแบรนด์ดังระดับพรีเมี่ยม จนต้องยกนิ้วให้

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


 

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช