จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven

ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven มีสาขาทั่วประเทศราวๆ 14,730 สาขา ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs หลายคนอยากนำสินค้าของตัวเองเข้าไปวางขายในร้านสะดวกซื้อชื่อดังแห่งนี้ มาดูกันว่าขั้นตอนกว่าจะฝ่าด่านเข้าไปวางขายสินค้าได้ ต้องผ่านอะไรบ้าง และเมื่อได้รับการพิจารณาให้เข้าไปวางขายใน 7-Eleven ได้ จะต้องมีเงินจ่ายเท่าไหร่

ขั้นตอนการนำสินค้าขายใน 7-Eleven มี 2 แบบ คือ

จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven

1. ทีมงานของ 7-Eleven ออกตระเวนหาสินค้าทั่วประเทศ หรือบางครั้งอาจไปเจอตามงานออกบูธต่างๆ ถ้าทีมงานสนใจอยากให้นำสินค้าไปขายที่ร้าน ทาง 7-Eleven ก็จะตรวจสอบอย่างละเอียด ทั้งคุณภาพสินค้า แพ็คเกจสินค้า รวมไปถึงเข้าไปตรวจสอบถึงโรงงานที่ผลิตด้วย กว่าจะใช้เวลาปรับปรุงมาตรฐานต่างๆ อาจใช้เวลา 2 เดือนถึงจะผ่านเข้า 7-Eleven ได้

จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven

2. ผู้ประกอบการธุรกิจนำสินค้าเสนอให้กับ 7-Eleven เอง มีขั้นตอนดังนี้

  1. สินค้าผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรอง เช่น อย. หรือ มอก. เป็นสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด หรืออยู่ในกระแส มีโอกาสที่สินค้าจะขายดีหรือได้รับความนิยมมากกว่าสินค้าประเภทอื่นๆ
  2. ลงทะเบียนสินค้า สามารถกรอกข้อมูลสินค้าของตนเองได้ที่ https://www.cpall.co.th/sme กรอกให้ครบถ้วน ทาง CP ALL จะพิจารณาสินค้าเบื้องต้นจากความน่าสนใจ และความเป็นไปได้ที่จะนำมาขาย
  3. หากได้รับการพิจารณาในรอบแรก จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อนัดเข้ามาให้นำเสนอรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม ทำแผนการตลาดนำเสนอให้แก่คณะกรรมการต่อไป
  4. หากผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการแล้ว จะมีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและโรงงานการผลิตรวมถึงกระบวนการผลิต ว่าปลอดภัย ถูกต้องตามหลักอนามัยหรือไม่ รวมถึงดูกำลังการผลิตและมีวิธีในการจัดส่งสินค้าอย่างไร
  5. หลังจากผ่านการตรวจสอบมาตรฐานต่างๆ จะมีการกำหนดวันและยอดจำหน่ายสินค้าในล็อตแรก รวมถึงรายละเอียดการวางขายจะทุกสาขา หรือขายเฉพาะพื้นที่
  6. อย่างไรก็ตาม ถ้าข้อไหนไม่ผ่านก็ต้องไปปรับปรุง หรือมีทีมงาน 7-Eleven คอยให้คำแนะนำ อาจใช้ระยะเวลากว่าจะเข้าไปขายได้น่าจะประมาณ 2 เดือน – 1 ปี

วางขายใน 7-Eleven ได้ ต้องมีเงินจ่ายเท่าไหร่

จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ https://drink-space.com/how2sell7-11/ ระบุว่าค่าใช้ที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องจ่ายให้กับ 7-Eleven หลักๆ คือ ค่าแรกเข้า (Listing Fees) หรือค่าวางสินค้า ประมาณ 750,000-1,000,000 บาท แต่ละสินค้าจะมีค่าวางสินค้าไม่เหมือนกัน ส่วนค่า GP จะอยู่ที่ 30-40% ขึ้นอยู่กับสินค้าด้วยเช่นเดียวกัน ยังมีค่าการตลาดและอื่นๆ อีกด้วย

จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven

สุดท้ายขอฝากด้วยว่า การเอาสินค้าเข้าไปวางขายใน 7-Eleven ได้ ถือเป็นแค่ด่านแรกเท่านั้น แต่ถ้าช่วงระยะเวลา 3 เดือน สินค้าของคุณทำยอดขายไม่ดี ทาง 7-Eleven ก็มีสิทธิ์ที่จะเอาสินค้าของคุณออกจากเชลฟ์ได้เหมือนกัน เท่ากับว่าคุณจะต้องเสียเงินจากการลงทุนผลิตสินค้า รวมถึงค่าวางสินค้าใน 7-Eleven ไปเปล่าๆ


ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช