จุดแข็งของ “ไปรษณีย์ไทย” ที่คนส่งของเจ้าอื่นสู้ไม่ได้คืออะไร?
การแข่งขันของธุรกิจขนส่งพัสดุในไทยยังดุเดือด หลายๆ แบรนด์ต่างหาจุดเด่นของตัวเอง สร้างความแตกต่าง โดยเฉพาะด้านราคา และการจัดส่งที่รวดเร็ว เพื่อดึงดูดผู้บริโภค จึงไม่แปลกที่มูลค่าตลาดขนส่งพัสดุในไทยปี 2567 จะสูงถึง 107,000 เพิ่มขึ้นกว่า 84% จากปีก่อน หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 13% แม้แต่แพลตฟอร์ม E-Commerce ในไทย ก็ได้เข้ามาลุยในตลาดขนส่งด้วยตัวเอง เรียกได้ว่าคุมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ตลาดขนส่งพัสดุในไทยมีผู้เล่นหน้าใหม่จำนวนมาก แต่ก็มีปิดกิจการหรือล้มหายตายจากตลาดจำนวนมาก หลายธุรกิจขาดทุน จนต้องยกธงขาวออกจากการแข่งขัน แต่มีอยู่แบรนด์เดียวที่ยืนระยะอยู่ในธุรกิจขนส่งพัสดุมายาวนานที่สุด แม้หลายๆ ธุรกิจจะยอมแพ้เป็นจำนวนมาก นั่นคือ “ไปรษณีย์ไทย” ที่ยังคงยืนหยัดมาได้ถึง 142 ปี เรียกได้ว่าเป็นตัวจริงในตลาดขนส่งพัสดุของไทย ไปรษณีย์ไทย มีกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจอย่างไร ทำไมขนส่งเจ้าอื่นถึงสู้ไม่ได้
ไปรษณีย์ไทย ถือเป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุที่มีประสบการณ์มากที่สุดในไทย สามารถยืนระยะมาได้ถึง 142 ปี ไม่แปลกที่บุรุษไปรษณีย์ที่มีอยู่กว่า 25,000 คน จะรู้จักทุกคน รู้จักทุกพื้นที่ มีเครือข่ายไปรษณีย์ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศกว่า 50,000 แห่ง
เรียกได้ว่าไปรษณีย์ไทยมีความพร้อมทั้งในเรื่องคน เครือข่าย ประสบการณ์ เทคโนโลยี ที่พร้อมนำมาพัฒนาและต่อยอดงานบริการให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ไปรษณีย์ไทย ได้เดินหน้ากลยุทธ์ใหม่ๆ มากมาย เช่น
- ขยับตัวเองออกจากตลาดเดิม คือ ลาดส่งพัสดุ และ E-Commerce ที่แข่งขันกันรุนแรง จนเป็น Red Ocean จะไม่แข่งด้านราคาเหมือนขนส่งเจ้าอื่นๆ แต่เลือกที่ปรับตัวด้วยการปั้นธุรกิจรีเทล พร้อมดึงจุดแข็งที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้
- เน้นเจาะกลุ่มตลาด Niche Market และเริ่มขยายตลาดไปยังขนส่งสินค้าเฉพาะเจาะจง เช่น สินค้าขนาดใหญ่ สินค้าควบคุมอุณหภูมิ และผลไม้
- เน้นเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ หรือ “Silver Gen” ที่ใช้เทคโนโลยีไม่คล่อง และยังต้องการดูแลสุขภาพตัวเอง บุรุษไปรษณีย์จะทำหน้าที่ส่งของทุกอย่างที่ต้องการ แต่จะไม่ยัดเยียดเพราะจะทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง ในปี 2566 บริการเหล่านี้สามารถทำรายได้เสริมให้บุรุษไปรษณีย์มูลค่ารวมกันกว่า 2 ล้านบาท
- เพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า มีการให้บริการที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า เช่น เข้ารับฝากสิ่งของ ณ ที่อยู่ (Pick Up Service) มีบริการจัดส่งทุกวันไม่มีวันหยุด ไปรษณีย์ไทยถือเป็นแบรนด์ที่เข้าใจคนรุ่นใหม่ เข้าถึงทุกเจนเนอเรชัน เข้าถึงทุกช่วงชีวิต
- ปรับปรุงการให้บริการ บุรุษไปรษณีย์ที่มีจุดแข็งเรื่องเชี่ยวชาญในพื้นที่ คนพวกนี้ไม่ได้แค่รู้จักหรือพูดคุยแค่คนในบ้านเท่านั้น แต่ยังสร้างความผูกพันไปถึงสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
- บริการหลากหลาย ไปรษณีย์ไทยมีบริการที่หลากหลาย เช่น การส่งพัสดุ การส่งเอกสาร การโอนเงิน หรือการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้ครบถ้วน
![ไปรษณีย์ไทย](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/02/document_8770_p9_20250214142626.jpg)
มาดูส่วนแบ่งตลาดขนส่งพัสดุด่วนในไทย แบรนด์ไหนครองส่วนแบ่งมากสุด
- ไปรษณีย์ไทย 23.5%
- Kerry Express 20.1%
- Flash Express 17.4%
- DHL Express 16.5%
- J&T Express 13.9%
- ขนส่งอื่น ๆ รวมกันอยู่ที่ 8.7%
เปรียบเทียบรายได้ “ไปรษณีย์ไทย” กับขนส่งเจ้าอื่นๆ
![ไปรษณีย์ไทย](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/02/document_8770_p8_20250214142300.jpg)
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
- ปี 2564 รายได้ 21,223 ล้านบาท ขาดทุน 1,730 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 19,546 ล้านบาท ขาดทุน 3,018 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 20,934 ล้านบาท กำไร 78 ล้านบาท
![](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/02/document_8770_p7_20250214141917.jpg)
Kerry Express
- ปี 2564 รายได้ 19,010 ล้านบาท กำไร 1,405 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 17,145 ล้านบาท ขาดทุน 2,830 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 11,541 ล้านบาท ขาดทุน 3,881 ล้านบาท
![](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/02/document_8770_p6_20250214141738.jpg)
Flash Express
- ปี 2564 รายได้ 17, 607 กำไร 5,661 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 14,805 ขาดทุน 2,186 ล้านบาท
![](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/02/document_8770_p5_20250213151108.jpg)
J&T Express
- ปี 2564 รายได้ 7,307 ล้านบาท ขาดทุน 822 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 11,834 ล้านบาท กำไร 1,517 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 18,512 ล้านบาท ขาดทุน 7,094 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า ผลประกอบการธุรกิจขนส่งเจ้าอื่นๆ ยังขาดทุนทุกปี โดยเฉพาะคู่แข่งตลอดกาลอย่าง Kerry Express แม้จะทำกำไรในปี 2564 ถึง 1,405 ล้านบาท แต่ในปี 2565 และ 2566 ขาดทุนเพิ่มขึ้นทุกปี สวนทางกับ “ไปรษณีย์ไทย” ที่เป็นเจ้าเดียวที่พลิกทำกำไรได้สำเร็จจากปี 2565 ขาดทุน 3,018 ล้านบาท ในปี 2566 มีรายได้กว่า “20,934 ล้านบาท” กำไรสุทธิ “78 ล้านบาท”
สุดท้าย แม้ว่าไปรษณีย์ไทยจะผ่านงานบริการขนส่งมากว่า 142 ปี เป็นองค์กรที่เก่าแก่ บางครั้งมักได้รับคำสบประมาทมากมาย ไม่ทันยุคสมัยบ้าง วิ่งช้ากว่าคู่แข่งเจ้าอื่นไปหลายก้าว แต่ด้วยจุดแข็งของ “ไปรษณีย์ไทย” ที่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะบุรุษไปรษณีย์มักจะมีความชำนาญในพื้นที่ รู้จักทุกคน จนถึงกับมีคนพูดว่าแม้จะจ่าหน้าพัสดุผิดแต่ก็ยังส่งถูก
บางคนถึงขั้นจำหน้าลูกค้าได้เกือบทุกบ้าน ขับรถสวนทางกันยังตะโกนทักทายกัน บางครั้งก็มีของฝากติดไม้ติดมือมาให้ลูกให้หลานของลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นกันเองกับคนในพื้นทีมากกว่าขนส่งเจ้าอื่นๆ
มาถึงวันนี้ 142 ปี ไปรษณีย์ไทยก็ได้พิสูจน์แล้วว่า สามารถเปลี่ยนผ่านจากยุคเก่า สู่ยุคใหม่ ก้าวไปสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)