จีนไม่หยุด บุกขยายสาขา หรือ ล่าอาณานิคม!

ตั้งแต่จีนเปิดประเทศหลังการระบาดโควิดคลี่คลาย มีการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจยกใหญ่ นักลงทุนขนเงินไปลงทุนมหาศาลในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างอาเซียนมโหฬารเลยทีเดียว แทบจะครอบงำเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมในเหล่าประเทศนั้น

ไทยเป็นหนึ่งจุดหมายปลายทางของการลงทุนจากจีน เพราะไทยเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงตลาดในอาเซียนได้ดี ตอนนี้เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นอีกมณฑลหนึ่งของจีนเลยก็ว่าได้ ทั้งคน ชุมชน สินค้า โรงงาน ร้านอาหาร มารวมกันที่นี่หมด

ภาพของการเดินทางไปในต่างประเทศของคนจีน มีมาหลาย 100 ปี คนจีนอดอยาก ที่ทำมาหากินในประเทศแห้งแล้ง ต้องดิ้นรนย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ คนจีนตอนเหนือขยายไปยังสหรัฐอเมริกา ส่วนจีนตอนใต้ข้ามทะเลมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายตัวเข่าไปในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ลาว ไทย คนจีนกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “ชาวจีนโพ้นทะเล”

จีนไม่หยุด

แรกๆ ที่คนจีนเดินทางเข้ามาในไทย เป็นการอาศัยอยู่ชั่วคราว แต่พออยู่ไปนานๆ ก็เห็นลู่ทางทำมาหากิน มีการขยับขยายกิจการใหญ่โต จนตั้งรกรากในไทยไปเลย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจ้าสัวที่ร่ำรวยในไทยนี่แหละ แต่คนกลุ่มนี้เป็นรุ่นลูกรุ่นหลาน

นิสัยของคนจีนเป็นคนขยัน ไม่ทิ้งพวกพ้อง ไม่ทิ้งเครือญาติ เมื่อตัวเองประสบความสำเร็จแล้ว จะมีการชักชวนเครือญาติ รวมถึงนักลงทุนด้วยกันมาอยู่ด้วย เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “จีนอพยพใหม่” มีความใกล้ชิดกับ “จีนโพ้นทะเล”

จีนไม่หยุด

ปัจจุบันภาพคนจีนที่เข้ามาในไทย เป็นคนจีนรุ่นใหม่ ไม่เหมือนกับคนจีนโพ้นทะเล เป็นพวกนักศึกษา นักนักท่องเที่ยว และนักลงทุนที่เข้ามาทำธุรกิจและขยายสาขาในไทย ทั้งคลังสินค้าเกษตร ล้งผลไม้ สวนทุเรียน โรงแรม นายหน้าอสังหาฯ, มหาวิทยาลัย, ปั้มน้ำมัน, อีคอมเมิร์ซ, ไกด์, ทัวร์รายย่อย, ขนส่งพัสดุ, ผู้ประกอบการรถบัส, โรงแรมขนาดเล็ก,

เรือโดยสารสปีดโบ๊ต, ร้านอาหารจีน, ร้านไอศกรีมและชา, มินิมาร์ท, ร้านของฝากและร้านจิวเวลรี, ร้านนวดสปา ร้านขายผลไม้ ไปจนถึงโรงงานผลิตรถยนต์ EV กลายเป็นตั้งกิจการทำแข่งกับ “คนไทย” รวมถึงแข่งกับนักลงทุนประเทศอื่นๆ แบบกินรวบด้วยซ้ำ หนักสุดสินค้า SME โดนสินค้าจีนราคาถูกตีตลาด แม้แต่ธุรกิจเหล็กปิดตัวไปแล้วกว่า 75 ราย

การขยายตัวของธุรกิจหรือกลุ่มทุนจีนมากมายในไทย อาจเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมในยุคสมัยใหม่ จะใช้กำลังทางทหารแบบเดิมไม่ได้ จะเห็นได้ว่ามีชุมชนชาวจีนเกิดใหม่ในหลายย่าน เช่น ห้วยขวาง บรรทัดทอง รังสิต รามคำแหง เกษตร-เสนานิคม และอื่นๆ ในแต่ละย่านก็มีร้านอาหารจีนที่ลักลอบเปิดโดยคนจีนโดยใช้นอมินีเป็นคนไทย

นอกจากร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นประเด็นดราม่าในไทย ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกมามายแทบทุกอุตสาหกรรมก็ว่าได้ แม้แต่แพลตฟอร์มจีนในไทยก็เกิดขึ้นหลายรูปแบบ มีการใช้เงินหยวนเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

หลายคนกังวลว่าเมื่อธุรกิจจีนเติบโตขึ้นในไทย อาจเปิดช่องทางให้ธุรกิจจีนเทาเข้ามาในไทยง่ายขึ้น หรือแม้แต่ป้ายโฆษณาจีนซื้อขายสัญชาติกลางเมืองแยกห้วยขวาง ไม่เพียงแค่ไทยเป็นแหล่งโกยเงิน กินรวบของธุรกิจจีน ไทยยังเป็นที่ “ชุบตัว” ของเศรษฐีหน้าใหม่จากจีน

นอกจากสินค้าและธุรกิจจีนที่ครอบงำในไทยแล้ว ยังมีข่าวจีนจะเข้ามาซื้อ-เช่าที่ดินในไทย เพื่อปลูกผลไม้ส่งไปขายที่จีน หากรัฐบาลไทยไม่มีมาตรการป้องกัน หลายคนเชื่อว่าธุรกิจไทยกว่า 50% จะเปลี่ยนมือเป็นของจีนอีกไม่เกิน 5 ปี

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช