จับคู่ทรงพลัง ชาตรามือ เปิดสาขารัวๆ ในปั้ม Shell

อีกหนึ่งแบรนด์เครื่องดื่มที่เริ่มเห็นในปั้มน้ำมันเหมือนกับร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” ปั้ม ปตท. และ “อินทนิล” ปั้มบางจาก ก็คือ ร้านชาตรามือในปั้มน้ำมันเชลล์ เป็นกลยุทธ์การตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าคนขับรถและพักอาศัยอยู่ตามแหล่งชุมชน

“ชาตรามือ” มีจุดเริ่มต้นจากตระกูล “เรืองฤทธิเดช” เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว “ซาเหล่าแปะ” รุ่นปู่ของต้นตระกูลได้เดินจากจีนมาตั้งรกรากในไทยเมื่อปี 2463 เปิดธุรกิจร้านชาจีนชื่อ “ลิมเมงกี” บนถนนเยาวราช นำเข้าวัตถุดิบชาอู่หลง ชาเขียว ชาแดงจากจีนโดยตรง ต่อจากนั้นได้ตั้งโรงงานผลิตชาแห่งแรกที่จังหวัดเชียงราย

ช่วงแรกเป็นการรับผลิตชาและขายส่งชาให้กับร้านชาชงเจ้าอื่นๆ ในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก เมื่อธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง ซาเหล่าแปะได้คิดค้นสูตรชาและนำเข้าชารูปแบบต่างๆ เพื่อให้เรสชาติถูกปากคนไทย โดยเฉพาะการปรับเมนูชาชงใส่น้ำแข็ง ทำให้สดชื่นกว่าการดื่มชาร้อนแบบจีน นับจากนั้นเมนูชาใส่น้ำแข็งก็ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ชาตรามือ

แรกๆ ชาตรามือไม่ได้ใช้ชื่อ “ตรามือ” แต่เป็นเพราะโลโก้สีแดงสดเป็นรูปกาชงชาและยกนิ้วโป้ง สื่อถึงความเป็นเลิศ ทำให้ลูกค้าติดภาพจนเรียกกันมาว่า “ชาตรามือ” ต่อมาได้เปิดหน้าร้านอย่างเป็นทางการ และได้ใช้ชื่อ “ชาตรามือ” ตั้งแต่บัดนั้นมา

ปัจจุบัน “ชาตรามือ” อยู่ภายใต้การบริหารของ “พราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช” ทายาทรุ่น 3 ที่เป็นคนจุดกระแสชาตรามือฟีเวอร์ จนสามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แต่ละสาขามีลูกค้าต่อแถวซื้อกันยาวเหยียด

โดยเฉพาะการเปิดตัวเมนู “ชากุหลาบ” ในวันวาเลนไทน์ปี 2560 จนสร้างปรากฏการณ์ไวรัลอย่างมาก อีกทั้งยังพัฒนาเมนูใหม่ๆ ออกสู่ตลาดต่อเนื่อง ครองส่วนแบ่งตลาดชาชงในประเทศไทยกว่า 80% มีสาขา 170 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงบุกตลาดแบบแฟรนไชส์ในต่างประเทศ อาทิ บรูไน, กัมพูชา, จีน, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, เมียนมา, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ

ใส่เกียร์เดินกลยุทธ์ Collaboration : X

ชาตรามือ

ปลายปี 2564 “ชาตรามือ” หันมาใช้กลยุทธ์การตลาดด้านความร่วมมือ (Collaboration : X) จับมือกับร้านกาแฟ “อินทนิล” พัฒนามนูเครื่องดื่มเด็ดๆ เสิร์ฟผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้นผ่านฐานแฟนของ “อินทนิล” ด้วย

ต่อมาในช่วงกลางๆ ปี 2566 “ชาตรามือ” เริ่มเดินหน้ากลยุทธ์ Collaboration : X ต่อเนื่อง ขยายสาขาไปอยู่ในปั้มน้ำมันเชลล์ ที่มีจำนวนมากกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ แต่ละสาขาของปั้มน้ำมันเชลล์ตั้งอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางธุรกิจและชุมชนที่อยู่อาศัย

ทำให้ ชาตรามือสามารถขยายฐานกลุ่มลูกค้าคนขับรถ คนทำงานออฟฟิศ และคนที่พักอาศัยในชุมชนใกล้เคียง อีกยังอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่สั่งเดลิเวอรี่และจำเป็นต้องการมารับสินค้าในปั้มที่มีพื้นที่รองรับด้วย

ชาตรามือเปิดร้านในปั้มเชลล์ยังเปิดโอกาสให้สามารถทำการตลาดแบบ Omni-channel ให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างรอบด้าน ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ จะส่งผลให้มีลูกค้าเข้าไปใช้บริการปั้มน้ำมันและร้านชาตรามือเพิ่มขึ้นด้วย

ร้านชาตรามืออยู่ในปั้มเชลล์สาขาไหนบ้าง?

ชาตรามือ

  • ปั้มน้ำมันเชลล์ กาญนาภิเษก-บางใหญ่
  • ปั้มเชลล์ ลาดพร้าว 81
  • ปั้มเชลล์ ประเสริฐมนูกิจ
  • ปั้มเชลล์ เอกชัย ซอย 46
  • ปั้มเชลล์ บางแค
  • ปั้มเชลล์ แสมดำ พระราม 2
  • ปั้มเชลล์ ถนนข้าวหลาม (ขาเข้าบางแสน)
  • ปั้มเชลล์ ถนนข้าวหลาม (ขาออกบางแสน)
  • ปั้มเชลล์ พัทยาเหนือ
  • ปั้มเชลล์ ชลบุรี บายพาส
  • ปั้มเชลล์ กิ่งแก้ว
  • ปั้มเชลล์ ถนนหลวงแพ่ง
  • ปั้มเชลล์ บางนา-ตราด
  • ปั้มเชลล์ พระราม 9
  • ปั้มเชลล์ สุขสวัสดิ์ 49
  • ปั้มเชลล์ วังน้อย
  • ปั้มเชลล์ วังมะนาว
  • ปั้มเชลล์ บ้านลาด เพชรบุรี
  • ฯลฯ

ชาตรามือ มีรายได้เท่าไหร่?

ชาตรามือ

แบรนด์ “ชาตรามือ” อยู่ภายใต้การบริหารของ 3 บริษัท

  • บริษัท ชาไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ปี 2566 มีรายได้ 2,637 ล้านบาท กำไร 43.8 ล้านบาท
  • บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด ปี 2566 มีรายได้ 371 ล้านบาท กำไร 8.4 ล้านบาท
  • บริษัท ทิพย์ธารี จำกัด (ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มชาตรามือ) ปี 2566 มีรายได้ 1,273 ล้านบาท กำไร 195.7 ล้านบาท

สำหรับคนที่ถามเข้ามาว่า “ชาตรามือ” ขายแฟรนไชส์มั๊ย!

ปัจจุบันชาตรามือยังไม่มีการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ในประเทศไทย แต่ผู้สนใจสามารถนำผลิตภัณฑ์ของชาตรามือไปใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบธุรกิจในนามชื่อร้านของตัวเอง และสามารถนำบรรจุภัณฑ์ชาตรมือตั้งโชว์ที่ร้านได้ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช