จริงมั๊ย! ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ ทำเงินน้อย มักเจ๊งเร็ว

มีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจลงทุนต่ำ หรือธุรกิจเล็กๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะล้มเหลว ไปไม่รอด ปิดกิจการง่าย แต่ไม่เสมอไปที่ธุรกิจลงทุนต่ำมักจะเจ๊งเร็ว

ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ มีข้อดีหลายอย่าง

ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ

1. มีความเสี่ยงต่ำ

ธุรกิจลงทุนต่ำมักมีความเสี่ยงทางการเงินและขาดทุนจากการเริ่มต้นทำธุรกิจน้อยกว่าธุรกิจลงทุนสูง เจ้าของธุรกิจสามารถทดลองตลาดหรือไอเดียธุรกิจใหม่ๆ ได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมาก

2. มีความยืดหยุ่นสูง

ธุรกิจลงทุนต่ำมักมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ง่าย เช่น การทำงานจากที่บ้าน หรือการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ ช่วยให้สามารถปรับตัวได้ตามความต้องการของตลาด

ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ

3. มีความเร็วในการเริ่มต้น

ธุรกิจลงทุนต่ำสามารถเริ่มต้นได้เร็ว เปิดร้านได้เร็ว ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก ไม่ต้องรอการอนุมัติจากหุ้นส่วนเหมือนธุรกิจลงทุนสูงๆ ที่สำคัญไม่ต้องมีขั้นตอนซื้ออุปกรณ์และวัตถุดิบที่มีราคาแพง

4. ต้นทุนดำเนินการต่ำ

การลงทุนต่ำสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ เช่น ค่าเช่าสถานที่, ค่าจ้างพนักงาน, หรือค่าใช้จ่ายด้านการทำการตลาด ช่วยให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น

ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ

5. ทดลองตลาดและปรับปรุงสินค้าได้ง่าย

ธุรกิจลงทุนต่ำสามารถทดลองตลาดและปรับปรุงสินค้าและบริการตามความต้องการของลูกค้าได้ ไม่ต้องเสี่ยงในการสูญเสียเงินจำนวนมาก

6. ปิดกิจการได้ง่าย

เปิดธุรกิจแล้วหากไม่สำเร็จก็ปิดกิจการได้ง่าย ไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนมากนัก

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจลงทุนต่ำเป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทดสอบตลาดหรือไอเดียใหม่ๆ โดยไม่ต้องมีความเสี่ยงทางด้านการเงินต่ำ อีกทั้งยังมีโอกาสในการสร้างความสำเร็จในระยะยาวหากบริหารจัดการได้ดี

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ ก็มีข้อเสียที่ต้องพิจารณาเช่นกัน

ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ

1. ทรัพยากรมีจำกัด

การลงทุนต่ำอาจมีทรัพยากรที่จำกัดในการพัฒนาสินค้าและบริการ เช่น อุปกรณ์, เทคโนโลยี, หรือบุคลากร อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพมาตรฐานและประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ

2. แข่งขันลำบาก

ธุรกิจลงทุนต่ำอาจเผชิญกับคู่แข่งรายใหญ่ที่มีการลงทุนสูง มีเงินทุนในการทำตลาดที่ดีกว่า

3. ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น

ธุรกิจเล็กๆ อาจขาดความน่าเชื่อถือ ลูกค้ามีความเชื่อมั่นน้อย คุณภาพมาตรฐานต่ำ เนื่องจากขาดการลงทุนในการสร้างแบรนด์ ทำการตลาด พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ

ธุรกิจไหนลงทุนต่ำ

4. ขยายกิจการได้ช้า

ด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด เงินทุนน้อย ทำให้การขยายธุรกิจอาจเป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องมีการวางแผนและกลยุทธ์ที่รอบคอบ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

5. คุณภาพมาตรฐานต่ำ

บางครั้งการลดต้นทุนอาจทำให้คุณภาพของสินค้าและบริการลดลงไปด้วย อาจส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า และความเชื่อมั่นในแบรนด์ธุรกิจได้

6. มีข้อจำกัดในการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

เช่น การโฆษณา, การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือการหาตลาดใหม่ๆ

7. ปัญหาในด้านการเงิน

ธุรกิจที่เริ่มต้นด้วยการลงทุนต่ำอาจพบปัญหาในการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนและการจัดการกระแสเงินสด ซึ่งอาจส่งผลให้ธุรกิจมีปัญหาในการดำเนินงานในระยะยาว

สรุปก็คือ การเริ่มต้นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนต่ำ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ธุรกิจจะเจ๊งหรือจะสำเร็จก็ได้ ถ้าจะเจ๊งปัจจัยหลักๆ อยู่ที่เจ้าของธุรกิจตั้งใจทำมั๊ย สินค้าและบริการถูกใจลูกค้ามั๊ย คู่แข่งขันในตลาดเยอะมั๊ย ซึ่งจริงๆ แล้วธุรกิจลงทุนต่ำถ้าอยากประสบความสำเร็จ สินค้าและบริการต้องดี บริหารจัดการต้องดี วางแผนที่รอบคอบ ตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดี

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช