ค้าปลีก 2568! เปิดเกมรุกด้วย “Localized Marketing”

Localized Marketing หรือการตลาดท้องถิ่นคือคีเวิร์ดสำคัญของธุรกิจค้าปลีกในปี 2568 อันที่จริงการตลาดแบบนี้ก็ถูกนำมาใช้แล้ว เพียงแต่ว่าต่อจากนี้จะยิ่งชัดเจนและแข่งขันกันหนักมากขึ้น

มองเห็นตัวอย่างกันชัดๆ อย่าง บิ๊กซีที่ใช้โมเดล “มินิบิ๊กซี” เข้าถึงลูกค้า เปิดปีละ 200-300 สาขา หรือบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ที่จะใช้โมเดลสาขาเล็ก “โลตัส โก เฟรช” เปิดเพิ่มปีละ 120-150 สาขา เช่นเดียวกับ “ซีเจ มอร์” ค้าปลีกโมเดลใหม่ที่เป็นมากกว่าร้านสะดวกซื้อทั่ว ๆ ไป เปิดเพิ่มปีละประมาณ 250 สาขา รวมถึง 7-Eleven ที่ปรับโมเดลร้านสะดวกซื้อให้มีความครบวงจรตอบโจทย์ลูกค้าในทุกพื้นที่ได้มากขึ้น

ประการแรกของการปรับลดขนาดร้านจากใหญ่ไปเล็กคือการประหยัดงบในด้านการลงทุน แม้กระทั่ง OR ยังมีโมเดล “ปั๊มชุมชน” ที่ลดเงินลงทุนได้ถึง 30% จากปกติ 35-40 ล้านก็เหลือประมาณ 10-20 ล้าน เป็นต้น

ถ้าถามว่าข้อดีของ Localized Marketing คืออะไร?

Localized Marketing
ภาพจาก www.facebook.com/makroHQ

ภาพจาก www.facebook.com/makroHQ

อธิบายง่ายว่านี่คือกลยุทธ์การตลาดที่ถูกปรับให้เข้ากับลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่ หรือภูมิภาค เช่น ภาษา วัฒนธรรม พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างข้อความและข้อเสนอที่มีความเกี่ยวข้องและตรงกับความต้องการของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างตรงจุด

เช่น หากเราต้องการขายสินค้าให้กับคนในจังหวัดเชียงใหม่ ก็จะต้องใช้ข้อความ ภาพโฆษณาสินค้าที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวเหนือ เพื่อช่วยในการสื่อสารและทำให้การขายเข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยเฉพาะซึ่งก็มีข้อดีในหลายด้าน ได้แก่

  • เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากขึ้น
  • เพิ่มความพึงพอใจและความภักดีต่อแบรนด์ได้ดีกว่าเดิม
  • สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ทำให้แบรนด์มีจุดเด่นที่น่าสนใจในแต่ละท้องที่

ถ้ายังมองเห็นภาพไม่ชัดยกตัวอย่างแม็คโคร ในจังหวัดภูเก็ตที่มีประชากรราว 4.2 แสนคน และมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 20.20% ทางแม็คโครเน้นการตลาดแบบ Localized Marketing เป็นหลักในพื้นที่นี้ มีโดยแม็คโครรวม 6 สาขามีการพัฒนารูปแบบ แม็คโคร ฟู้ดเซอร์วิส รองรับโอกาสจากการท่องเที่ยวที่เติบโตสูง และมีการขยายโซนสินค้าพรีเมียม โซนเบเกอรี่ที่อบสดใหม่ทุกวัน และเพิ่มเติมความหลากหลายให้กลุ่มสินค้าอุปโภคมากยิ่งขึ้น

Localized Marketing
ภาพจาก https://bit.ly/4fD2Zcf

อีกสักตัวอย่างคือ โลตัสที่ได้นำเอา Localized Marketing มาใช้เช่นกัน ล่าสุดคือการเปิดตัวเปิดตัวโลตัสสาขายะลาเป็นการรวมห้างค้าปลีกค้าส่งไว้ในที่เดียว โดยเป็นโมเดลใหม่ที่เรียกว่า Hyper Hybrid เป็นการผสานจุดแข็งของค้าปลีกค้าส่งเข้าไว้ด้วยกัน มีการคัดสรรสินค้าอุปโภคบริโภคมากมาย

โดยเฉพาะสินค้า Slap Pricing หรือ ซื้อเยอะ ราคาขายส่ง เพื่อผู้ประกอบการและลูกค้าได้เลือกสรร ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน ด้วยการผลิตสินค้าฮาลาล การจัดระเบียบการวางผลิตภัณฑ์ฮาลาลภายในสาขาที่ถูกต้องตามหลักศาสนา การแบ่งแยกโซนการจัดเก็บที่ต้องผ่านกรรมวิธีฮาลาลอย่างถูกต้อง และการแยกโซนสินค้ากลุ่ม Non-Halal ไม่ให้ปะปนกับผลิตภัณฑ์ฮาลาล

แน่นอนว่าเป้าหมายสำคัญของการตลาดแบบ Localized Marketing คือการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ และก็ไม่ใช่แค่รูปแบบของธุรกิจที่ปรับให้เล็กลงเพื่อเข้าถึงลูกค้าเท่านั้น Localized Marketing ที่ว่านี้ยังไปปรับใช้เป็น Localized Menu ที่หลายแบรนด์ก็ใช้ประสบความสำเร็จมาแล้ว

Localized Marketing
ภาพจาก https://mcdonaldsblog.in

ยกตัวอย่าง McDonald’s ที่สามาถตีตลาดอินเดีย ซึ่งมีวัฒนธรรมไม่ทานหมูและเนื้อ ได้สำเร็จเมนูแรกที่ McDonald’s อินเดีย เลือกปรับ ก็คือ Big Mac เมนูซิกเนเชอร์ ที่มีส่วนประกอบหลักคือ เนื้อย่าง 2 ชั้น ที่ทุก ๆ ประเทศต้องมี

โดย McDonald’s อินเดีย ได้ปรับให้เป็น “เบอร์เกอร์มหาราชา” หรือ “Maharaja Mac” ที่สำคัญ ยังปรับรสชาติให้มีความเผ็ดร้อนมากขึ้น ด้วยการใส่พริกฆาลาเปญโญ (Jalapeños) เข้าไปในเบอร์เกอร์ด้วย

หรืออีกเมนูคือ McAloo Tikki Burger ที่นำเมนูสตรีตฟูดยอดฮิต ที่คนอินเดียรู้จักกันเป็นอย่างดี อย่าง อาลู ทิคคี (Aloo Tikki) ซึ่งก็คือ มันฝรั่งบดทอดผสมด้วยเครื่องเทศ มาเป็นไส้กลางในเบอร์เกอร์ซึ่งเมนูนี้ยังมาพร้อมกับราคาที่เข้าถึงง่าย จนทำให้กลายเป็นเมนูยอดฮิต ที่ช่วยดึงดูดคนอินเดียให้เข้ามารับประทานซ้ำ ๆ ได้เป็นอย่างดี

ความสำเร็จของ McDonald’s ในอินเดียคือตัวอย่างของ Localized Marketing ที่ชัดเจน มีชาวอินเดียมาใช้บริการมากกว่า 320 ล้านคนต่อปี และแน่นอนว่านี่คือกลยุทธ์การค้าในปี 2568 ที่เราเชื่อว่าจะเป็นการตลาดหลักของหลาย

แบรนด์ที่นำมาใช้ มองในแง่ดีคือผู้บริโภคจะได้รับสินค้าและบริการที่เน้นคุณภาพและความประทับใจให้เหมาะสมกับในพื้นที่ เป็นยุคที่แบรนด์ต้องวิ่งเข้าหาลูกค้าหากต้องการความสำเร็จในแง่ของยอดขายที่จะเพิ่มขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด