ความหมายของ “แฟรนไชส์” ที่คนไทยต้องเข้าใจ!

เชื่อว่าในวันนี้ หลายคนน่าจะรู้จัก “แฟรนไชส์” กันเป็นอย่างดี แต่ก็มีอีกหลายๆ คนที่สนใจเรื่องของแฟรนไชส์ แต่ยังไม่รู้ว่าแฟรนไชส์คืออะไร ไม่รู้ว่าแฟรนไชส์ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นแฟรนไชส์รูปแบบไหน เขาบริหารงานยังไง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอความหมายของระบบแฟรนไชส์ ให้กับคนที่กำลังสนใจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยากทำแฟรนไชส์ และนักลงทุนที่อยากซื้อแฟรนไชส์ทำธุรกิจ ได้รู้และเข้าใจแบบชัดๆ ครับ

ความหมายของแฟรนไชส์

ความหมายของ “แฟรนไชส์”

ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้

รวมทั้งต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้แฟรนไชส์ซี เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

การทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ กับผู้ที่ต้องการลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee

542

เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) จะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

โดยแฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้ เป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจรวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี

ขณะเดียวกัน สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายในระบบแฟรนไชส์อีกอย่าง ก็คือ เงินรายงวด ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือ ค่ารอยัลตี้(Royalty Fee) เป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่แฟรนไชส์ซีได้ จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือค่าสมาชิกสโมสรที่คนเป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนานั่นเอง

เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ โดยปกติแฟรนไชส์ซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เป็นรายเดือน โดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ในธุรกิจอาหารและร้านค้าปลีกต่างๆ อัตราเปอร์เซ็นต์ของค่า Royalty บนยอดขายมักจะมีค่าประมาณ 4-6% ขณะที่ธุรกิจประเภทการบริการมักอยู่ที่ 8-10%

543

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่ หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 แบบรวมกัน โดยแฟรนไชส์ซอร์อาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณา สนับสนุนการขาย ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกับการทำธุรกิจทั่วไป เป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการล้มเหลวในธุรกิจ และช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เรียนลัดได้เร็วขึ้นกว่าปกติ เหมือนกับการจ่ายค่าติวเข้มทางธุรกิจ และจ้างพี่เลี้ยงช่วยเหลือ

นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์อีก เช่น การลงทุนตกแต่งร้าน เพื่อให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์

ดังนั้น แฟรนไชส์ซี จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้าส่วนนี้ พร้อมทั้งต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น

ประเภทของระบบแฟรนไชส์ในปัจจุบัน

1. Product Distribution Franchise

Product

เป็นการให้สิทธิ์ในตัวผลิตภัณฑ์หรือเครื่องหมายการค้า เพื่อการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าในยี่ห้อสินค้านั้น แฟรนไชส์ประเภทนี้ แฟรนไชส์ซอร์ในฐานะผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ มักจะกำหนดมาตรฐานทางคุณภาพด้านต่างๆ ให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นมาตรฐานเดียวกัน

โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประเภทนี้ มักจะทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นๆ มากกว่าที่จะเป็นผู้ผลิตเสียเอง หรือซื้อวัตถุดิบจากเจ้าของแบรนด์มาผลิตจำหน่าย โดยปกติมักจะเป็นผู้ค้าปลีกเป็นส่วนมาก เช่น ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จะเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ให้กับบริษัทผู้ผลิต หรือแม้แต่ Coca-Cola, บริษัท Ford Motor, Exxon และ Osim

นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์จะไม่เข้าไปควบคุมการดำเนินธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่เจ้าของแฟรนไชส์จะดูแลควบคุมในด้านมาตรฐานให้เป็นไปตามที่ข้อกำหนดเท่านั้น อย่างในเมืองไทยแฟรนไชส์ประเภทจะเป็น ชา 25 บาท ลูกชิ้นทอด ฯลฯ

2. Business Format Franchise

 Business

ภาพจาก https://goo.gl/4oGgLu

เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน คือ แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดระบบของการดำเนินธุรกิจให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่างๆ รวมทั้งแผนการตลาด

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้า ที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์

โดยมีการถ่ายทอดระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูงที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งนี้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของทั้งเจ้าของและผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ โดยยึดถือประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ ดังกิ้น โดนัท 7-Eleven เป็นต้น

3. Management Franchise

Management

เป็นระบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการอิสระที่มีอยู่เดิม ที่ต้องการให้ธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มีรูปแบบ หรือ ใช้เครื่องหมายทางการค้าที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค

โดยรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์จะให้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการรูปแบบ การวางระบบ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างของแฟรนไชส์การจัดการ คือ กลุ่มธุรกิจโรงแรม และกลุ่มธุรกิจบริการไปรษณีย์เอกชน ที่กำลังได้รับความนิยมจากอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซบูม เช่น Hilton, American Idol, UPS Store, ควิกเซอร์วิส, Super S

ทั้งหมดเป็นความหมายและประเภทของระบบแฟรนไชส์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยระบบแฟรนไชส์ต้องมีแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของธุรกิจ) และแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) ตกลงทำสัญญาร่วมกันในการถ่ายทอดระบบการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้กัน โดยผูซื้อแฟรนไชส์จะต้องมีค่าตอบแทนให้กับเจ้าของธุรกิจ เช่น ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า ค่าการตลาด ค่าดำเนินงานให้ความช่วยเหลือต่างๆ ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งจะจ่ายเป็นรายเดือนให้กับเจ้าของแฟรนไชส์

อ่านบทความอื่นๆ จากไยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php


Franchise Tips

ธุรกิจแฟรนไชส์ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ

  1. มีผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปสู่ระบบการสร้างสัญญาทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย
  2. เครื่องหมายการค้า หรือบริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน
  3. มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลดำเนินการ (Royalty Fee)

แหล่งข้อมูล

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hpksaU

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช