ความท้าทาย “อุตสาหกรรมอาหารไทย” ราคาขึ้น ในวิกฤต “โควิด – สงครามรัสเซีย ยูเครน”

ในปี 2564 ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าอาหารไปทั่วโลก คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นแป้งมันสำปะหลัง, กุ้ง, ผลิตภัณฑ์มะพร้าว, เครื่องปรุงรส, น้ำตาล, อาหารพร้อมรับประทาน, สับปะรด และผลไม้ตามฤดูกาล ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก และคาดว่าในปี 2565 แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยจะมีมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.4%

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่ายังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้การส่งออกสินค้าอาหารไม่เป็นไปตามคาดการณ์ ได้แก่ เงินเฟ้อ ราคาสินค้าเกษตร ราคาพลังงาน และค่าขนส่ง ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง ต้นทุนสินค้าปรับตัวสูงขึ้น

อุตสาหกรรมอาหารไทย

หากเจาะลึกถึงตัวเลขการส่งออกสินค้าอาหารของไทย จะพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปมีบทบาทสำคัญต่อการส่งออกอาหารไทยโดยรวมอย่างมาก โดยในแต่ละปีไทยมีมูลค่าการส่งออกอาหารสำเร็จรูปมากกว่า 200,000 ล้านบาท

สำหรับสถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารของไทย รวมถึงแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการอาหาร ท่ามกลางการระบาดโควิดสายพันธุ์โอไมครอน และวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน จะเป็นอย่างไร

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์ “คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปมานำเสนอให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคชาวไทยได้รับทราบ

สถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป

อุตสาหกรรมอาหารไทย

คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา เปิดเผยถึงสถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปไทยในปี 2565 ว่า นับตั้งแต่เกิดการระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย ได้ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง รวมถึงซอสปรุงรส กลายเป็นกลุ่มสินค้าที่เติบโตได้ดีในช่วงกักตัวอยู่ที่บ้าน เพราะทุกคนพยายามเก็บกักตุนอาหารและทำกินเองที่บ้าน

ในภาวะปกติการบริโภคสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณปีละ 2 ล้านล้านบาท มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวหายไป ทำให้สินค้าอาหารในกลุ่มที่จำหน่ายในร้านอาหาร โรงแรม หรือสินค้าของฝากลดลงไปด้วย ทางออกของผู้ประกอบการคือ ผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น รวมถึงปรับรูปแบบการขายส่งตรงถึงผู้บริโภคได้ง่าย ทั้งออนไลน์ เดลิเวอรี่ เป็นต้น

สำหรับปัญหาของอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปช่วงการระบาดโควิด-19 คือ ราคาน้ำมันแพง วัตถุดิบขาดแคลน ต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น การขาดแคลนแรงงานเนื่องจากมีการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงงาน หยุดงาน 14 วัน โรงงานขาดทุนไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ การแก้ปัญหาของเอกชน คือ ให้พนักงานพักรักษาตัวในโรงงานป้องกันการแพร่เชื้อ

การปรับตัวและโอกาสของผู้ประกอบการ

อุตสาหกรรมอาหารไทย

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารเน้นการผลิตจำนวนมากทำให้เกิดการแข่งขันกันสูง ผู้ประกอบการควรหันมาผลิตสินค้าพร้อมทานที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สร้างความแตกต่างให้กับตลาด และสามารถสร้างมูลค่าได้สูง เพราะยังไม่มีการแข่งขันกันรุนแรงมากนัก ผู้ประกอบการ SME สามารถเริ่มต้นได้เลย ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ๆ

ขณะเดียวกัน ต้องปรับปรุงเรื่องบรรจุภัณฑ์เปลี่ยนไปตามรูปแบบของวิธีใช้งาน และพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงขนาดของครอบครัว เพราะปัจจุบันคนที่อยู่บ้านอาจมีแค่คนเดียวหรือสองคนเท่านั้น และปัจจุบันพลาสติกก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้นด้วย แต่กระป๋องก็ยังคงใช้อยู่ เพียงแต่ค่อนข้างจำกัดชนิดของสินค้า และส่วนใหญ่ก็นำไปใช้ในการส่งออกมากกว่า บรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋องนี้มีข้อดีของตัวเองคือเรื่องของการเก็บรักษา ซึ่งมีระยะเวลาที่ยาวนาน การขนส่งที่ปลอดภัย รวมถึงกันกระแทกได้ดีกว่า

เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป

อุตสาหกรรมอาหารไทย

พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ดังนั้น การผลิตอาหารต้องมีสัญลักษณ์ให้เห็นว่ามีคุณภาพด้านสุขภาพ และผ่านการแปรรูปไม่มาก ถึงแม้จะรู้อยู่แล้วว่าสินค้านี้คืออาหารแปรรูป แต่ต้องแปรรูปน้อย ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคในเวลานี้คือยินดีจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้สุขภาพดีมากขึ้น รวมถึงเทรนด์ความนิยมของผู้บริโภคสั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น

ขณะเดียวกันผู้บริโภคเริ่มใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาหารต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าผลิตมาจากฟาร์มไหน กระบวนการผลิตทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ทำลายทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน ใช้วัตถุดิบได้คุ้มค่าหรือไม่ สุดท้ายคือการผลิตสินค้าในปริมาณรับประทานได้ครั้งเดียวเพื่อลดการสูญเสียวัตถุดิบ

ความท้าทายอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป

อุตสาหกรรมอาหารไทย

คุณวิศิษฐ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 และวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปไทยจากปัจจัยต้นทุนการผลิตสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารกระป๋องและอาหารสำเร็จรูป นับตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงปัจจุบัน ราคาเหล็กแผ่นซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตกระป๋องได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก

ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตกระป๋องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยถึง 30% กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสำเร็จรูปจำเป็นต้องขอปรับขึ้นราคาสินค้าประมาณ 5-15% เพราะผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงและภาวะขาดทุนในระยะยาวได้ หากไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้อาจทำให้สินค้าขาดตลาดเนื่องจากโรงงานอาจหยุดการผลิต

ที่ผ่านมาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปได้พยายามแก้ปัญหาและหาทางออก เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากต้นทุนการผลิตสินค้าที่ปรับตังสูง เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ปรับตลาดเป็นกลุ่มสินค้าพรีเมียมเพื่อขายได้ราคาสูงขึ้น หรือปรับลดขนาดสินค้าลงเพื่อไม่ต้องปรับราคาขึ้น หากรัฐบาลยังต้องการให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปตรึงราคาสินค้า จะต้องควบคุมราคาต้นทางไม่ให้ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งต้นทุนในด้านปุ๋ยเคมี ค่าขนส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า

กรณีปุ๋ยเคมีราคาจะสูงและอาจขาดแคลน นับเป็นต้นทุนสำคัญของการทำเกษตรกรรมในประเทศ เนื่องจากไทยมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากรัสเซียส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามล่าสุดเริ่มมีการมองหาการนำเข้าจากแหล่งอื่นทดแทน เช่น ซาอุดิอาระเบีย

18

สำหรับราคาอาหารในภาพรวมนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลสามารถควบคุมได้ระดับหนึ่งเพราะเป็นสต็อกเก่า แต่เมื่อต้นทุนใหม่ที่สูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ค่าขนส่ง แม้กระทั่งบรรจุภัณฑ์ต่างๆ อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารต้องมีการปรับขึ้น แต่จะมากหรือน้อยก็อยู่ที่ศักยภาพการผลิตแต่ละราย และภาวะตลาดหรือกำลังซื้อของสินค้านั้นๆ แต่ภาครัฐจะมีการพิจารณาแนวทางการปรับขึ้นเป็นรายบริษัทไปก็ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะได้ชี้แจงให้เห็นถึงตัวเลขต้นทุนที่แท้จริง

คุณวิศิษฐ์ กล่าวด้วยว่า อุตสาหกรรมอาหารไทยยังเป็นกำลังหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แม้ไทยจะยังคงเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบการขนส่งสินค้าในท่าเรือ โดยเฉพาะการคุมเข้มเรื่องโควิดของจีนที่ประกาศใช้มาตรการ Zero COVID กำหนดให้ตรวจ PCR 100% จะมีผลในช่วงฤดูผลไม้จะมาถึง

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3D8Ot9N

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช