ขายต้นไม้ออนไลน์ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การขายต้นไม้ออนไลน์มีคนทำกันมานานแล้ว แต่มาฮือฮามากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด อาจเพราะคนอยู่บ้านมากขึ้น มีเวลามากขึ้น บางคนขาดรายได้ไม่มีงานทำก็หันมาขายต้นไม้ออนไลน์
โดย www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการขายต้นไม้ออนไลน์แม้ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้และขายดี บางคนเริ่มแล้วไม่รอด บางคนขายไม่ได้ แต่กลับกันบางคนขายดี มีรายได้ดียิ่งกว่าทำงานประจำ
สิ่งที่ทำให้คนสองกลุ่มนี้ที่ขายต้นไม้เหมือนกันแต่ผลลัพธ์ไม่เหมือนกันคืออะไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งในความเป็นจริงการขายต้นไม้ออนไลน์หากสำเร็จตามที่ใจคิดสามารถสร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือนได้ไม่ยาก
อยากขายต้นไม้ออนไลน์ ต้องเริ่มอย่างไร??
1.เป็นคนที่มีความชอบเรื่องต้นไม้
ภาพจาก www.freepik.com
ทำไมบางคนทำแล้วไม่รอด ทำไมบางคนทำแล้วขายไม่ได้ ก็เพราะเขาไม่ได้ชอบ ใจไม่ได้รักในเรื่องต้นไม้ บางคนเห็นคนอื่นขายดีก็อยากขายบ้าง แต่จริงการขายต้นไม้เราต้องใส่ใจในรายละเอียด ต้องมีความสุขกับงานที่ทำ เพราะการขายต้นไม้ออนไลน์ไม่ได้จะขายได้ทันที ใช้เวลาในการสร้างชื่อให้คนรู้จัก แน่นอนว่าช่วงแรกอาจไม่สร้างรายได้แต่ถ้าใจรักเราก็จะอยู่กับสิ่งที่เราทำได้
2.สะสมต้นไม้ไปเรื่อยๆ
ภาพจาก www.freepik.com
คนที่อยากเริ่มต้นต้องเริ่มสะสมต้นไม้ไปเรื่อยๆ อาจจะเริ่มจากไม้มงคล ไม้ใบ เอาชนิดที่ดูแลง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษามาก อาจไปซื้อจากแหล่งต้นไม้ใกล้บ้าน เอามาเพาะ เอามาขยายพันธุ์ เพื่อเรียนรู้ว่าต้นไม้ชนิดนี้ดูแลอย่างไร ต้องทำอย่างไรถึงจะออกดอก ออกใบสวย สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลให้เราคุยกับลูกค้าในอนาคตได้ด้วย
3.ใช้แพลตฟอร์มโซเชี่ยลทุกช่องทางในการขาย
ภาพจาก www.freepik.com
บางคนเริ่มจากการเปิด IG เพื่อโชว์รูปภาพสวยๆ และค่อยเริ่มเปิดเพจเฟซบุ๊ก และเปิดไลน์ตามลำดับ หรือจะเปิดทุกอย่างพร้อมกันก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน การที่เราต้องเปิดการขายในทุกช่องทางโซเชี่ยลเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด บางคนเล่นIG บางคนเล่นเฟสบุ๊ค เป็นต้นสิ่งสำคัญคือเราต้องให้คนรู้จักร้านของเรามากที่สุด ยิ่งคนรู้จัก คนเห็นเรามาก โอกาสขายของเราก็มากขึ้น
4.เข้าร่วมกลุ่มคนรักต้นไม้ในโซเชี่ยลต่างๆ
ภาพจาก www.freepik.com
คนขายต้นไม้ก็ควรเข้าร่วมกลุ่มคนรักต้นไม้ในโซเชี่ยลที่มีหลากหลายข้อดีของการเข้าร่วมกลุ่มคือเราจะได้พูดคุยกับคนที่รักต้นไม้ ได้ความรู้เพิ่มขึ้น และในกลุ่มเหล่านี้จะมีการซื้อขายต้นไม้ จากคนที่สนใจต้นไม้จริงๆ หรือแม้แต่คนนอกที่อยากหาซื้อต้นไม้บางทีก็จะเข้ามาดูในกลุ่มโซเชี่ยลเหล่านี้ ถือเป็นช่องทางการขายที่สำคัญมาก
5.อย่าตั้งใจขายมากเกินไป (Hard Sale)
ภาพจาก www.freepik.com
การขายต้นไม้ออนไลน์เราไม่ควร Hard Sale มากเกินไป หลายครั้งจะมีคนสนใจทักเข้ามาถามเข้ามาคุย เข้ามาปรึกษาเรื่องการเพาะต้นไม้ การปลูกต้นไม้ หน้าที่ของเราคือพูดคุยให้คำปรึกษา สอนเทคนิคต่างๆ เป็นเหมือนแหล่งให้ความรู้ ซึ่งอาจจะมีการซื้อขายเกิดขึ้นตามมาหรือไม่ก็ตาม เราก็ไม่ควรปฏิเสธคนเหล่านี้ การให้ความรู้แก่คนที่ต้องการมีข้อดีคือจะทำให้เราดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และการบอกกันแบบปากต่อปาก หรือการแนะนำจากคนที่เราช่วยเหลือจะเป็นการันตีอย่างดีทำให้ภาพลักษณ์ของร้านออนไลน์เราดีขึ้น
สำหรับการลงทุนเปิดร้านขายต้นไม้ออนไลน์งบลงทุนเบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่าเราจะจับต้นไม้ชนิดไหนเป็นหลัก แต่ขอแนะนำว่าให้เริ่มจากไม้ที่ราคาไม่แพง เช่นไม้ใบ ไม้ดอก หรือแคคตัส หรือบางคนอาจจะเริ่มจากการขายกระถาง และค่อยเพิ่มการขายต้นไม้ในภายหลัง เงินทุนเบื้องต้นประมาณ 2,000 – 3,000 บาทก็สามารถเริ่มต้นการขายต้นไม้ออนไลน์แบบเล็กๆ ได้
เคล็ดลับขายต้นไม้ออนไลน์ให้ได้กำไรมากขึ้น
1.มีแหล่งวัตถุดิบต้นทุนถูก
ภาพจาก www.freepik.com
ถ้าต้นทุนเราถูกการขายได้กำไรก็มากขึ้น โดยเฉพาะพวกวัตถุดิบเพาะปลูกเช่น ปุ๋ย กระถาง ดิน เมล็ดพันธุ์ รวมถึงแหล่งซื้อต้นไม้ต่างๆ แต่ก็ใช่ว่าจะเลือกแต่ราคาถูกมาขายอย่างเดียวต้องดูที่น่าเชื่อถือด้วย
2.รู้วิธีบำรุงรักษาต้นไม้
ภาพจาก www.freepik.com
ความรู้ความเข้าใจสำคัญที่ควรต้องมีคือ การดูแลต้นไม้พันธุ์ต่าง ๆ เพราะเวลาลูกค้าเลือกซื้อต้นไม้ ต้องการได้สินค้าที่คุณภาพดี ต้นไม้สุขภาพดี ไม่ใช่เหี่ยวตั้งแต่ยังไม่ได้ซื้อไปเลี้ยง และคนขายควรมีคำแนะนำดีๆ ให้ลูกค้าด้วย
3.เข้าใจความต้องการของลูกค้า
ภาพจาก www.freepik.com
ลูกค้าแต่ละคนมีความต้องการที่ต่างกัน บางคนอยู่คอนโด หรืออพาร์ทเม้น ต้นไม้ที่จะขายได้จึงไม่ใช่ต้นไม้ขนาดใหญ่แต่ควรเป็นไม้กระถาง หรือบางคนมีบ้านเป็นของตัวเอง อาจต้องการไม้ที่มีขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ถ้าเราโฟกัสได้ถูกต้องจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
4.เอาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับต้นไม้มาขายด้วย
ภาพจาก www.freepik.com
สินค้าอื่น ๆ เช่น ปุ๋ย กระถาง ของประดับตกแต่ง อุปกรณ์ทำสวน สามารถนำมาวางขายเสริมคู่กับต้นไม้ของเราได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกและสินค้าที่หลากหลายให้กับลูกค้า อีกทั้งทำให้ลูกค้าแวะเวียนเข้ามาชมผลิตภัณฑ์ภานใน ร้านขายต้นไม้ออนไลน์ ของเราเพิ่มมากขึ้น
5.สร้างความประทับใจให้ลูกค้า
ภาพจาก www.freepik.com
การขายต้นไม้บนร้านออนไลน์ เราควรมีการติดตามถามลูกค้าว่าต้นไม้ที่ได้ไปเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้ลูกค้าประทับใจในบริการที่ดี เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้ร้านเราได้ด้วย
รายได้เบื้องต้นจากการขายต้นไม้ออนไลน์
ภาพจาก instagram.com/themt_minitree
รายได้ของการขายขึ้นอยู่กับเทคนิคในการขาย การทำตลาด การบริหารจัดการ บางคนมีเทคนิคการขายแปลกใหม่เช่น ทำกล่องสุ่มต้นไม้ที่กำหนดราคากล่องไว้ เช่น 300 บาท 500 บาท หรือ 1,000 บาท โดยคละสินค้าในกล่องให้มีความหลากหลาย ลูกค้าไม่สามารถเลือกได้ แต่มั่นใจได้เลยว่าสินค้าโดยรวมมีมูลค่ามากกว่าราคากล่องที่จ่ายไป ก็สามารถทำให้มีรายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้น
หรือบางคนเปิดร้านขายต้นไม้ลงทุนน้อยๆ แต่ขายไปเรื่อย ๆ รายได้อาจไม่มากนักประมาณ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน แต่ก็ถือเป็นเงินหมุนเวียนที่ดี หรือบางคนที่ประสบความสำเร็จในการขายอย่างมากสามารถสร้างรายได้ต่อเดือนเกินกว่าเดือนละ 20,000 บาท ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการเปิดร้านและความขยันตั้งใจของแต่ละคนด้วย
ทั้งนี้ไม่ว่าจะปลูกต้นไม้เพื่อเป็นงานอดิเรก เติมเต็มความชอบ หรืออยากต่อยอดเพาะขาย สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “ความรู้” เราต้องศึกษาหาความรู้เรื่องต้นไม้ชนิดนั้นๆ อย่างจริงจังเพื่อให้สามารถปลูกและดูแลต้นไม้ได้ดีที่สุดก่อนขายให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ใบสวยๆ แคคตัส หรือไม้น้ำประเภทต่างๆ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Ff5VKA
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)