ขายของออนไลน์ สร้างเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ ได้หรือไม่!

การเติบโตของ ขายของออนไลน์ นับว่ามีความชัดเจนมาก ตลาดออนไลน์คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้นจากระดับ 3 แสนล้านบาท เป็น 7.5 แสนล้านบาทในปี 2025 หรือคิดเป็น 16% ของตลาดค้าปลีกรวม จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้เราจะเห็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ขายของกันมาก

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าธุรกิจหากจับเทคนิคการขายให้ดีๆ มีการวางแผนที่ชัดเจน จะสร้างรายได้ที่ดีมาก และเมื่อบางคนขายสินค้าออนไลน์ได้ดีมากๆ จึงเกิดแนวคิดที่อยากจะทำเป็น “ธุรกิจแฟรนไชส์” โดยเรื่องนี้ อ.สุภัค หมื่นนิกร วิทยากรประจำไทยแฟรนไชส์ได้ให้คำตอบไว้ชัดเจนว่า “ ขายของออนไลน์ ” ไม่สามารถทำเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ได้

ขายของออนไลน์กับให้บริการออนไลน์ แตกต่างกัน

ขายของออนไลน์

นิยามคำว่า “ขายของออนไลน์” ที่ทำเป็นแฟรนไชส์ไม่ได้ หมายถึงการขายสินค้าแบบที่เราซื้อจากโรงงาน หรือนำมาสต็อคไว้แล้วนำมาโพสต์ขาย หรือการทำเป็น Dropship ต่างๆที่ให้เราเป็นผู้ขายแล้วให้ผู้ผลิตเป็นคนจัดส่งสินค้า เหล่านี้ไม่อาจทำเป็นแฟรนไชส์ได้ เพราะหลักสำคัญของการทำแฟรนไชส์คือการให้สิทธิ การแบ่งอาณาเขต

ซึ่งการธุรกิจออนไลน์เป็นธุรกิจการค้าที่ไม่สามารถระบุอาณาเขตได้ ยิ่งมีพ่อค้าแม่ค้ามากพื้นที่การขายยิ่งซ้ำซ้อนกัน ไม่สามารถแยกพื้นที่ออกจากกันได้ชัดเจน ไม่นับรวมเรื่องการกำหนดคุณภาพและมาตรฐานในการบริการ เพราะหากพูดว่าเป็นระบบแฟรนไชส์ต้องมีความชัดเจนที่ไม่ว่าจะใช้บริการสาขาไหนก็ต้องได้รับการดูแลที่ไม่ต่างกัน ซึ่งการขายออนไลน์นั้นควบคุมเรื่องเหล่านี้ได้ยาก หรือเรียกว่าแทบจะทำไม่ได้เลยด้วย

62

แต่ธุรกิจออนไลน์นั้นแตกต่างจากการขายของออนไลน์เพราะสามารถนำมาพัฒนาเป็น “ระบบแฟรนไชส์ได้” ดังเราจะเห็นหลายธุรกิจที่ให้บริการเช่น บีโค้ ที่เป็นแฟรนไชส์เครื่องสำอางออนไลน์ โดยใช้รูปแบบการสร้างเว็บไซต์ให้ผู้ลงทุนเชื่อมข้อมูลกับบริษัท เมื่อลูกค้ามีความต้องการสินค้าก็จัดส่งให้ในนามของผู้ลงทุน หรือเป็นบริการร้านสารพัดบริการต่างๆ เช่น ชิปป์สไมล์ , น้องฟ้าเซอร์วิส , ควิก เซอร์วิส , เพย์ พ้อยท์ เซอร์วิส เป็นต้น

ธุรกิจเหล่านี้มีการออนไลน์ก็จริง แต่เป็นงานที่มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน และที่สำคัญคือ ธุรกิจเหล่านี้มีพื้นที่ในการทำธุรกิจชัดเจน มีรูปแบบที่เห็นเด่นชัด เช่น เป็นร้านขนาดเล็ก เป็นเคาน์เตอร์ หรือเป็น Shop ขนาดเล็ก-ใหญ่ มีการแสดงสถานที่ชัดเจน มีโครงสร้างที่แน่นอน แตกต่างจากการขายของออนไลน์ทั่วไปที่เป็นเรื่องของตัวบุคคล ไม่มีพื้นที่ชัดเจน ไม่สามารถกำหนดขอบเขตในการขาย และไม่สามารถควบคุมรายละเอียดต่างๆ ได้จึงไม่สามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้

ขายของออนไลน์ในรูปแบบตัวแทนจำหน่าย ก็ไม่ถือเป็นแฟรนไชส์

61

ภาพจาก https://bit.ly/3HUAjea

แม่ค้าออนไลน์บางคนมีการขยายฐานธุรกิจด้วยการรับสมัครตัวแทนจำหน่าย ซึ่งคำว่าตัวแทนจำหน่ายหมายถึงคนที่สนใจสินค้าที่เราขาย เพื่อนำไปจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าของตนเอง ตามช่องทางขายของตนเอง การสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันว่าจะได้ผลตอบแทนอย่างไรเช่นค่าคอมมิชชั่น ส่วนต่างจากราคาขาย เป็นต้น

ซึ่งหากจะทำเป็นแฟรนไชส์ต้องหมายถึงว่า ตัวแทนเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบปฏิบัติเดียวกัน มีรูปแบบวิธีการขาย การดำเนินงานที่เหมือนกัน มีขอบเขตการทำธุรกิจที่ไม่ทับซ้อนกัน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเป็นไปไม่ได้ การเป็นตัวแทนจำหน่ายจึงไม่ใช่รูปแบบของแฟรนไชส์ ในปัจจุบันหลายธุรกิจที่มีความต้องการจะเติบโต

60

ภาพจาก https://bit.ly/34AqOCw

บางส่วนมีการขยายสาขาของตัวเอง หรือบางคนเลือกใช้การขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งคนที่เป็นแฟรนไชส์ซีต้องได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากแฟรนไชส์ซอร์ มีแพคเกจลงทุนให้เลือกเพื่อเริ่มธุรกิจได้ทันที มีการจัดส่งสินค้าวัตถุดิบให้ตามที่กำหนด เพื่อควบคุมคุณภาพ ซึ่งหากเป็นธุรกิจบริการออนไลน์สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ แต่หากเป็นการขายของออนไลน์ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากและไม่อาจพัฒนาให้เป็นการขายแฟรนไชส์ได้

ดังนั้นคนที่ขายของออนไลน์หากต้องการที่จะเติบโตมียอดขายเพิ่มขึ้น จึงต้องหันไปศึกษาวิธีการเข้าถึงลูกค้า เรียนรู้เทคนิคการขาย การนำสินค้าไปจำหน่ายในแพลตฟอร์มต่างๆ สิ่งเหล่านี้คือการยกระดับให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มีรายได้มากขึ้น ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนตัวของแต่ละบุคคลเท่านั้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

สำหรับท่านที่มีธุรกิจและอยากสร้างระบบแฟรนไชส์ หรือต้องการปรึกษาเรื่องการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/33k6nZE
โทร.02-1019187

วิทยากร : อ.สุภัค หมื่นนิกร

คอร์สอบรม-สัมมนาโดย อ.สุภัค หมื่นนิกร คลิก https://bit.ly/3PAP2yS

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3GWplmT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต