ก่อนออกจากงาน ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ถึงเป็นเถ้าแก่เปิดร้านได้
หลายคนที่กำลังทำงานประจำ หรือกลุ่มคนมนุษย์เงินเดือน ถ้ามีความคิดอยากลาออกจากงานเพื่อมาเปิดร้านหรือทำธุรกิจของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ถึงจะออกมาทำธุรกิจของตัวเองได้และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์และหาข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ
มนุษย์เงินเดือนหลายคนคิดอยากจะเปิดร้านอาหารหรือร้านขายอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้ว่าจะใช้เงินลงทุนเปิดร้านเท่าไหร่ จะเลือกเปิดร้านแบบสร้างขึ้นมาเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ก่อนอื่นต้องนึกถึงเรื่องเงินที่จะนำมาทุน และการวางแผนธุรกิจเสียก่อน
อยากเปิดร้านเอง
ถ้าใครอยากเปิดร้านเอง สมมติว่าเป็นร้านอาหารเล็กๆ ไม่ใหญ่มาก ไม่มีค่าเช่า น่าจะใช้เงินลงทุนหลักหมื่นบาท ไม่เกินแสนบาท ถ้าเป็นพื้นที่เช่าต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการก่อสร้าง การตกแต่งร้าน รวมถึงค่าเช่าพื้นที่มาเกี่ยวข้องด้วย
สำหรับเงินลงทุนเปิดร้านอาหารมีหลักการคำนวณค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 100% โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้านหรือตกแต่งอาคาร โต๊ะเก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ
- เงินทุนสำหรับซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้ภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็นตู้แช่ต่างๆ หม้อ จาน ถ้วย ช้อน เตา แก้ว เครื่องครัว และอื่นๆ ซึ่งต้องดูว่าจะเปิดร้านอาหารประเภทอะไร อะไรไม่จำเป็นไม่ต้องซื้อ
- เงินทุนหมุนเวียนภายในร้าน เงินในส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อวัตถุดิบในการทำอาหาร เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และอื่นๆ
มาถึงตรงนี้ให้มนุษย์เงินเดือนที่อยากเปิดร้านอาหารของตัวเอง ก็ลองนึกภาพดูว่าร้านอาหารในฝันที่วาดไว้จะใช้เงินทุนมากน้อยขนาดไหน สมมติว่าคำนวณค่าใช้จ่ายแล้วว่าต้องใช้เงิน 60,000 บาทสำหรับเปิดร้านอาหารเล็กๆ ดังนั้น ก่อนออกจากงานประจำ คุณก็ต้องมีเงินเก็บมากกว่า 60,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างรอการเปิดร้านด้วย
โดยเงินลงทุนในการเปิดร้านอาหาร 60,000 บาท จะแบ่งออกเป็นค่าออกแบบและตกแต่งร้านประมาณ 15,000 บาท, ค่าซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวและอาหารประมาณ 15,000 บาท และค่าใช้จ่ายในร้าน ค่าวัตถุดิบ ประมาณ 30,000 บาท
นั่นคือกรณีเปิดร้านอาหารแบบไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ถ้าเป็นร้านอาหารแบบนั่งทานในร้านรูปแบบ Restaurant อาจจะต้องใช้เงินลงทุนหลักแสนขึ้นไปจนถึงหลักล้านบาทกันเลยทีเดียว ซึ่งคนที่มีเงินเดือนสูงก็อาจจะใช้เวลาเก็บเงินเปิดร้านอาหารน้อยกว่าคนเงินเดือนต่ำๆ
อยากซื้อแฟรนไชส์
หากคุณเลือกเปิดร้านหรือทำธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ จะทำให้คุณรู้ว่าจะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ถึงจะเปิดร้านได้ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์จะมีการคำนวณเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกมาให้เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์, ค่าออกแบบและตกแต่งร้าน, ค่าอุปกรณ์, ค่าวัตถุดิบ, เงินทุนหมุนเวียน และอื่นๆ
สำหรับเงินลงทุนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จะมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม เบเกอรี่ บริการ การศึกษา ค้าปลีก งานพิมพ์ อสังหาฯ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจเปิดร้านด้วยการซื้อแฟรนไชส์ คุณจะต้อง Check list ก่อนว่า วิธีการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด ต้องทำอย่างไรกันบ้าง
1.ถามใจตัวเองก่อนว่าชอบอะไร
คุณต้องคุยกับตัวเองกันก่อนว่า อยากเริ่มต้นทำธุรกิจจริงๆ หรือเปล่า และคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ด้วยว่า คุณต้องการทำงานเวลาไหน คุณมีความสามารถพิเศษด้านใด หรือ ทำอะไรแล้วมีความสุข (ชอบทำอาหาร ชอบทาน ชอบอยู่กับสัตว์เลี้ยง) ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอให้ผ่านช่วงเริ่มต้นไปให้ได้ ควรเผื่อเอาไว้หลายเดือนหน่อย ห้ามโลกสวยเด็ดขาด
2.สำรวจเงินในกระเป๋าว่ามีเท่าไหร่
สำรวจจิตใจกันไปแล้ว คราวนี้คงต้องกลับมาสำรวจกระปุกออมสิน หรือสมุดบัญชีกันต่อเลยว่า ตอนนี้มีเงินทุนเท่าไหร่ หากยังมีไปพอก็อย่าพึ่งถอดใจ คุณมาคิดกันต่อว่าขาดอีกเท่าไหร่ ต้องเก็บกี่เดือน ตั้งเป้าแล้วพุ่งชนเข้าไปเลย หรือจะเลือกหาข้อมูลกู้ยืมจากธนาคารที่สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่หลายๆ ธนาคาร เพื่อใช้เริ่มธุรกิจก็สามารถทำได้
3.ประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ
โดยการเริ่มต้นมองในภาพรวมของประเภทธุรกิจนั้นก่อน ว่าตลาดของธุรกิจนั้นมีลูกค้ามากหรือน้อย ใครเป็นคนซื้อ และใครเป็นคนใช้จริง ธุรกิจมาตามกระแสหรือไม่ เช่น คุณอาจจะชอบสอนเด็กๆ วาดรูปอยากเปิดโรงเรียนสอนพิเศษ แต่ต้องคำนึงถึงคนที่ตัดสินใจ และจ่ายเงินคือผู้ปกครอง และกลุ่มผู้ปกครองที่สนับสนุนให้ลูกเรียนวาดรูปมีจำนวนเท่าไหร่
4.มองหาส่วนที่เป็นจุดอ่อนของธุรกิจนั้น
มาถึงตรงนี้คาดว่าตัวเลือกก็น่าจะเหลือน้อยลง แล้วมาลองถามตัวเองอีกทีว่า ลึกๆ ในใจคุณเชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจที่เลือกจะสามารถเจริญเติบโตไปในทุกสภาพเศรษฐกิจได้ไหม ในบางอุตสาหกรรมนั้นสามารถที่จะเติบโตไปได้ในทุกๆ สภาพเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจร้านตัดผม หรือ ธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุ
5.ค้นหารายชื่อและข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์
เมื่อคุณรู้ประเภทของธุรกิจที่ต้องการ และมีโอกาสเติบโตแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการค้นคว้าหาข้อมูลแฟรนไชส์ เพราะในยุคข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะหารายชื่อ ข้อมูลแฟรนไชส์ในธุรกิจที่สนใจได้ไม่ยาก โดยเฉพาะจากเว็บไซต์แฟรนไชส์ที่น่าเชื่อถืออย่าง www.ThaiFranchiseCenter.com มีธุรกิจแฟรนไชส์ให้เลือกหลากหลาย
#ค้นหาแฟรนไชส์ตามเงินลงทุน https://bit.ly/3Fgdr8m
ขอบคุณข้อมูล
https://bit.ly/3qiDXrF , https://bit.ly/3HYcJMY , https://bit.ly/3fwrxGJ , https://bit.ly/31Q71gN , https://bit.ly/3r8X86G , https://bit.ly/33bsKAy
อ้างอิงจาก https://bit.ly/39xucjn
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)